ม้านั่งสามขาและจุดศูนย์ดุล (Center of Gravity - COG): สมมุติว่า “ธนาธร” ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรี (ตอนจบ)
ที่มาภาพ: https://www.instagram.com/p/CBUqz1SnWwE/
สมมติว่า “ธนาธร” ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย สิ่งที่เขาต้องการบรรลุ (end) คือ การเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย หนทางปฏิบัติ (ways) ที่เป็นไปได้ ซึ่งจะทำให้บรรลุความสำเร็จ ได้แก่ รัฐประหาร (coup) ซื้อ (purchase) ปาฏิหาริย์ (miracle) หรือผ่านการเลือกตั้ง (election) ธนาธรตัดตัวเลือกสามอันดับแรกออก เพราะเขาไม่มีทรัพยากร (means) ที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ……
ตัวอย่าง: สมมติว่า “ธนาธร” ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรี[1]
ตัวอย่างระเบียบวิธีตามกรอบยุทธศาสตร์ในทางปฏิบัติ อาจช่วยให้มองเห็นภาพการทำงานชัดเจนขึ้น ลองสมมติว่า “ธนาธร” ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย สิ่งที่เขาต้องการบรรลุ (end) คือ การเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย หนทางปฏิบัติ (ways) ที่เป็นไปได้ ซึ่งจะทำให้บรรลุความสำเร็จ ได้แก่ รัฐประหาร (coup) ซื้อ (purchase) ปาฏิหาริย์ (miracle) หรือผ่านการเลือกตั้ง (election) ธนาธรตัดตัวเลือกสามอันดับแรกออก เพราะเขาไม่มีทรัพยากร (means) ที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ เขาไม่มีกองทัพสนับสนุน ไม่มีเงินทุนมากพอ (แค่ให้พรรคกู้เงินก็ยังโดนยุบ) และขาดศรัทธา (ไม่ได้น้อมนำคำสอนฯ) ตามลำดับ
ช่องทางไปสู่การเลือกตั้ง เพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง ธนาธรจำเป็นต้องมีทรัพยากร (means) ซึ่งจะขอกล่าวถึงแค่บางส่วน คือ ทักษะทางการเมือง (political skills) การเข้าถึงสื่อ (media access) องค์กรรณรงค์หาเสียง (campaign organization) กองทุน (funds) เสียงสนับสนุนเพียงพอ (sufficient votes) การสื่อสารที่น่าเชื่อถือ (convincing messages) และความคิด (ideas) เครื่องมือเหล่านี้ควบคุมสมรรถนะสำคัญที่จะทำให้ได้รับเลือกตั้งหรือไม่ ?
ทักษะทางการเมืองจำเป็นต้องมี แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง กองทุนคือ สิ่งที่ต้องการ แต่เงินไม่สามารถออกเสียง การสื่อสารที่น่าเชื่อถือเป็นปัจจัยบวก แต่ก็ไม่สามารถออกเสียงเช่นกัน ประชาชน (ผู้มีสิทธิ) เป็นผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็คือ จุดศูนย์ดุล นี่คือการทดสอบการปฏิบัติ (does) ธนาธรจำเป็นต้องใส่ความต้องการให้แก่จุดศูนย์ดุล (ผู้มีสิทธิออกเสียง) จำนวนมากเพียงพอและเข้มแข็งกว่าฝ่ายตรงข้าม
ในกรณีการเลือกตั้งของไทย[2] ผู้มีสิทธิออกเสียงพิจารณาการรณรงค์หาเสียงของธนาธรและองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) นี่คือการทดสอบการใช้ (uses) เพราะการรณรงค์หาเสียงถูกใช้เพื่อขีดวงผู้ออกเสียง การรณรงค์หาเสียงคือ ความต้องการที่สำคัญหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ธนาธรต้องการดึงดูดให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือก ส.ส.ให้ได้มากกว่าพรรคคู่แข่ง โดยเขาจะพยายามปรับปรุงและป้องกันความต้องการที่สำคัญ (การรณงค์หาเสียง) ขณะเดียวกันต้องโจมตีความต้องการของพรรคคู่แข่ง
