การแพร่ระบาดของ COVID-19: ผลกระทบต่อการดำเนินงานข่าวกรอง

 

There are many reasons to have face to face meetings - just make them smart meetings.

ที่มาภาพ: https://www.inc.com/andrew-griffiths/10-reasons-face-to-face-meetings-are-more-important-than-we-think.html

ารแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการรวบรวม (collection) วิเคราะห์ (analysis) และกระจาย (disseminated) ข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพบปะตัวต่อตัวเพื่อรวบรวมข่าวกรองทางบุคคล (Human Intelligence - HUMINT) ถูกทำให้เสียกระบวน ขณะที่ประสิทธิภาพของซอฟท์แวร์ชีวมิติ (biometrics) และจดจำใบหน้า (face recognition) ลดลงเนื่องจากการสวมหน้ากากอนามัยอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ หน่วยข่าวกรองซึ่งมีระเบียบปฏิบัติแบบราชการถูกบีบบังคับให้ต้องรับมือความท้าทายด้านบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19[1]

          ผลกระทบจากแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ได้เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพบปะแบบตัวต่อตัวระหว่างผู้ควบคุม (handler) และแหล่งข่าว (sources) ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์มีความคลุมเครือ แม้แต่ปัญหาธรรมดาเช่น การดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติราชการของหน่วยข่าวกรองซึ่งมีเจ้าหน้าที่หลายพันคนก็ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมนี้

ข้อจำกัดในการเดินทางทำให้การทำงานตามระบบราชการประสบความล่าช้า ตั้งแต่การเลื่อนระดับ สับเปลี่ยน โยกย้ายและการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำการในต่างประเทศ นอกจากนี้ COVID-19 กำลังบีบคั้นหน่วยงานทรัพยากรบุคคลที่ดีที่สุด โดยทำให้การหมุนเวียนเจ้าหน้าที่และการทำกิจกรรมสำคัญส่วนใหญ่หยุดชะงักลงชั่วคราวเช่น การฝึกอบรมด้านภาษาและเรื่องเฉพาะทางอื่น ๆ

          มาตรการข้อจำกัดภายในประเทศและระหว่างประเทศมีผลต่อการเคลื่อนย้ายบุคลากรเช่น การห้ามการเดินทางของชาวยุโรปที่รวมถึงนักเดินทางชาวสหรัฐฯ เนื่องจากอัตราการติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นในหลายมลรัฐ ระดับการกักกันที่แตกต่างกัน การออกคำสั่งปิดเมืองของรัฐบาลและข้อจำกัดการเดินทาง ส่งผลให้ต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินการรวบรวมข่าวกรองทางบุคคล (HUMINT) ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติการทางออนไลน์

การดำเนินการทางออนไลน์อาจสร้างโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ เห็นได้จากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับ SolarWinds[2] เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเชื่อว่าชาวรัสเซียเข้าถึงระบบที่มีความอ่อนไหวสูงของรัฐบาลสหรัฐฯโดยข้อมูลที่อยู่ในระบบออนไลน์มีความเปราะบางและพร้อมจะถูกแสวงประโยชน์ เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ย้ายไปดำเนินการทางออนไลน์อย่างรวดเร็ว ห้วงเวลานี้จึงอาจเป็นยุคทองของการจารกรรมทางไซเบอร์

ภายในระยะเวลาสองสามเดือนแรกของการแพร่ระบาดระบาดในปี 2020 มีการประชุมผ่าน Zoom เพิ่มขึ้นจากวันละ 10 ล้านครั้งเป็นมากกว่า 300 ล้านครั้ง แพลตฟอร์มการประชุมดังกล่าวไม่มีความปลอดภัยและน่าจะเป็นเป้าหมายของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actors) ซึ่งหาประโยชน์เชิงการค้า แบบเดียวกับรัฐที่หาทางแสวงประโยชน์จากข่าวกรอง

แนวโน้มการเผชิญหน้าแบบเสมือนจริงบนเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้ธุรกิจและเจ้าหน้าที่ของรัฐเผชิญความเสี่ยงจากการแบล็กเมล์หรือข่มขู่บีบบังคับ ยิ่งไปกว่านั้นการโต้ตอบส่วนบุคคลในโลกเสมือนจริงยังอาจเปลี่ยนแปลงคุณภาพและความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับลักษณะของข้อมูล

หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯหลายแห่งพยายามปฏิบัติภารกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมปกป้องบุคคลากรของตนด้วยการจัดตารางเวลาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนปฏิบัติงานในสำนักงานให้น้อยที่สุด ความท้าทายที่ยากลำบากสำหรับระบบราชการคือ การตัดสินใจว่าใครมี “ความสำคัญ” เนื่องจากลักษณะงานของเจ้าหน้าที่ข่าวกรองต้องเผชิญความท้าทายในการทำงานจากที่บ้าน (work from home)

แม้ภาพยนตร์ฮอลลีวูดแสดงให้เห็นว่า บุคคลากรข่าวกรองส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและข่าวสารที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Compartmented Information Facility-SCIF) จากบ้านพักอีกทั้งไม่ได้ปฏิบัติงานในที่สาธารณะ แต่เจ้าหน้าที่ต้องรักษาสิทธิการเข้าถึงสำนักงานเพื่อทำงานกับข้อมูลที่เป็นความลับ

หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯหลายแห่งประสบปัญหาการตอบสนองงานไม่ทันเวลา เนื่องจากพนักงานประจำไม่ได้รับสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารละเอียดอ่อนหรือมีความปลอดภัยได้ นอกจากนี้ยังมีความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณและการทำโครงการต่าง ๆ รวมถึงการฝึกงานสำคัญซึ่งช่วยกำหนดเส้นทางอาชีพ (career path) ของบุคลากร (TDY) ที่จำเป็นสำหรับการติดต่อประสานงาน (liaison operations)

ปัญหาด้านข่าวกรองและความมั่นคงอีกประการหนึ่งที่เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 คือ การลดลงของประสิทธิภาพซอฟต์แวร์จดจำใบหน้าและระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เมืองใหญ่หลายแห่ง ประเด็นดังกล่าวเกิดจากการออกแบบและประยุกต์ใช้ในแง่ความเป็นส่วนตัวและอคติทางเชื้อชาติ การสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดอัตราการแพร่เชื้อในปัจจุบันกำลังสร้างความสับสนอย่างมากให้กับระบบเหล่านี้

ในอนาคตหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและข่าวกรองจะพึ่งพาเทคโนโลยีชีวมิติมากขึ้น จึงมีความเสี่ยงจากการกรองข้อมูลคุณภาพต่ำหรือถูกดัดแปลง ขณะที่อาชญากรและผู้ก่อการร้ายอาจคิดหาวิธีใหม่ ๆ ในการหลบเลี่ยงการตรวจจับของเทคโนโลยี หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและข่าวกรองในประเทศก็ใช้ระบบเหล่านี้ในการสืบสวนติดตามความเคลื่อนไหวและเชื่อมโยงของเป้าหมายที่อาจเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือการจารกรรม

การปรับปรับตัวของหน่วยข่าวกรองให้เข้ากับความเป็นจริงในช่วงการแพร่ระบาด อาจจะเป็นเรื่องเฉพาะกิจในช่วงเวลาสั้น ๆ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อาจเป็นไปอย่างถาวร ซึ่งจะเปลี่ยนพื้นฐานการดำเนินงานขององค์กร ตั้งแต่ข้อกำหนดในการรวบรวมข่าวสารตามความต้องdkiจนถึงการปฏิบัติงานปกติประจำของบุคคลากร



[1] HOW HAS COVID-19 IMPACTED INTELLIGENCE COLLECTION AND ANALYSIS? INTELBRIEF Thursday, December 17, 2020 Available at: https://mailchi.mp/thesoufancenter/how-has-covid-19-impacted-intelligence-collection-and-analysis?e=c4a0dc064a

[2] เมื่อ 13 ธันวาคม 2563 มีรายงานว่าหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งในสหรัฐฯถูกเจาะระบบโดยกลุ่มผู้โจมตีที่ได้รับการสนับสนุนระดับประเทศ (state-sponsored attack) ผ่านซอฟต์แวร์ SolarWinds ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการและตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ในเครือข่าย ในเบื้องต้น SolarWinds แถลงว่ามีการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตผ่านซอฟต์แวร์ที่เผยแพร่ในช่วงมีนาคมถึงมิถุนายน 2563 ซึ่งถูกดัดแปลงเพื่อฝังโค้ดอันตราย (supply chain attack) โดยซอฟต์แวร์ที่ได้รับผลกระทบคือ SolarWinds Orion Platform เวอร์ชัน 2019.4 HF 5, 2020.2 และ 2020.2 HF 1 สืบค้นที่ https://www.thaicert.or.th/newsbite/2020-12-14-01.html

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.