มุ่งฝ่าความท้าทายทศวรรษ 2020: การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (Strategic Transformation)

Five Key Steps To Accelerate Strategic Transformation POST WRITTEN BY Juan Riboldi Forbes Councils Member
ที่มาภาพ: https://www.forbes.com/sites/forbescoachescouncil/2019/07/22/five-key-steps-to-accelerate-strategic-transformation/#1a67c4546a78

ริ่มต้นปีใหม่ 2020 บล็อก IAnalysed ยังคงนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข่าวสารยุทธศาสตร์และความมั่นคง เพื่อสาธารณะประโยชน์ต่อไป

We always overestimate the change that will occur in the next two years and underestimate the change that will occur in the next ten. Don't let yourself be lulled into inaction. Bill Gates[1]

ภาวะแวดล้อมในทศวรรษข้างหน้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรงและคาดไม่ถึง ผู้นำองค์กรธุรกิจเอกชนและรัฐหลายแห่งรวมทั้งหน่วยข่าวกรอง คงไม่คาดหวังว่าการดำเนินงานแบบเดิมจะทำให้องค์กรของตนประสบความสำเร็จและอยู่รอดได้ตลอดไป การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานหรือพัฒนาองค์กรบางส่วนก็อาจไม่เพียงพอหรือทันต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอก ซึ่งเป็นยุค “ปลาเร็วกินปลาช้า” หลายองค์กรจึงนำแนวคิดการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (Strategic Transformation) มาใช้ โดยปรับธุรกิจเดิม (core business) ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ขณะเดียวกันแสวงโอกาสขับเคลื่อนการเติบโตด้วยผลิตภัณ์หรือบริการใหม่เพื่อรักษาความเป็นผู้นำทางธุรกิจต่อไป
          งานวิจัยของศาสตราจารย์ Theodore Levitt ตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Business Review ฉบับกรกฎาคม – สิงหาคม 1960 กล่าวถึงองค์กรที่ล้มเหลวในการปรับตัว เนื่องจากฝ่ายบริหารตอบคำถามนิยามธุรกิจของตนเองผิด (What business are we really in?) โดยยกตัวอย่างบริษัทในอุตสหกรรมรถไฟของสหรัฐฯ ซึ่งสูญเสียลูกค้า (ผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า) เพราะความเข้าใจผิดคิดว่าตนเองดำเนินธุรกิจรถไฟ (rail road business) แทนที่จะมองว่าตนเองเป็นบริษัทขนส่ง (transportation) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ (product oriented) มากกว่ามุ่งเน้นลูกค้า (customer oriented)
           องค์กรที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ มิได้พยายามปรับตัวเข้ากับความต้องการของตลาดด้วยความว่องไวปราดเปรียว (agility) เพียงอย่างเดียว แต่มักจะสร้างอนาคตด้วยตนเอง และเป็นที่แน่ชัดว่าองค์กรที่มีความยืนยงทนทาน (resilient) ใช้ระยะเวลาหลายปีในการเตรียมการศึกษา วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดี น่าเสียดายที่องค์กรบางแห่ง เมื่อพบว่าตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่จะต้องปรับตัวก็มักจะสายเกินไป องค์กรที่ดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีหลายแห่งในสหรัฐฯใช้เวลาหลายปี หรือบางกรณีหลายทศวรรษในการสร้างคุณค่า (ผลิตภัณฑ์) เพื่อตอบสนองและแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้าในอนาคต



[1] Brainy Quotes Available at https://www.brainyquote.com/quotes/bill_gates_404193
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.