การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: การตัดสินใจทางการเมือง (ตอนที่ 7)
KEANE: I am the next president of the United States. 60 million people voted for me. Who the hell voted for you?
DAR: Nobody. But I have a constituency, too.
KEANE: What’s that supposed to mean?
DAR: It means, don’t go to war with your own national security establishment.
KEANE: Are you threatening me now?
DAR: I’m telling you, it’s a war you won’t win.[1]
การตรวจพบและถอดรหัสการตัดสินใจทางการเมืองในที่นี้เป็นปัญหา 4 แบบที่แตกต่างกันซึ่งช่วยระบุการตัดสินใจทางการเมือง
1. ในบางกรณีเป็นการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลอำนาจนิยม ซึ่งไม่ต้องพึ่งพาการสนับสนุนทางการเมืองจากท้องถิ่น โดยมีนัยสำคัญ 2 ประการ คือ อาจไม่มีการพบปะหารือกันในเบื้องต้นหรือไม่มีการเคลื่อนไหวที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ผู้มีส่วนร่วมการตัดสินใจประกอบด้วยคนจำนวนน้อย (ตัวอย่างการตัดสินใจสุดโต่งคือ การเยือนเยรูซาเล็มแบบไม่คาดคิดของประธานาธิบดีอันวา ซาดัตของอียิปต์) ส่วนของไทยถ้าไม่มีอะไรก็คงไม่ต้องไปบ้านป่ารอยต่อฯ
2. การตัดสินใจทางการเมืองที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายภาพ ซึ่งอาจถูกเฝ้าติดตามโดยฝ่ายรวบรวมข่าวกรองแบบเดียวกับการตัดสินใจทางการทหาร
3. การตัดสินใจทางการเมืองเกือบทั้งหมด (ไม่รวมการตัดสินใจแบบเข้มงวดของผู้นำคนเดียว) จำนวนผู้มีส่วนร่วมและรัฐบาลที่เกี่ยวข้องมีขนาดใหญ่มาก บุคคลเหล่านั้นไม่ได้รับการอบรมเรื่องการรักษาความลับหรือปฏิบัติการลับ บุคคลซึ่งมีหน้าที่ติดต่อใกล้ชิดกับสื่อ ความสัมพันธ์ดังกล่าวและผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก ในระยะยาว ยากที่จะรักษา “การตัดสินใจ” ไว้ความลับ
ตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางการเมืองจะถูกเปิดเผย โดยความพยายามรวบรวมข่าวกรอง ยิ่งมีแหล่งข่าวในแวดวงใกล้ชิดผู้ตัดสินใจอีกฝ่ายหนึ่งมากเท่าใด โอกาสที่จะล่วงรู้เจตนาและการตัดสินใจได้แต่เนิ่น ๆ จะมากขึ้นเท่านั้น แม้เป็นการตัดสินใจทางการเมืองก็ตาม
4. การตัดสินทางการเมืองยากที่จะปกปิดด้วยแผนลวง (deception plan) และกลอุบายสร้างความประหลาดใจทางการทหาร แม้ปฏิบัติการทางทหารเกี่ยวข้องกับการเตรียมการยาวนาน การเคลื่อนกำลังและการส่งกำลังบำรุง เป็นเรื่องง่ายที่จะเก็บรักษาความลับในแวดวงใกล้ชิด และดำเนินการซ่อนพรางด้วยเรื่องอำพรางจนเกือบถึงวินาทีสุดท้าย
เครื่องชี้วัดการตัดสินใจทางการเมืองบางอย่างที่อาจสังเกตได้ คือ แถลงการณ์ต่าง ๆ ของรัฐบาลต่อสาธารณะเกี่ยวกับประเด็นนโยบายบางด้านหรือการทำกิจกรรมอย่างเข้มข้น (ลงพื้นที่ แจกสิ่งของ) ของผู้นำทางการเมือง (แบบเปิดเผยและระมัดระวัง) ในการเตรียมการตัดสินใจดังกล่าว
นักวิเคราะห์ควรให้ความสนใจการรวบรวมข่าวกรองแบบเฉพาะไม่ใช่แบบทั่วไป โดยมุ่งเน้นข้อมูลที่มีหลักฐานยืนยันมากกว่าการคาดคะเน ความถูกต้องของการวิเคราะห์ขึ้นอยู่กับการรวบรวมเฉพาะด้านเพื่อวิเคราะห์หลักฐานยืนยัน ขณะที่การรวบรวมเฉพาะจะให้คำตอบพร้อมชี้ทิศทางที่อาจให้ข้อมูลที่จำเป็น
