เผด็จการฉวยโอกาส: เสริมอำนาจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

Police officers with a woman in Hungary, where Viktor Orbán can now rule by decree indefinitely. Photograph: Tibor Rosta/AP ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/2020/mar/31/coronavirus-is-a-chance-for-authoritarian-leaders-to-tighten-their-grip

ผู้นำอำนาจนิยมฉกฉวยโอกาสจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ด้วยการรวบอำนาจและบดขยี้ฝ่ายตรงข้าม (ผู้เห็นต่าง) ผู้นำทางการเมืองในหลายประเทศรวมถึงตุรกี ฮังการี อิสราเอลและฟิลิปปินส์ใช้การแพร่ระบาดของไว้รัสโคโรนาเป็นหนทางปฏิบัติในการส่งเสริมอำนาจของตน ขณะเดียวกันทำลายความเชื่อถือของฝ่ายค้าน แม้ไม่อาจมองข้ามแนวทางจัดการไวรัสของอิตาลีและสหรัฐฯ แต่ก็มีตัวอย่างของประเทศประชาธิปไตยที่ตอบสนองการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เยอรมนีและเกาหลีใต้ ทั้งนี้ เทคโนโลยีสอดส่อง (surveillance technology) ที่บางประเทศใช้ต่อต้านการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะคงอยู่อย่างถาวรต่อไป แม้การแพร่ระบาดเริ่มมีสัญญาณลดลง[1]
ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ประชาชนทั่วโลกต่างพยายามหาทางเอาตัวรอดจากการติดเชื้อ ขณะที่รัฐบาลหลายประเทศออกกฎหมายใหม่ เพื่อต่อต้านสิ่งที่เรียกว่า “ข่าวปลอม” หรือ “ข้อมูลบิดเบือน” ที่รายล้อมการแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้รัฐบาลเหล่านี้เป็นผู้กำชะตาชีวิตสิ่งพิมพ์และสื่อมวลชนในที่สุดและเป็นอันตรายและกัดกร่อนสื่อและสถาบันสำคัญซึ่งทำหน้าที่ประชาสังคม อันเป็นผลที่ตามมาอย่างกว้างขวางของการตอบสนองการแพร่ระบาดของประเทศต่าง ๆ
เมื่อปลายมีนาคม 2020 ฮังการีผ่านกฎหมายภาวะฉุกเฉิน เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยนำประเทศไปสู่อำนาจนิยม รัฐสภาฮังการลงมติ 137 ต่อ 53 เพื่อให้นายกรัฐมนตรี Viktor Orban มีสิทธิ์ปกครองโดยพระราชกฤษฎีกาและยกเลิกการเลือกตั้งทั้งหมด อำนาจฉุกเฉินทำให้รัฐสภาฮังการีถูกกันออกไปอย่างไม่มีกำหนด ในอิสราเอล นายกรัฐมนตรี Benjamin Netanyahu ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ระงับกิจกรรมในศาลทั้งหมดรวมถึงการพิจารณาคดีทุจริตของตน ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง Benny Gantz ตัดสินใจถอยกลับเพราะเชื่อว่าการตอบสนองไวรัสโคโรนาต้องอาศัยความเป็นเอกภาพ
ในตุรกี ประธานาธิบดี Recep Tayyip Erdogan ใช้สถานการ์วิกฤติจับกุมฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง สร้างความหวาดกลัวว่าจะมีการจับกุมอย่างกว้างขวางตามมา หลังรัฐประหารล้มเหลวในปี 2016 ประธานาธิบดี Erdogan ตั้งเป้าหมายที่นักวิชาการในสถาบันการศึกษา สื่อมวลชนและภาคประชาสังคม ส่วนที่ฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดี Rodrigo Duterte ออกคำสั่งให้ตำรวจและทหารยิงและสังหารผู้ฝ่าฝืนคำสั่งปิดขัง (lockdown)
ผู้มีอำนาจยกย่องความดีงามของการปกครองแบบเผด็จการ ที่ผู้นำอำนาจนิยมใช้เป็นเครื่องมือตอบสนองวิกฤติ เช่น การแพร่ระบาด โดยมีความหมายเป็นนัยว่า ประเทศประชาธิปไตยและตะวันตกล้มเหลวเพราะระบบการปกครองพื้นฐานกระจัดกระจาย แม้เป็นไปไม่ได้ที่จะเพิกเฉยการต่อสู้ไวรัสของอิตาลีและสหรัฐฯ แต่ก็มีตัวอย่างมากมายของประเทศประชาธิปไตยที่ตอบสนองการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เยอรมนี เกาหลีใต้และไต้หวัน หลักฐานเหล่านี้ยังไม่สามารถกล่าวอ้างอย่างสะดวกว่า การปกครองแบบพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) สามารถชักจูงให้ผู้นำท้องถิ่นและการเมืองปกปิดความจริงของการแพร่ระบาดในช่วงต้น
บางประเทศรวมถึงจีนและรัสเซียอาศัยเทคโนโลยีสอดส่อง ตรวจจรา เพื่อช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชิ้อโรค มีน้อยคนที่คาดว่าเมื่อไวรัสลดน้อยลงวิถีชีวิตจะกลับสู่ปกติและเครื่องมือสอดส่องคงจะหายไปด้วย ในทางกลับกันเทคโนโลยีที่หลายประเทศใช้สอดส่องชีวิตพลเมืองและบุคคลที่เดินทางเข้ามาในเขแดน น่าจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนาเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตในสังคมและประเทศต่าง ๆ โดยสิ้นเชิง
หลายแง่มุมของโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น การเดินทางข้ามแดนของประชาชน การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการจะถูกตรวจสอบและอาจจะต้องตั้งค่าใหม่ (reconfigured) โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งภาคส่วนหรืออุตสาหกรรมแบบเดียวกับที่เคยเป็นมาตลอดในประวัติศาสตร์ อำนาจนิยมและระบอบเผด็จการจะฉวยโอกาสจากวิกฤติที่เกิดขึ้นเพื่อขยายการปกครองของผู้มีอำนาจ ด้วยการจำกัดควบคุมสื่อและทำให้สถาบันภาคประชาสังคมเดินไปแบบไม่ราบรื่น



[1] AUTHORITARIANISM RECEIVES A BOOST FROM THE CORONAVIRUS PANDEMIC INTELBRIEF Thursday, April 9, 2020 Available at: https://mailchi.mp/thesoufancenter/authoritarianism-receives-a-boost-from-the-coronavirus-pandemic?e=c4a0dc064a
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.