ภูมิทัศน์ใหม่ของการต่อต้านการก่อการร้ายในปี 2021

 

TERRORISM REMAINS A MAJOR THREAT ที่มาภาพ: https://unitar.org/sustainable-development-goals/peace/our-portfolio/counter-terrorism

นปี 2021 ประชาคมระหว่างประเทศจะมีโอกาสสำคัญในการประเมินและกำหนดหรือปรับรูปแบบการต่อการก่อการร้าย มีไม่กี่ประเทศที่สนับสนุนให้สหประชาชาติ (UN) เป็นศูนย์กลางของการต่อต้านการก่อการร้าย แต่หลายประเทศได้บ่งชี้ถึงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่นำเสนอโดยตัวแสดงพหุภาคี ปลายปีนี้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) จะเจรจาตกลงให้อำนาจใหม่แก่สำนักผู้บริหารด้านการต่อต้านการก่อการร้ายแห่งสหประชาชาติ (Counter Terrorism Executive Directorate – CTED) ซึ่งรับมอบหมายให้ระบุช่องว่างของขีดความสามารถและแนวโน้มใหม่รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญอื่น ๆ ทางเลือกของสหรัฐฯในการจัดการกับความท้าทายด้านนโยบายต่างประเทศจะกำหนดภูมิทัศน์ใหม่ของการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ[1]

          หลังเหตุการณ์โจมตีก่อการร้ายเมื่อ 11 กันยายน 2001 สหรัฐฯเป็นแกนสำคัญในการวางกรอบการต่อต้านการก่อการร้าย (CT) ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ในวาระใกล้จะครบรอบ 20 ปีของการโจมตีดังกล่าว มีสองวิธีที่เป็นไปได้ที่สหรัฐฯจะมีส่วนร่วมกับ UN โดยการต่ออายุและเพิ่มการสนับสนุนทางการเมืองและการเงินให้แก่หน่วยงานต่อต้านการก่อการร้ายของ UN และหรือสร้างความร่วมมือเชิงรุกมากขึ้นกับฝรั่งเศสและอังกฤษ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างจีนและรัสเซีย ซึ่งมีบทบาทมากขึ้นในการต่อต้านการก่อการร้ายแบบพหุภาคี

          รัฐบาล Biden-Harris ของสหรัฐฯ ซึ่งได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในมกราคม 2020 จะต้องเผชิญความ       ท้าทายสำคัญหลายประการในด้านนโยบายต่างประเทศ ท่ามกลางหายนะของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) จึงมีความเป็นไปได้ที่ทรัพยากรในการต่อต้านการก่อการร้ายจะถูกนำไปให้ UN น้อยลง

          ปัจจุบันมีไม่กี่ประเทศที่สนับสนุนให้ UN เป็นศูนย์กลางของการต่อต้านการก่อการร้าย แต่หลายประเทศได้พิสูจน์ให้เห็นความสำคัญบางอย่างของความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่นำเสนอโดย UN และตัวแสดงพหุภาคีอื่น ๆ ประการแรก เป็นเวที (platform) สำหรับความร่วมมือด้านกฎหมายและดำเนินงานระหว่างประเทศ ประการที่สองอาจเป็นสื่อนำความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการรวบรวมทรัพยากรระหว่างผู้บริจาค ประการที่สาม อำนาจในการประชุมที่เหนือกว่าและสามารถรวบรวมผู้เชี่ยวชาญ รัฐบาลและนักวิจัย เพื่อแบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี

ยิ่งไปกว่านั้น ในหลายพื้นที่เป็นเรื่องความชอบธรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับธงสีฟ้าของ UN รวมทั้งความสามารถในการรวมตัวกันของรัฐ แม้จะมีปัญหาความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีหรือระดับภูมิภาคที่ยากจะจัดให้มีการการสนทนาและการเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศ สุดท้าย เครือข่ายสำนักงานภาคสนามและความใกล้ชิดกับประชาคมและพันธมิตรที่จำเป็นในการสร้างความเชื่อถือและยั่งยืนมากขึ้น

เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการเจรจาตกลงที่สำคัญสองเรื่อง ในปี 2021 ซึ่งเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ พิจารณาทบทวนบทบาทการต่อต้านการก่อการร้ายของ UN รวมถึงการสร้างระบบสนับสนุนด้านระเบียบกฎหมาย

การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ในช่วงฤดูร้อนนี้จะมีการเจรจาทบทวนยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อการร้ายระดับโลก (ทุก ๆ 2 ปี) แม้ข้อมติที่ประชุมดังกล่าวไม่มีผลผูกพัน แต่กระทบการดำเนินงานหลายประการ ยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการป้องกันช่วยให้หน่วยงานของสหประชาชาติดำเนินโครงการที่มีส่วนช่วยในการ CT และการป้องกันได้กว้างขวางมากขึ้นรวมทั้งมอบอำนาจและแนวทางให้กับสำนักงานต่อต้านการก่อการร้ายของ UN ซึ่งเป็นศูนย์กลางของความช่วยเหลือทางเทคนิค CT และความสัมพันธ์กับหน่วยงานของ UNSC[2]