ประการแรก พิจารณาบริบทความเห็นใหม่ ๆ ที่แตกต่างรวมทั้งความเห็นและการตัดสินใจ การมองหาการตัดสินใจที่เป็นความลับทำให้เราต้องหาทางแทรกซึมเข้าไปในส่วนเล็ก ๆ ของวงในสุดซึ่งปกปิดซ่อนเร้นนโยบายทั่วไปไว้อย่างเรียบร้อย ถ้าจะให้เจาะจงก็คือ นโยบายรัฐบาล เราต้องเจาะเข้าไปวงในสุดเท่านั้นจึงจะสามารถล่วงรู้การตัดสินใจที่สร้างความประหลาดใจให้กับเรา
วงรอบนอกสุดคือส่วนที่ห้อมล้อมตำแหน่งต่าง ๆ และความคิดเห็นที่หลากหลาย สมมติฐานที่ชัดเจนคือ การตัดสินใจครั้งใหม่และการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามนโยบายจะสะท้อนจากการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งเหล่านี้และการแสดงออกต่อสาธารณะ พึงระลึกไว้เสมอว่าแม้บุคคลหนึ่งจะคุ้นเคยกับตำแหน่งทางการของพรรคแกนนำในเรื่องใด ๆ และติดตามความคิดเห็นของประชาชนอย่างใกล้ชิด แตไม่จำเป็นว่าจะมีการตัดสินใจเรื่องใหม่ที่เป็นความลับ
วงกลมวงที่สองซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสะท้อนให้เห็นนโยบายของรัฐบาล แม้การตัดสินใจเรื่องใหม่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แต่ไม่จำเป็นจะต้องประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ยังคงมีโอกาสที่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเช่นการเปลี่ยนตำแหน่งหรือจุดยืนของรัฐบาลอาจบ่งชี้ทิศทางของการดำเนินนโยบายใหม่
สำหรับจุดศูนย์กลางของวงกลมคือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจอย่างแท้จริง ในบางกรณี การตัดสินใจอาจขัดแย้งกับตำแหน่ง/จุดยืนของพรรคหรือนโยบายของรัฐบาล ซึ่งยากที่จะระบุได้อย่างชัดเจน
ประการต่อมา ฝ่ายรวบรวมข่าวกรองอาจใช้แนวทางการเข้าถึงหลายระดับในการมองหาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ในกรณีนี้วงกลมนอกสุดเป็นตัวแทนประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะชักชวนมาเป็นสายลับ “ประชาชนทั่วไป” หมายถึงบุคคลที่สามารถเข้าถึงข่าวสารที่น่าสนใจ เช่น นักข่าว นักเศรษฐศาสตร์หรือผู้ใกล้ชิดผู้ตัดสินใจ
แนวโน้มที่จะค้นพบว่ามีการตัดสินใจใหม่ ๆ จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีโอกาสเข้าถึงวงใน เช่น สมาชิกคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการกลาโหมและกิจการต่างประเทศในรัฐสภา ในกรณีการตัดสินใจที่มีชั้นความลับสูงสุดจะเกี่ยวข้องเฉพาะคนกลุ่มเล็ก ๆ ในจุดศูนย์กลางของวงกลม (อียิปต์อ้างว่ามีบุคคล 8 คนที่รู้ว่ามีการตัดสินใจเปิดฉากทำสงคราม Yom Kippur เมื่อ 6 ตุลาคม 1973)
ประการสุดท้าย การรวบรวมข่าวกรองควรเน้นการตรวจสอบกิจกรรมเป็นประจำ คล้ายกับการตรวจวัดอุณหภูมิและชีพจรประจำวัน จำเป็นต้องกำหนดบรรทัดฐาน “ชีพจร” ทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและสังคมตามปกติ ความรู้เกี่ยวกับการทำกิจกรรม “ปกติ” สามารถระบุอาการ “ป่วยไข้” ของกิจกรรมที่ไม่ธรรมดาระหว่างฝ่ายและหน้าที่ที่แตกต่างกัน (การเปิดไฟในช่วงเวลาผิดปกติ, กิจกรรมทางการฑูตที่ผิดปกติ, กิจกรรมทางทหารที่ผิดปกติ) เมื่อพิจารณาแยกกัน ข้อมูลประเภทนี้ทำให้เข้าใจเสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกับเครื่องวัดอุณหภูมิ ซึ่งแจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่ข่าวกรองปรับทิศทางการรวบรวมข่าวสารแบบทันท่วงที
[1] Don’t go to war with your own national security establishment https://www.tvfanatic.com/quotes/dont-go-to-war-with-your-own-national-security-establishment/
Leave a Comment