บางทีอาจมีคนอ้างว่า จุดศูนย์ดุลของธนาธรคือ การสื่อสาร (ที่น่าเชื่อถือ) หากปราศจากการสื่อสารเขาอาจพ่ายแพ้การเลือกตั้ง ซึ่งไม่ใช่ คงจำกันได้ว่า จุดศูนย์ดุลจะต้องสามารถปฏิบัติการได้ (ขีดความสามารถที่จำเป็น) การสื่อสารของธนาธรไม่ได้มีอยู่โดยธรรมชาติที่จะแสดงสมรรถนะที่จำเป็น แต่เป็นผู้ให้สิทธิหรือความต้องการสำคัญที่จะรักษาไว้ (หรือไม่สามารถรักษาไว้) ซึ่งจุดศูนย์ดุล (บังเอิญเรื่องนี้เกี่ยวกับการสื่อสารแสดงข้อเท็จจริงที่จุดศูนย์ดุลอาจถูกโจมตีและเอาชนะทางอ้อมด้วยการทำลายหรือทำให้ความต้องการที่สำคัญอ่อนแอลง)
สมมติอีกครั้งว่าธนาธรพ่ายแพ้การเลือกตั้ง เราอาจคาดการณ์ว่าเขามีความเข้าใจตัวแบบทางยุทธศาสตร์และปรับวัตถุประสงค์ให้เหมาะสมกับเครื่องมือ (ทรัพยากร) บางทีเขาอาจตัดสินใจรับการเลือกตั้งเป็นนายกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยก็เป็นได้ (เคยมีการวิเคราะห์กันว่าธนาธรอาจลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.หากไม่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง)
ตัวอย่างง่าย ๆ ข้างต้นแสดงให้เห็นการใช้แนวคิดทั้งหมดในการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ หนทางปฏิบัติและเครื่องมือรวมทั้งการทดสอบการปฏิบัติ/ใช้ เพื่อหาสมรรถนะที่จำเป็นและผู้เป็นเจ้าของสมรรถนะนั้น สังเกตว่า ตัวอย่างการเลือกตั้ง นอกจากเรียบง่าย ยังใช้ความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย ในการเลือกตั้งผู้สมัครไม่ได้เป็นเจ้าของจุดศูนย์ดุล (ผู้มีสิทธิออกเสียง) พวกเขามุ่งแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งจุดศูนย์ดุลเดียวกันมากกว่า ในที่สุดผู้ชนะคือ ผู้ที่ประสบความสำเร็จได้ครอบครองจุดศูนย์ดุลได้มากที่สุดและนั่นคือบทบาทของความคิดสร้างสรรค์
การใช้ความคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) และการคิดแบบยืดหยุ่น (flexible thinking) ในสถานการณ์ที่ซับซ้อน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นศิลปของยุทธศาสตร์และการวางแผนทางทหาร (military planning) ด้วยการปรับกรอบยุทธศาสตร์และตัวแบบตามสถานการณ์ ไม่ใช่บีบบังคับสถานการณ์ให้เข้ากับตัวแบบ
[1] ดัดแปลงจากตัวอย่างในบทความที่อ้างถึงในเชิงอรรถที่ 4 ซึ่งยกตัวอย่าง “มาดอนนา” จะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทั้งนี้ระบบ การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ใช้ระบบคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ซึ่งหมายถึง ผู้แทนราษฎรของแต่ละรัฐที่จะเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีแทนราษฎรในรัฐของตน ในอดีตพวกกลุ่มผู้แทนเหล่านี้ถือว่าเป็นชนชั้นนำและเป็นผู้มีโอกาสตัดสินใจในการเลือกตั้งอย่างแท้จริง แต่ในปัจจุบันพวกผู้แทนกลุ่มนี้ต้องทำตามนโยบายของพรรคของตน ถ้าพรรคของตนสนับสนุนใครก็ต้องเลือกคนนั้น จำนวนผู้แทนของรัฐใดจะมีผู้แทนเท่าใดถือเอาจำนวนของผู้แทนของรัฐนั้นในวุฒิสภา (the Senate)และสภาผู้แทนราษฎร (the House of Representatives) ร่วมกัน ดู https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งทางอ้อม
[2] ดู “เส้นทางสู่ตําแหน่งนายกรัฐมนตรี” โดย นายแดนชัย ไชวิเศษ นิติกรชํานาญการพิเศษ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (พฤศจิกายน 2560) ดาวน์โหลดเอกสาร PDF ได้ที่ https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2560/hi2560-079.pdf
Leave a Comment