แก้ปัญหาไฟใต้ถึงเวลาคิดนอกกรอบ (Thinking Outside the Box)

ที่มาภาพ: https://www.inc.com/jim-haudan/3-ways-to-make-thinking-outside-box-less-rare.html

ารตัดสินใจของใครบางคนในรัฐบาลที่ให้ใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของชาวไทยมุสลิมที่เรียกร้องให้ปล่อยตัว ผู้ต้องหา (ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านที่อำเภอตากใบ นราธิวาส เมื่อ 25  ..2004 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตโดยไม่จำเป็นรวม 85 คน[1] นั้น นอกจากสะท้อนให้เห็นความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องของนโยบายดับไฟใต้ของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร[2]และความไร้ประสิทธิภาพในการจัดการรับมือกับภาวะวิกฤติแล้ว[3]ยังทำให้ภาพลักษณ์ของไทยในต่างประเทศเสียหายอย่างมาก รวมทั้งอาจทำให้ไทยมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของการก่อการร้ายระหว่างประเทศอีกด้วย[4]
          นับเป็นเวลาหลายเดือนแล้วตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปล้นอาวุธปืนที่ค่ายทหารที่นราธิวาสเมื่อ มกราคม 2004 และ ตามมาด้วยการสังหารหมู่ที่มัสยิดกรือเซะเมื่อ 28 เมษายน 2004 แม้เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงพยายามควบคุมมิให้การก่อความไม่สงบในภาคใต้ขยายตัวกลายเป็นการก่อจราจลหรือเกิดสงครามกลางเมือง แต่ดูเหมือนว่าความพยายามดังกล่าวยังห่างไกลจากคำว่าประสบผลสำเร็จ ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหลายครั้ง มีการระดมกำลังตำรวจและทหารหลายกองพันลงในพื้นที่เกือบทุกตารางนิ้วของ จังหวัดภาคใต้ แต่ลอบวางระเบิด สังหารเจ้าหน้าที่และราษฎรรายวันอย่างโหดเหี้ยมของ กลุ่มบุคคล” (ซึ่งยังไม่รู้ว่าเป็นใครและมีจุดประสงค์แท้จริงอย่างไรก็ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องและมีแนวโน้มหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ทางการไม่สามารถหาตัวผู้บงการมาลงโทษได้ มิหนำซ้ำเมื่อเกิดเหตุโศกนาฎกรรมตากใบทมิฬ รัฐบาลกลับกลบเกลื่อนความสะเพร่าของตัวเองโดยกล่าวหาว่าผู้ที่มาชุมนุมเป็นพวกขบวนการแบ่งแยกดินแดน สถานการณ์ที่เลวร้าย  อยู่แล้วก็ยิ่งเสื่อมทรามลงไปอีก
นักวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงทั้งไทยและเทศส่วนใหญ่สรุปตรงกันว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาภาคใต้ล้มเหลว เพราะผู้นำรัฐบาลปักใจเชื่อถือข้อมูลตำรวจมากเกินไปจนนำไปสู่การประเมินสถานการณ์ผิดพลาด การตัดสินใจยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 (พตท.43)  โดยถ่ายโอนอำนาจจาก ทหาร” ไปอยู่ในมือของ ตำรวจ” ได้สร้างความคับแค้นใจให้ชาวบ้านอย่างมาก เนื่องจากการปฏิบัติการ อุ้มฆ่า” ประกอบกับความไม่ไว้ใจใครของหัวหน้ารัฐบาลและการสั่งการซ้ำซ้อนทำให้สถานการณ์ทวีความยุ่งยากมากขึ้น โดยแทนที่จะให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่เป็นผู้รายงานเพียงหน่วยเดียว นายกฯกลับปล่อยให้หน่วย พิเศษ” ซึ่งไม่ทราบว่ามีอีกกี่หน่วยรายงานถึงตนโดยตรง เมื่อการแก้ไขปัญหาขาดไร้ทิศทางและเอกภาพก็ยิ่งเข้าทาง กลุ่มบุคคล” ที่พยายามต่อต้านอำนาจรัฐ เข้าทำนองยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งยากและไม่เห็นทางออก
