การสังหาร “นายพล” อิหร่าน: รัฐบาลทรัมป์อ่านไม่ขาดหรือผิดพลาดทางยุทธศาสตร์?

ที่มา: https://www.economist.com/middle-east-and-africa/2020/01/07/how-will-iran-retaliate-for-the-killing-of-qassem-suleimani

Iran’s priority is nothing less than to “remove America’s presence from the region”
Brigadier-General Esmail Ghaani, General Soleimani’s successor as head of the Quds Force.

ารตอบโต้กลับอย่างมีนัยสำคัญของอิหร่านต่อการโจมตีของสหรัฐฯ ที่สังหารพลตรี Qasem Soleimani ผู้บัญชาการกองกำลัง Quds (Quds Force - QFเมื่อ มกราคม 2020 มีเป้าหมายอยู่ที่การพยายามขับไล่กองกำลังทหารสหรัฐฯจำนวน 6,000 นายออกจากอิรักอย่างถาวร ทั้งนี้ อิหร่านได้ผสมผสานอิทธิพลทางทหารและการเมืองในอิรักเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว แม้ทำให้อิรักตกอยู่ในกำมืออิหร่าน แต่อาจเป็นการอำนวยความสะดวกให้กลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic State - IS) ฟื้นตัว ขณะที่ผู้นำคนสำคัญของอิรักพยายามบรรเทาความเสียหายจากผลกระทบด้านความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ โดยเสนอให้สงวนโครงการช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมและต่อต้านกลุ่ม IS ต่อไป
              อิหร่านขู่จะตอบโต้การโจมตีทางอากาศด้วยโดรนของสหรัฐฯ ซึ่งสังหารผู้นำระดับสูงในสังกัดกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (Islamic Revolutionary Guard Corps - IRGC) ผู้รับผิดชอบการแผ่ขยายอิทธิพลของอิหร่านในภูมิภาค[1] โดยมีความเป็นไปได้ที่อิหร่านจะตอบโต้ด้วยการทำสงคราอสมมาตร (asymmetric warfare) ผ่านตัวแทน ส่วนแกนกลางของการโต้กลับคงเป็นความพยายามขับไล่กองกำลังทหารสหรัฐฯทั้งหมดที่ประจำการในอิรัก[2] รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์อ้างความชอบธรรมในการปฏิบัติการทหารดังกล่าวว่าผู้นำ IRGC-QF กำลังดำเนินการใช้ตัวแทนโจมตีกำลังทหารและนักการทูตสหรัฐฯในอิรัก ปัจจุบันสหรัฐฯมีกำลังทหารประจำการในอิรักจำนวน 6,000 นาย ภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีปี 2014 เพื่อช่วยเหลือกองทัพอิรักตอบโต้การรุกของนักรบญิฮัดสุหนี่กลุ่มรัฐอิสลาม
          นับตั้งแต่สหรัฐฯและพันธมิตรโค่นล้มรัฐบาลของประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนของอิรักเมื่อปี 2003 อิรักพยายามรักษาสมดุลความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ ซึ่งมีปัญหาขัดแย้งตั้งแต่การปฏิวัติอิสลามอิหร่านเมื่อ ปี 1979 ทั้งสองประเทศพบจุดร่วมในการผลักดันกลุ่มรัฐอิสลามออกจากอิรักในปี 2014 สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือทางลับแก่นักรบชีอะห์บางกลุ่มที่เชื่อมโยงกับอิหร่าน เมื่อกลุ่มรัฐอิสลามอ่อนกำลังลงในปี 2017 รัฐบาลทรัมป์ได้เปลี่ยนนโยบายโดยหันไปกดดันอิหร่านขั้นสูงสุดในปี 2018 ซึ่งทำให้อิรักกลายเป็นสนามรบในการแข่งขันอิทธิพล โดยอิหร่านใช้กองกำลังทหารชีอะห์เป็นตัวแทน[3]และพันธมิตรทางการเมืองในกรุงแบกแดด เพื่อตอบโต้การรณรงค์ต่อต้านอิหร่านของสหรัฐฯ
          หลังการสังหารพลตรี Qasem Soleimani กลุ่มพลังทางการเมืองนิยมอิหร่านในอิรักได้ถูกเกลี้ยกล่อม สนับสนุนหรือข่มขู่โดยผู้บัญชาการทหารอิรักที่อิหร่านสนับสนุน โดยเมื่อ มกราคม 2020 สมัชชาผู้แทนประชาชนอิรัก (Council of Representative - CoR) ได้ผ่านข้อมติที่ไม่มีผลผูกมัดให้รัฐบาลอิรักขับไล่กองกำลังต่างชาติ (ทหารสหรัฐฯ) ออกจากอิรัก นายกรัฐมนตรีรักษาการ Adel Abdul Mahdi ซึ่งใกล้ชิดทั้งอิหร่านและสหรัฐฯ (ลาออกเพราะเหตุความไม่สงบเมื่อพฤศจิการยน 2019) ประณามปฏิบัติการของสหรัฐฯว่าละเมิดอธิปไตยของอิรักและว่าจะสนับสนุนการลงมติขับไล่ทหารสหรัฐฯของ CoR ก่อนการลงมติ กองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสมนำโดยสหรัฐฯซึ่งปฏิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิด (Operation Inherent Resolve) ประกาศจะยุติปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและมุ่งความสนใจปกป้องกองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสมแทน
