การปิดล้อม (containment) ไวรัสโคโรนา: เศรษฐกิจเสียหายแต่ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ตอนจบ

ที่มาภาพ: Hundreds of people line up to enter a Costco store on March 14, 2020, in Novato, California. https://edition.cnn.com/2020/03/22/world/doomsday-prophets-coronavirus-blake/index.html

ทความตอนที่แล้วได้นำเสนอสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับรายงานการวิจัยใหม่ ซึ่งผสมผสานทฤษฎีทางระบาดวิทยา (epidemiological) และเศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomic) โดยสร้างตัวแบบพันทาง (hybrid) ในการคำนวณ เพื่อหาทางเลือกที่ดีสุด (best case) ในการตอบสนองการระบาดของไวรัสโคโรนา[1] สำหรับตอนนี้จะขอนำเสนอส่วนที่เหลือซึ่งเป็นตอนจบ
ม้ความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงมาก แต่การปิดล้อมไวรัสทำให้สังคมดีกว่า
          เนื่องจากค่าความเสียหายที่สูงมากของฉากทัศน์เหล่านี้ คณะผู้วิจัยได้กำหนดระดับการทำงานและการจับจ่ายดีที่สุดสำหรับสังคมโดยรวม ด้วยการลดค่าความเสียหายร่วมจากการถดถอยทางเศรษฐกิจและการสูญเสียชีวิตมนุษย์ (สมมติว่าวัคซีนยังไม่ออกวางตลาด) พวกเขาพบว่า การที่จะบรรลุฉากทัศน์ที่ดีที่สุด (best-case scenario) จำเป็นต้องใช้มาตรการปิดล้อมเพื่อลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจลงอย่างมีนัยสำคัญ การปิดขัง (lockdown) และนโยบายที่คล้ายกัน (โดยที่รัฐบาลไม่ได้ออกคำสั่ง) จะต้องลดการบริโภคสินค้าและบริการให้ได้เป็นจำนวนมากกว่าหลายเท่า
          เพื่อความชัดเจน การลดลงดังกล่าวนำไปสู่การถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง การบริโภคโดยรวมลดลงมากกว่าจำนวนที่ลดลงในช่วงการถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 2008 กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงอย่างฮวบฮาบช่วยจำกัดการแพร่กระจายของไวรัส การเสียชีวิตลดลงจำนวนนับแสนคน โดยเปรียบเทียบกับฉากทัศน์ที่ไม่มีการปิดล้อม การเพิ่มพื้นที่กักกันสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงได้อย่างมาก อ้างอิงจากค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจของการเสียชีวิตที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ประโยชน์ที่ได้จากการช่วยชีวิตคนจำนวนมากมีน้ำหนักมากกว่าความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรง
          ในกรณีที่โรงพยาบาลไม่สามารถตอบสนองความจำเป็นของผู้ป่วยให้อยู่ในระดับเดียวกันได้ จำเป็นต้องมีนโยบายปิดล้อมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดจำนวนผู้ติดเชื้อ (flattening the Curve) และระบบดูแลสุขภาพไม่เกิดภาวะล้นหลาม ตัวแบบจำลองทำนายว่า ในกรณีที่บริการของโรงพยาบาลเต็มขีดความสามารถและใช้กลยุทธ์การปิดล้อมขั้นสูงสุดสามารถช่วยชีวิตคนหลายล้านในสหรัฐฯ
          ขณะที่ฉากทัศน์การปิดล้อมในอุดมคติเริ่มนำไปสู่การถดถอยอย่างรุนแรง เศรษฐกิจควรฟื้นตัวมากขึ้นในระยะยาว GDP ในฉากทัศน์ที่มีการปิดล้อมจะลดลงอย่างถาวรต่ำกว่าร้อยละ 1 ซึ่งน้อยกว่าในฉากทัศน์เศรษฐกิจเสรี เพราะจะมีผู้รอดชีวิตมากขึ้น สุขภาพที่ดีของคนทำงานช่วยให้เศรษฐกิจดำเนินต่อไป การศึกษานี้ยังเสนอแนะว่า ผู้กำหนดนโยบายอาจใช้นโยบายการปิดล้อมได้ดีที่สุด โดยค่อย ๆ เพิ่มการปิดล้อมและผ่อนคลายมาตรการเมื่ออัตราการติดเชื้อลดลง
การปิดล้อมแบบชาญฉลาด (smart containment) เมื่อรู้ข้อมูลสุขภาพของประชาชน
          ทำไมไม่ใช้การปิดล้อมอย่างเข้มงวดเช่น การปิดขังกิจกรรมทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยฉากทัศน์นี้มีข้อสมมติฐานว่ายังไม่มีวัคซีนที่เป็นไปได้ คำตอบกลับมาที่ระบาดวิทยา หากไม่มีวัคซีนและไม่มีการรักษา วิธีเดียวที่จะหยุดการแพร่ระบาด คือ การที่ผู้คนจำนวนมากพอที่จะรับเชื้อไวรัสและมีภูมิคุ้มกันไวรัสหรือสิ่งที่เรียกว่า “ภูมิคุ้มกันระดับชุมชน (herd immunity)”