          ความจริงผู้นำของเราน่าจะใช้ความฉลาดในการคิดหาหนทางออกในเรื่องนี้ โดยอาศัยการคิดนอกกรอบ (Thinking Outside the Box)[5] ซึ่งในช่วงปีแรกๆของการบริหารประเทศ ท่านก็เคยแนะนำให้ข้าราชการนำไปปฏิบัติอยู่บ่อยครั้ง แล้วการคิดนอกกรอบคืออะไรกันแน่ ตามความเห็นของนักวิชาการด้านการบริหาร การคิดนอกกรอบเป็นแนวทางที่หัวหน้าคณะผู้บริหารสูงสุดขององค์การสั่งให้ทีมงานของตนคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาที่ดีกว่าที่คิดได้ในยามปกติ ก่อนที่จะรู้จักวิธีคิดนอกกรอบควรทำเข้าใจกับการคิดในกรอบ (Thinking in the box) เสียก่อน การคิดในกรอบเป็นการยอมรับสถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ที่คิดในกรอบมักจะไม่ยอมรับคุณภาพของความคิด นักคิดในกรอบมีความเชี่ยวชาญอย่างมากในการทำลายความคิดสร้างสรรค์ โดยมักจะคิดว่าการใช้สันติวิธีหรือการเจรจากับผู้ก่อความไม่สงบนั้นไม่ได้ผล หรือ มีความเสี่ยงเกินไปที่จะยกเลิกกฎอัยการศึก นักคิดพวกนี้เชื่อว่าแต่ละปัญหามักจะมีหนทางแก้ไขเพียงหนทางเดียว การหาทางออกในการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้มากกว่าหนึ่งทางเป็นเรื่องเสียเวลาเปล่า
            ส่วนนักคิดนอกกรอบมีคุณลักษณะที่แตกต่างออกไปคือ 1) เป็นผู้มีความตั้งใจที่จะใช้วิสัยทัศน์ใหม่ในการมองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน 2) มีจิตใจเปิดกว้างในการดำเนินกิจการงานด้วยวิธีที่แตกต่าง 3) มุ่งความสนใจที่คุณค่าของการแสวงหาความคิดใหม่ๆและนำความคิดนั้นไปปฏิบัติ 4) มุ่งมั่นในการสร้างค่านิยมใหม่ๆด้วยแนวทางที่หลากหลาย 5) รับฟังความเห็นของผู้อื่น และ 6) ให้การสนับสนุนยอมรับนับถือความความคิดใหม่ที่ผู้อื่นเสนอ นอกจากนี้ นักคิดนอกกรอบ จำเป็นต้องเปิดกว้างยอมรับวิธีการใหม่ๆในการแสวงหาและมองโลก ผู้บริหารประเภทนี้รู้ว่าแนวความคิดใหม่ๆที่เสนอขึ้นมาจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนหล่อเลี้ยง รวมทั้งตระหนักว่าความคิดใหม่ๆเป็นสิ่งสำคัญแต่การนำความคิดไปสู่การปฏิบัติสำคัญยิ่งกว่า
           กรณีอดีตนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัดของมาเลเซียให้สัมภาษณ์ นสพ.Utusan Malaysia รายวัน ฉบับ 29 ..2004 เรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาให้สิทธิปกครองตนเองแก่ชาวไทยมุสลิมใน จังหวัดภาคใต้พร้อมกับเรียกร้องให้กลุ่มแบ่งแยกดินแดนยุติเป้าหมายที่จะแยกตัวเป็นเอกราชจาก  รัฐไทย ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงที่ก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติอย่างน่าวิตก หลังจากที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยออกแถลงการณ์ตอบโต้ไปแล้ว นายกฯของเราก็ได้ให้สัมภาษณ์สวนกลับไปว่าคำพูดของมหาเธร์ไม่สร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีพวกชาตินิยมหน่อมแน้มขาดสติที่แสดงทัศนะผ่านเว็บบอร์ดและแชตรูมบนอินเตอร์เน็ตออกมาด่าทอมหาเธร์อย่างรุนแรง