ช่วงปลายปีนี้สมาชิก UNSC จะเจรจาตกลงให้อำนาจใหม่แก่สำนักผู้บริหารด้านการต่อต้านการก่อการร้ายแห่งสหประชาชาติ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีทางกฎหมายของคณะมนตรีความมั่นคงและระบุช่องว่างด้านขีดความสามารถและแนวโน้มที่เกิดขึ้นใหม่ ด้วยเหตุนี้ปี 2021 ไม่เพียงเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ ประเมินเนื้อหานโยบาย CT ของ UN เท่านั้น แต่ยังจะพิจารณาโครงสร้างระเบียบกฎหมายว่ามีความเหมาะสมกับความมุ่งหมาย (purpose) หรือไม่

รายงานและข้อเสนอแนะหลายฉบับถูกส่งไปยัง UN โดยเน้นความโปร่งใสมากขึ้น ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและความหมายของเพศสภาพ ขณะที่มีความเห็นพ้องเกี่ยวกับความจำเป็นของ CT แต่มีความแตกแยกในกลุ่ม P5 (สหรัฐฯ รัสเซีย จีน อังกฤษและฝรั่งเศส) ในประเด็นซีเรียและอิหร่านรวมทั้งพลวัตทางภูมิศาสตร์การเมือง นอกจากนี้ สมาชิก UNSC ชุดใหม่ คือ อินเดียและเคนยามีมุมมองที่ชัดเจนของตนเกี่ยวกับ CT เช่นเดียวกับหลายประเทศในสมัชชา อาทิ อียิปต์ ปากีสถาน สมาชิก EU และภาคี “Five eyes[3]

นอกเหนือจากสหประชาชาติ ยังมีเวทีการประชุมด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (Global Counter-Terrorism Forum GCTF) ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์ของฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งจะสร้างโอกาสใหม่ให้กับแคนาดาและโมร็อกโกในฐานะประธานร่วม หาก UN หงุดหงิดกับเวทีนี้ สหรัฐฯก็อาจเพิ่มการมีส่วนร่วมสนับสนุน GCTF และสถาบันที่เกี่ยวข้อง

เวทีดังกล่าวทำให้สหรัฐฯมั่นใจได้ว่า ทรัพยากรของตนจะถูกกนำไปจัดการกับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น กลุ่มหัวรุนแรงขวาจัด การก่อการร้ายที่มีแรงจูงใจทางเชื้อชาติและชาติพันธุ์ การฟื้นฟูและบูรณาการผู้ถูกคุมขังกับสมาชิกในครอบครัวควบคู่กับลำดัความสำคัญในปัจจุบัน นอกจากนั้นควรให้ความสนใจการแพร่ขยายของภัยออนไลน์ที่เกิดขึ้นจากการกักตัวเป็นเวลาหลายเดือน เนื่องจากผู้คนใช้เวลาออนไลน์มากขึ้นและการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน (disinformation)

องค์กรระหว่างประเทศมักจะดำเนินงานในพื้นที่เฉพาะของตน แต่ไม่มีฉนวนป้องกันพลวัตทางภูมิศาสตร์การเมืองและการเปลี่ยนแปลงผู้นำของสหรัฐฯ ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมากรอบโครงสร้าง UN เป็นจุดสำคัญในการต่อต้านแนวทาง “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” ที่มากเกินไป (access of the war on terror approach) โดยเน้นมาตรการป้องกัน สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรมและการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

ทางเลือกของสหรัฐฯในการจัดการความท้าทายด้านนโยบายต่างประเทศเช่น อิหร่าน อัฟกานิสถาน เกาหลีเหนือและโซมาเลียรวมทั้งความสัมพันธ์ที่ยุ่งยาก (แต่สำคัญ) กับจีนและรัสเซียจะเป็นตัวกำหนดแนวทางการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศในปี 2021



[1] NEW YEAR, NEW INTERNATIONAL COUNTERTERRORISM LANDSCAPE INTELBRIEF January 4, 2021 Available at: https://mailchi.mp/thesoufancenter/new-year-new-international-counterterrorism-landscape?e=c4a0dc064a

[2] เช่น คณะกรรมาธิการการต่อต้านการก่อการร้าย (UN Counter Terrorism Committee – CTC) และ สำนักผู้บริหารด้านการต่อต้านการก่อการร้ายแห่งสหประชาชาติ (Counter Terrorism Executive Directorate – CTED)

[3] หน่วยข่าวกรองพันธมิตรของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก หรือ Five Eyes ประกอบด้วย สหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์และแคนาดา ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและปฏิบัติงานบางอย่างด้วยกัน เช่น การสร้างโปรแกรม ECHELON เพื่อดักข้อมูลที่ส่งผ่านการส่งอีเมลและดาวน์โหลดไปยังคอมพิวเตอร์ สืบค้นที่ https://thainetizen.org/2014/03/nsa-talk/

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.