          การปราบปรามไวรัสทั้งหมดจะไม่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันระดับชุมชน หากลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้เหลือศูนย์ (0) จะไม่มีทางออกจากปัญหานี้ เพราะนาทีที่ยกเลิกการปิดล้อมจะเกิดการระบาดครั้งที่สอง ในอีกด้านหนึ่งการปิดล้อมแบบค่อยเป็นค่อยไปทำให้ประชากรกลุ่มเล็ก ๆ ได้สัมผัสไวรัส เมื่อมาตรการปิดล้อมกลับสู่ระดับเดิม ไวรัสจะค่อย ๆ หมดไป
ผู้กำหนดนโยบายยังจำเป็นต้องปิดล้อมไวรัส แม้วัคซีนกำลังจะออกวางตลาด
          สุดท้าย คณะวิจัยได้พิจารณาว่า การพัฒนาการรักษาหรือวัคซีนป้องกัน COVID-19 จะเปลี่ยนการทำนายของพวกเขาอย่างไร สมมติว่าการพัฒนาการรักษาต้องใช้เวลาอีกประมาณหนึ่งปี ผู้วิจัยทำนายว่า การวางตลาดของวัคซีนจะเปลี่ยนแปลงการทำนายน้อยมาก เพราะระยะเวลาของการติดเชื้อมากกว่าหรือน้อยกว่าหนึ่งปี หมายความว่าไวรัสจะแพร่ระบาดตามระยะเวลาที่มีการคิดค้นวิธีรักษา หากวัคซีนวางตลาดได้ภายในระยะเวลาหนึ่งปี ขณะที่การรักษาช่วยคนที่ป่วยติดเชื้ออยู่แล้ว วัคซีนจะช่วยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อไวรัสเท่านั้น
หากผู้กำหนดนโยบายคาดหวังว่าวัคซีนกำลังจะออกวางตลาด พวกเขาจะมีแรงจูงใจมากขึ้นที่จะป้องกันไม่ให้คนติดเชื้อ โดยหวังว่าจะลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงได้ แทนที่จะค่อย ๆ เพิ่มความพยายามในการปิดล้อม นโยบายที่เหมาะสมที่สุดคือ การกำหนดข้อจำกัดที่เข้มงวดในการทำงานและการจับจ่ายทันที เนื่องจากไม่ต้องกังวลเรื่องภูมิคุ้มกันระดับชุมชนอีกต่อไป Rebelo เห็นว่า การแตะเบรกทันทีหรือการทำงานหนักงานยากในช่วงแรก เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำงานเสร็จไม่ทันในช่วงหลัง (frontload) คือ การซื้อเวลาก่อนวัคซีนวางตลาด การตัดสินใจแบบนี้จะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง แต่คุ้มค่ากับการคาดหวังว่าวัคซีนจะวางตลาดก่อนที่ผู้คนจำนวนมากติดเชื้อ
มาตรการปิดล้อมไวรัสของสหรัฐฯมาถูกทางแล้ว
          การวิจัยให้ข้อเสนอแนะที่มีความหวัง มาตรการปิดล้อมอย่างเข้มงวดที่นำมาใช้ทั่วสหรัฐฯ น่าจะลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสได้อย่างมากและคุ้มค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ข้อค้นพบนี้ยังสื่อถึงความจริงที่น่าเศร้า แม้ในฉากทัศน์ที่ดีที่สุดและยังไม่มีวัคซีน สหรัฐฯจะประสบภาวะถดถอยอย่างรุนแรงและมีผู้เสียชีวิตกว่าล้านคน การกักกันประชากรทั้งหมดไม่ให้ไปช้อปปิ้งหรือไปสำนักงาน (ทำงาน) เป็นเครื่องมือที่ไม่แหลมคมสำหรับการปิดล้อม
          สิ่งที่ควรทำคือ การปิดล้อมแบบชาญฉลาด ซึ่งจะต้องรู้สุขภาวะของผู้คนที่แตกต่างกัน ประเทศในเอเชียบางแห่งใช้วิธีตรวจวัดอุณหภูมิของคนที่เดินตามท้องถนนและถ้ามีไข้ต้องกลับเข้าบ้าน มาตรการดังกล่าวอาจช่วยลดความยากลำบากทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันยังลดจำนวนผู้เสียชีวิต การวิจัยการแพร่ระบาดโดยรวมมิติทางเศรษฐกิจและมนุษย์ช่วยให้เห็นคุณค่ามหาศาลของนโยบายปิดล้อมอย่างจริงจังและอันตรายของการไม่ฏิบัติตาม



[1] ดู เอกสารต้นฉบับ THE MACROECONOMICS OF EPIDEMICS ซึ่งผสมผสานทฤษฎีทางระบาดวิทยา (epidemiological) และเศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomic) เพื่อหาทางเลือกที่ดีสุดสำหรับผู้กำหนดนโยบายในการตอบสนองการระบาดของไวรัส สืบค้นได้ที่ http://www.nber.org/papers/w26882
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.