          แม้รักษาการนายกรัฐมนตรีอิรักมีท่าทีเข้าข้างกลุ่มนิยมอิหร่าน แต่ก็ได้นำเสนอแผนการจำกัดปฏิบัติการของทหารสหรัฐฯในอิรัก Adel Abdul Mahdi และผู้นำอิรักจำนวนหนึ่ง พยายามหาทางสงวนรักษาโครงการอบรมผู้นำอิรักและการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯให้คงอยู่ หากข้อเสนอนี้ประสบผลสำเร็จก็จะสามารถรักษาเยื่อใยความสัมพันธ์กับสหรัฐฯไว้ได้ เป็นที่ชัดเจนว่าปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มรัฐอิสลามของสหรัฐฯถูกขัดขวางและอาจเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่การฟื้นตัวของกลุ่มก่อความไม่สงบ ซึ่งเป็นภัยคุกคามของรัฐบาลและประชาชนชาวอิรักรวมทั้งไม่เป็นประโยชน์ต่ออิหร่านแต่อย่างใด
การถอนตัวออกจากอิรักของทหารสหรัฐฯ นอกจากช่วยให้อิหร่านสามารถกระชับอำนาจเหนืออิรัก ยังทำให้อิหร่านควบคุมพื้นแผ่นดินสำหรับเป็นทางออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (สะพานยุทธศาสตร์ทางบก) กล่าวคือ กลุ่มนิยมอิหร่านในอิรักจะอนุญาตให้อิหร่านเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและสถานที่ต่าง ๆ อย่างเป็นอิสระจากที่ตั้งกองทหารตัวแทนชีอะห์ในอิรัก เพื่อการขยายอำนาจอิทธิพลไปยังพื้นที่ตะวันออกของซีเรีย ซาอุดีอาระเบียและกลุ่มประเทศอ่าว ด้วยจุดมุ่งหมายดังกล่าวอิหร่านได้จัดส่งขีปนาวุธพิสัยไกล้ให้แก่พันธมิตรในอิรัก[4] อนึ่ง การโจมตีท่อส่งน้ำมันของซาอุดีอาระเบียเมื่อกลางปี 2019 เป็นการยิงจากฐานในอิรัก
ในระยะสั้นผู้นำอิหร่านคงจะยอมรับความเสี่ยงอันเนื่องจากการฟื้นตัวของกลุ่ม IS เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กว้างกว่าในการแก้แค้นการสังหารพลตรี Qasem Soleimani การตอบโต้เฉพาะหน้าคงเป็นแบบหนามยอก (ต้อง) เอาหนามบ่ง (tit-for-tat) การสังหาร “นายพล” ของอิหร่านทำให้สถานภาพของสหรัฐฯในอิรักสั่นคลอนขณะเดียวกันสะท้อนให้เห็นว่าการตัดสินใจของรัฐบาลทรัมป์เป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์



[1] INTELBRIEF: U.S. KILLS QASSEM SOLEIMANI IN MAJOR ESCALATION OF CONFLICT WITH IRANPosted on January 03, 2020 Available at https://thesoufancenter.org/intelbrief-u-s-kills-qassem-soleimani-in-major-escalation-of-conflict-with-iran/
[2] Avengers assemble How will Iran retaliate for the killing of Qassem Suleimani? The Economist Jan 7th 2020 Available at https://www.economist.com/middle-east-and-africa/2020/01/07/how-will-iran-retaliate-for-the-killing-of-qassem-suleimani
[3] INTELBRIEF: THE GROWING INFLUENCE OF IRAN-BACKED MILITIAS IN IRAQ Posted on March 20, 2019 Available at https://thesoufancenter.org/intelbrief-the-growing-influence-of-iran-backed-militias-in-iraq/
[4] INTELBRIEF: IRANIAN MISSILES ARE KEY TO TEHRAN’S GROWING INFLUENCE IN THE GULF Posted on October 16, 2019 Available at https://thesoufancenter.org/intelbrief-iranian-missiles-are-key-to-tehrans-growing-influence-in-the-gulf/
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.