การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: แยกแยะ “สัญญาณ” และ “สิ่งรบกวน” (ตอนที่ 3)
ที่มาภาพ: https://www.nytimes.com/2012/10/24/books/nate-silvers-signal-and-the-noise-examines-predictions.html
ระบบ (ปฏิบัติการ) รวบรวมมีขีดความสามารถเพียงเล็กน้อยในการจำแนกความแตกต่างระหว่าง “ข้อมูลที่ตรงประเด็นและไม่ตรงประเด็น (relevant and not-relevant data)” ระหว่าง “เสียงรบกวน (noise)” และ “สัญญาณ (signal)”
ข้อเสนอประการที่สาม หนึ่งในความสำคัญลำดับต้น ๆ คือ การมุ่งเน้นความพยายามในการรวบรวมข่าวกรอง (intelligence collection effort) ควรได้รับการเน้นย้ำครั้งแล้วครั้งเล่า หากช่องว่างระหว่างการวิเคราะห์บนพื้นฐานความน่าเชื่อถือ ทันสมัย แม่นยำและการประมาณการบนพื้นฐานของการคาดคะเน (speculation) ด้วยข้อมูลที่อาจไม่น่าเชื่อถือน้อยลงเท่าใด ความเป็นไปได้ของการคาดการณ์จะมีความแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าที่ไหนก็ตามที่เป็นไปได้ควรวางภาระไว้ที่ผู้รวบรวม (บุคคลากรที่ทำงานในระบบรวบรวม) ซึ่งจัดเตรียมข้อมูลดิบที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เพื่อปิดช่องว่าง
แน่นอนว่ามีอันตรายแอบแฝงจำนวนมาก ระบบ (ปฏิบัติการ) รวบรวมมีความสามารถเพียงเล็กน้อยในการจำแนกความแตกต่างระหว่าง “ข้อมูลที่ตรงประเด็นและไม่ตรงประเด็น (relevant and not-relevant data)” ระหว่าง “เสียงรบกวน (noise)” และ “สัญญาณ (signal)”[1] การกรองข้อมูลที่เข้ามายังคงเป็นความรับผิดชอบนักวิเคราะห์ข่าวกรองเสมอ
ภาพแคปจากไทยรัฐออนไลน์
ตัวอย่างการวิเคราะห์ข่าวกรองหรือการประมาณการข่าวกรองด้วยการแยกแยะ “สัญญาณ” และ “สิ่งรบกวน” ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในไทย คือ พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (ฉบับออนไลน์) เมื่อ 3 กันยายน 2563 เรื่อง จับสัญญาณ “ปฏิวัติ” ปฏิบัติการ “ลับ” ทบ.เคลื่อนพลฝึกซ้อม-พร้อมรบ เพื่อเรียความสนใจของ “ผู้บริโภค” ข่าวสาร[2] แต่ในฐานะนักวิเคราะห์มีความจำเป็นที่จะต้องแยกแยะสองสิ่งดังกล่าวซึ่งมีผลต่อการประมาณการที่ถูกต้อง แม่นยำ
ประการที่สี่หนทางปฏิบัติสุดท้าย ควรทำให้ระบบการรวบรวมข่าวกรองและนักวิเคราะห์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด (close ties between the collection system and analyst) ความสัมพันธ์ยิ่งใกล้ชิดกันมากเท่าไร ยิ่งทำให้การสนับสนุนของทั้งสองส่งผลดีต่อการประมาณการและระบบโดยรวม
บทบาทขององค์ประกอบการรวบรวมข่าวกรองคือการจัดส่ง หัวข้อข่าวสาร (the essential element of information - E.E.I) โดยระบบซึ่งนำนักวิเคราะห์และนักรวบรวมมาอยู่ด้วยกันอย่างเหมาะสมจะทำให้บรรลุผลดังต่อไปนี้
- ไม่เสียแรงในการรวบรวมข่าวสารที่ไม่จำเป็น (ไม่เกิดความสูญเปล่า)
- แยกแยะความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่น่าเชื่อถือและข้อมูล (เนื้อหา) ที่ทำให้เข้าใจผิด (misleading material)
- นักวิเคราะห์มีบทบาทสำคัญในการประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว กำหนดความสามารถโดยรวม คุณค่าหลักและการเข้าถึง
- บรรดานักวิเคราะห์ผู้รับผิดชอบบูรณาการข้อมูลอาจสกัดข่าวสาร (information) จากทุกแหล่งได้ดีและมากขึ้น โดยใช้ความเข้าใจพื้นฐานที่ลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับประเด็นและปัญหา
การเปิดเผยความพยายามในการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร องค์การข่าวกรองต้องปกป้องความลับด้วยความระมัดระวัง การเชื่อมต่ออย่างใกล้ชิดระหว่างนักวิเคราะห์และกระบวนการรวบรวมมีความเสี่ยงสูงมากเท่ากับการปกป้องความลับของแหล่งข่าวและระเบียบวิธี (method) ในการรวบรวม แต่เป็นที่ชัดเจนว่าจะต้องยอมรับความเสี่ยงบางอย่างในการบรรลุส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดระหว่างความปลอดภัยและการวิเคราะห์ที่ดีขึ้น (ยังมีต่อ)
[1] Difference Between Noise and Signal DB differencebetween.net (http://www.differencebetween.net/) Available at: http://www.differencebetween.net/science/difference-between-noise-and-signal/
[2] จับสัญญาณ "ปฏิวัติ" ปฏิบัติการ "ลับ" ทบ. เคลื่อนพลฝึกซ้อม-พร้อมรบ ไทยรัฐออนไลน์ 3 ก.ย. 2563 07:38 น. สืบค้นที่ https://www.thairath.co.th/news/local/1922923?fbclid=IwAR1puZ7l6kQINLDQmgUHjiz0hlqncKSySfWafQC3_kh_XJnoQR_9FiJFAjg
Leave a Comment