เมื่อข่าวกรอง (Intelligence) ถูกทำให้เป็นการเมือง (Politicizing): อันตรายของประเทศ

ที่มาภาพประกอบ: https://www.npr.org/2020/07/01/885909588/trump-calls-bounty-report-a-hoax-despite-administration-s-briefing-of-congress

ประชาคมข่าวกรองไม่เคยบอกว่าทำเนียบขาวต้องทำอะไร พวกเขาเพียงแค่ประมาณการและพิจารณาข้อดีข้อเสียของทางเลือกต่าง ๆ 

รัฐบาลของประธานธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯมีมาตรฐานการปฏิบัติต่อรายงานใด ๆ ที่เผยให้เห็นว่าประธานาธิบดีทรัมป์ประจบประแจงประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ด้วยการตีตราว่ารายงานนั้นเป็น “ข่าวปลอม” การทำให้รายงานประมาณการข่าวกรองแห่งชาติ (national intelligence assessments) และการวิเคราะห์จากประชาคมข่าวกรองเป็น “การเมือง” (politicizing) ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ส่งผลทางลบอย่างมหาศาลและก่อให้เกิดความจริงทางเลือก (alternative facts) ที่ขัดแย้งไม่สำคัญทางการเมืองรวมทั้งการวิเคราะห์ฝ่ายเดียว ทั้งนี้ มีหน่วยงานพลเรือนของรัฐบาลกลางเพียงไม่กี่แห่งที่ไม่ถูกประธานาธิบดีทรัมป์และผู้จงรักภักดีทางการเมือง ป้ายสีว่าลำเอียงเข้าข้าง ทรยศหรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐพันลึก (Deep State)[1]
          ระหว่างการนำสหรัฐฯเข้าสู่หายนะของการรุกรานอิรักในปี 2003 รัฐบาลของประธานาธิบดีบุชประสบความสำเร็จอยู่บ้างในการคัดเลือกเฉพาะข่าวกรองที่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง (casus belli) เพื่อเข้าทำสงคราม จากนั้นรองประธานาธิบดี Dick Cheney ได้แทรกแซงและจุ้นจ้านกับการวิเคราะห์ของสำนักงานข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency CIA) โดยใช้การเมืองกดดันหน่วยข่าวกรองมืออาชีพฝ่ายพลเรือน โดยผลพวงของความขัดแย้งดังกล่าวยังคงรู้สึกได้จนถึงทุกวันนี้
          รัฐบาลสหรัฐฯมักจัดลำดับความสำคัญและออกคำสั่งข่าวกรองแห่งชาติ (national intelligence directives) มอบหมายภารกิจให้หน่วยงานข่าวกรองรวบรวม วิเคราะห์ ประมาณการและแจกจ่ายรายงานข่าวกรองตามลำดับความสำคัญและวัตถุประสงค์ เมื่อใดที่รัฐบาลพยายามแสวงหาข่าวกรอง เพื่อสนับสนุนข้อกำหนดที่มีอยู่ก่อน (pre-existing preference) หรือความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลที่เกิดขึ้นตามมาย่อมเลวร้ายเสมอ นี่คือแนวโน้มความแตกแยกที่ถูกตรวจสอบโดยข้าราชการพลเรือนที่ทำหน้าที่รับใช้ฝ่ายบริหารทุกระดับของรัฐบาล
          รัฐบาลทรัมป์ทำให้ข่าวกรองเป็นเรื่องการเมืองโดยมีข้อยกเว้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อน ไม่มีแง่มุมใดของรัฐบาลที่ไม่ถูกวาดภาพอย่างจงใจและเสมอต้นเสมอปลายว่าเป็น “อันธพาล” หรือเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า “รัฐพันลึก” ลักษณะการบริหารงานที่น่าอับอายถูกนำไปปรับใช้กับเรื่องพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งสันนิษฐานว่าไม่มีข้อโต้แย้งเช่น ทฤษฎีเชื้อโรคและพื้นฐานการปฏิบัติทางระบาดวิทยา สำหรับภารกิจด้าน “ข่าวกรอง” รัฐบาลทรัมป์ใช้กลยุทธ์แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง “รักษาการ” ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence - DNI)
          ประธานาธิบดีสหรัฐฯทุกคนมีสิทธิ์เลือกที่ปรึกษาและหัวหน้าสำนักงานของตน แต่ตัวเลือกเหล่านั้นต้องมีคุณสมบัติขั้นต่ำ กฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯระบุว่า ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมีประสบการณ์ด้านการข่าวกรอง ผู้รักษาการ DNI คนปัจจุบันขาดคุณสมบัติดังกล่าวเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้านั้น รัฐบาลทรัมป์มักจะเยาะเย้ยเจ้าหน้าที่คนใดก็ตามที่มีการประเมินแตกต่างจากความจริงของรัฐบาล ซึ่งห่างไกลจากหลักฐานเชิงประจักษ์และแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้อง
เจ้าหน้าที่รัฐบาลบางคนชี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าการรวบรวมและประมาณการข่าวกรองที่ไม่มีความสำคัญทางการเมืองไม่มีจริง ขณะเดียวกันก็เมินเฉยความคิดของมืออาชีพที่อยู่บนพื้นฐานของความจริง ตัวอย่างล่าสุดของการทำข่าวกรองให้เป็นเรื่องการเมือง เกิดขึ้นโดยสื่อมวลชนหลายสำนักรายงานว่าสหรัฐฯมีรายงานข่าวกรองเกี่ยวกับหน่วยข่าวกรองหลักของรัสเซีย ซึ่งรู้จักกันในชื่อหน่วย GRU ได้เสนอให้เงินรางวัลแก่กลุ่ม Taliban ที่โจมตีกำลังทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน
เมื่อประชาคมข่าวกรองสหรัฐฯนำเสนอรายงานประมาณการข่าวกรองดังกล่าวต่อรัฐบาลและบรรยายสรุปประจำวันแก่ประธานาธิบดี (Presidential Daily Brief) ได้สร้างความโกลาหลขึ้นอย่างมากเพราะรัฐบาลสหรัฐฯเคยผลักดันอย่างเปิดเผยให้รัสเซียกลับเข้าร่วมกลุ่ม G7[2] แม้รายงานข่าวกรองขั้นสุดท้ายยังมีความไม่แน่นอน รายงานของ CIA มีความแน่นอนปานกลาง ขณะที่รายงานของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency NSA) มีความแน่นอนต่ำกว่า ซึ่งเป็นข้อสรุปปกติเนื่องจากความแตกต่างของแหล่งข่าวและวิธีการรวบรวมข่าวกรอง สุดท้ายขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะปฏิบัติตามการประมาณการของหน่วยใด
ประชาคมข่าวกรองไม่เคยบอกว่าทำเนียบขาวต้องทำอะไร พวกเขาเพียงแค่ประมาณการและพิจารณาข้อดีข้อเสียของทางเลือกต่าง ๆ แทนที่จะเปิดเผยเรื่องที่กำลังพิจารณาหรือประเด็นอ่อนไหวที่ไม่ควรเปิดเผยนอกกรรมาธิการเฉพาะกิจของวุฒิสภาและการบรรยายสรุปแก่ประธานาธิบดี ทำเนียบขาวกลับปรักปรำทันทีว่ารายงานนั้นเป็น “ข่าวปลอม” รวมทั้งกล่าวหาว่าสื่อและหน่วยงานข่าวกรองเป็นศัตรูของประชาชน จากนั้นทำเนียบขาวได้มีบันทึกของ DNI ซึ่งมิได้หักล้างอะไรในรายงานข่าวกรองดังกล่าว (รายละเอียดทั้งหมดได้รับการยืนยัน) ซึ่งเน้นให้เห็นช่องว่างของรายงาน
ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ tweet ข้อความว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องหลอกลวง (ปฏิเสธจุดยืนของรัฐบาลของตน) และโจมตีความนึกคิดอิสระของประชาคมข่าวกรอง[3] ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชนให้สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและสังคม (speak truth to power) รูปแบบดังกล่าวบ่อนเซาะรากฐานความไว้วางใจของรัฐบาลและใช้ประโยชน์ได้เพียงอย่างเดียวคือการสมคบคิดที่เป็นอันตรายเช่นกลุ่ม QAnon ซึ่งนำสมาชิกกลุ่มเข้ามีส่วนร่วมกับความรุนแรงในโลกแห่งความเป็นจริง


สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ได้เป็นความหวังดีที่น่าสงสัย แต่เป็นการรื้อถอนสถานะของฝ่ายบริหารที่สอดคล้องกับโลกทัศน์ ซึ่งทุกอย่างเป็นเรื่องการเมืองและพวกพ้อง จากวิทยาศาสตร์สาธารณสุขไปจนถึงการประมาณการความมั่นคงแห่งชาติ ขณะนี้สหรัฐฯติดอยู่ในวังวนของทฤษีสมคบคิด และความไม่ไว้วางใจระหว่างสังคมกับรัฐบาลไม่ใช่เรื่องปกติหรือเป็นที่ยอมรับได้ สำหรับประธานาธิบดีสหรัฐฯที่จะเรียกข้าราชการพลเรือนว่า “คนทรยศ” และตราหน้าสื่อว่า “เป็นศัตรูของประชาชน” ไม่ว่ายังไงสิ่งนี้อาจกลายเป็นเรื่องธรรมดา



[1] POLITICIZING INTELLIGENCE IS HARMFUL TO THE UNITED STATES INTELBRIEF Friday, July 10, 2020 Available at: https://mailchi.mp/thesoufancenter/politicizing-intelligence-is-harmful-to-the-united-states?e=c4a0dc064a
[2] กลุ่ม 7 (Group of Seven) หรือในอดีตคือ กลุ่ม (โดยเพิ่มรัสเซียระหว่างปี 1997 ถึงปี 2014) เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก ประเทศคือ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ โดยเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้นับเป็นกว่า 50% ของเศรษฐกิจโลก (ณ ปี 2012) นอกจากนั้น ยังมีประธานแห่งสหภาพยุโรปร่วมประชุมด้วย ทั้งนี้ ในปี 2014 จากบทบาทของรัสเซียในวิกฤตการณ์ไครเมีย ทำให้ถูกพักจากการเป็นสมาชิกกลุ่มและประเทศที่เหลือได้มีการจัดประชุมในนามกลุ่ม 7 อีกครั้ง สืบค้นที่ https://th.wikipedia.org/wiki/กลุ่ม_7
[3] Trump Calls Bounty Report A 'Hoax' Despite Administration's Briefing Of Congress Barbara Sprunt NPR July 1, 2020 9:51 AM ET Available at: https://www.npr.org/2020/07/01/885909588/trump-calls-bounty-report-a-hoax-despite-administration-s-briefing-of-congress
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.