รวมทั้งโจมตีทัศนะของมหาเธร์ว่าไม่เป็นประโยชน์และเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทย[6] ส่วนเว็บไซต์ของขบวนการ PULO ได้กล่าวหาผู้บริหารและผู้ปกครองประเทศสยามว่าไม่ได้โหดเหี้ยมอย่างเดียวแต่ยังโง่และปัญญาอ่อนอีกด้วย เพราะไปออกเงินว่าจ้างชาวบ้านบุรีรัมย์เกือบ 20,000 คนไปชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัดเพื่อสาปแช่งประเทศมาเลเซีย อีกทั้งเรียกร้องให้ ดร.มหาเธร์ถอนคำพูด ยุติการแทรกแซงกิจการภายในของไทย ปิดท้ายด้วยการเผาหุ่น ดร.มหาเธร์ พร้อม นสพ.บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่น
          สำหรับผู้เขียนมีทัศนะต่อการให้สัมภาษณ์ของมหาเธร์ว่า ข้อเสนอของอดีตนายกฯมาเลเซียเป็นการสะท้อนความจริงที่เกิดขึ้นในภาคใต้ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยมหาเธร์เชื่อว่านายกฯทักษิณ ชินวัตรของไทยเป็นคนอดกลั้นและจะรับฟังข้อเรียกร้องของชนกลุ่มน้อยมุสลิมในประเทศ ขณะเดียวกัน   ก็เห็นว่าพวกแบ่งแยกดินแดนไม่มีวันได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ (เอกราชจึงอยากเสนอว่าควรจัดการเจรจาและพิจารณาความทุกข์ของของชาวมุสลิมในภาคใต้ในทุกเรื่อง การปกครองตนเองจะเป็นไปได้หรือไม่ มิใช่ประเด็น แต่มีความจำเป็นที่รัฐบาลไทยควรจะเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ มหาเธร์ยังกล่าวด้วยว่าเหตุการณ์ในภาคใต้ของไทยสะท้อนความอ่อนแอของมุสลิมที่กระทำการโดยขาดการไตร่ตรองทั้งที่มีความหวังเพียงน้อยนิดว่าจะได้รับชัยชนะในท้ายที่สุด[7] ชัดเจนขนาดนี้แล้วเราคนไทยยังอยากเป็นจิ้งหรีดให้เขาปั่นหัวเล่นอีกหรือก็ตามใจพระเดชพระคุณเถิดนะ.


----------------------------------
บทความต้นฉบับ ตีพิมพ์ใน กรุงเทพธุรกิจ พฤศจิกายน 2547 หน้า 14 ใช้ชื่อ “แก้ปัญหาไฟใต้ถึงเวลาคิดนอกกรอบ”



[1] เสียชีวิตทันที คน บาดเจ็บและเสียชีวิตภายหลัง คน รวมทั้งอีก 78 คน เสียชีวิตระหว่างถูกนำตัวขึ้นรถทหารไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร ปัตตานี เนื่องจากขาดอากาศหายใจจากความแออัดและวิธีการขนย้ายที่จับผู้ชุมนุมถอดเสื้อ มัดมือไพล่หลังแล้วให้นอนคว่ำหน้ากับพื้นรถซ้อนทับกันหลายชั้นจนคนข้างล่างตายอนาถ.
[2] Patrick Barta, “A Deadly Clash Points to Failure Of Thai Policies” The Wall Street Journal (October 27, 2004) p. A15.
[3] Thanong Khanthong, “A government crisis in crisis management” The Nation (October 29, 2004) p. 10 A.
[4] Avudh Panananda, “The Current approach is not working” The Nation (October 29, 2004) p.10 A.
[5] Ed Bernacki, “Exactly what is Thinking Outside the Box” (http://www.canadaone.com) CanadaOne Magazine .
[6] อุกฤษฎ์ ปัทมนันท์, “มหาธีร์กับทักษิณ” มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1264 (5-11 พฤศจิกายน 2547) . 16.
[7] Mahathir Urges Autonomy for South Thailand IslamOnline และ กรุงเทพธุรกิจ (30 ตุลาคม 2547) . 4.
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.