บทเรียนการแจกจ่ายวัคซีน COVID-19 ของสหรัฐฯและการระบุปัญหา (ตอนที่ 1)
มาตรการแก้ไขปัญหาเชื้อโรคแพร่ระบาด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 แก่ประชาชนของสหรัฐฯ
เผยให้เห็นข้อบกพร่องของระบบการดูแลสุขภาพหลายประการ อาทิ การให้คุณค่านวัตกรรมผลิตภัณฑ์มากกว่ากระบวนการนวัตกรรม
การใช้แรงงานอย่างไร้ประสิทธิภาพ ขาดการวางแผนรับมือความเสี่ยงที่รู้ว่ายังไม่รู้
(know unknown) และไม่สามารถดูแลอุปทานให้สอดคล้องกับอุปสงค์
อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดยังให้บทเรียนสำคัญในการเอาชนะปัญหาเหล่านี้ด้วย[1]
การแจกจ่ายวัคซีนป้องกัน COVID-19 แก่ประชาชนครั้งแรกของสหรัฐฯเป็นเครื่องแสดงถึงปัญหาหลายประการเกี่ยวกับระบบการดูแลสุขภาพ
(health care system) แม้สหรัฐฯมีความได้เปรียบอย่างมาก เนื่องจากบุคคลากรสาธารณสุขได้รับการฝึกอบรมอย่างดี
มีการวิจัยและพัฒนาที่ยอดเยี่ยมซึ่งนำไปสู่การรักษาทางการแพทย์แบบใหม่ แต่ระบบการดูแลสุขภาพกลับไม่สามารถส่งมอบความเป็นเลิศให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ
สม่ำเสมอและคุ้มค่า
การต่อสู้ดิ้นรนฉีดวัคซีนแก่ประชากรสหรัฐฯในปัจจุบัน เป็นอุทาหรณ์แสดงให้เห็นความท้าทายใหญ่กว่าที่ระบบสาธารณสุขของประเทศกำลังเผชิญอยู่
โดยมีข้อบกพร่องสำคัญคือ
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) อยู่เหนือกระบวนการนวัตกรรม
(Process Innovation)
การรักษาแบบใหม่เปลี่ยนชีวิตในระบบการดูแลสุขภาพอย่างแท้จริงและสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือ
กระบวนการนวัตกรรมที่เปลี่ยนการดูแลสุขภาพอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง
กระบวนการนวัตกรรม (การเปลี่ยนแปลงในระดับของกระบวนการหรือวิธีการผลิตสินค้าและบริการให้มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม)
เป็นการเพิ่มขึ้นโดยเนื้อแท้ เมื่อมีการปฏิบัติเป็นระยะเวลายาวนานจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน
หากปราศจากสิ่งนี้ความผิดพลาดของระบบจะขยายตัว การประสานงานล้มเหลวและหยุดนิ่ง
ตัวอย่างสำคัญคือ ความไม่เต็มใจในการพัฒนาระบบและปรับใช้รายการตรวจสอบ (checklist) ในสถานการณ์ที่ทราบว่ามีผล Atul Gawande ตั้งข้อสังเกตถึงความท้าทายในการขยายกระบวนการนวัตกรรมผ่านรายการตรวจสอบซึ่งเป็นขั้นตอนทั่วไปเช่น
การใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง (CENTRAL LINE) ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพลดการติดเชื้อได้ร้อยละ
100 แม้การปรับปรุงระบบสาธารณสุขได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง แต่กระบวนการนวัตกรรมที่ขาดความมุ่งมั่นทำให้การดำเนินการล้มเหลวและคุณภาพต่ำลง
การใช้แรงงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ผู้ให้บริการสุขภาพที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีและได้รับค่าตอบแทนสูงมีความสำคัญต่อระบบการดูแลสุขภาพ
ไม่ใช่งานทุกชนิดที่ต้องฝึกอบรมและมีใบอนุญาตระดับสูงสุด น่าเสียดายที่มีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและวิชาชีพ
บุคคลากรที่มีความน่าเชื่อถือถูกบังคับให้ทำงานหลายอย่างที่ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญทำให้ขาดแคลนผู้ให้บริการแนวหน้า
ตั้งแต่แพทย์ พยาบาลไปจนถึงนักสังคมสงเคราะห์
ปรากฏสิ่งบ่งชี้หลายอย่างในระหว่างการแพร่ระบาด
อาทิ การขาดแพทย์ฝ่ายรักษา (clinician) ซึ่งจะฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในหลายพื้นที่ของประเทศ
ขาดบุคลากรที่ให้บริการทดสอบทางสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเช่น
การเข้าถึงการขนส่ง อาหารและที่อยู่อาศัย
ขาดการวางแผนการรับมือความเสี่ยงที่ยังไม่รู้ (Known Unknowns) ความพยายามพัฒนาวัคซีนเป็นพระเอกอย่างแท้จริง
ผู้คนจำนวนมากรวมตัวกันเพื่อสร้าง ทดสอบและผลิตวัคซีนหลายชนิดในเวลาที่ต้องบันทึกไว้เป็นสถิติ
แม้จะใช้ความพยายามทั้งหมด สุดท้ายปัญหาการฉีดวัคซีนก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
ตัวอย่างเช่น คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าพวกเขาจะได้รับสิทธิ์การฉีดวัคซีนอย่างไร
เราไม่จำเป็นต้องรู้แน่ชัดว่า กลุ่มคนเฉพาะเจาะจงจะมาถึงพื้นที่บริการเมื่อใด
แต่เรารู้แน่ว่าคนเหล่านั้นจะมารับบริการในบางพื้นที่ แล้วทำไมไม่วางแผนตอนนี้หรือจะดีกว่าไหมถ้าเราวางแผนล่วงหน้าเมื่อสามเดือนก่อนหน้านั้น
เรื่องปกติในระบบการดูแลสุขภาพของสหรัฐฯคือความล้มเหลวของการจัดการโครงการ
ตัวอย่างเช่น การประสานงานดูแลผู้มีโรคประจำตัวหลายโรค ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการดูแลสุขภาพ
โดยทั่วไปผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องพบผู้เชี่ยวชาญหลายคนและหากไม่มีการวางแผนและประสานงานการรักษา
ต้นทุนจะเพิ่มสูงขึ้นและกระทบต่อคุณภาพบริการ การหาวิธีดูแลที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงยังคงเป็นความท้าทาย
แม้ผู้ให้บริการบางรายเปิดบริการที่น่าจะประสบผลสำเร็จ
การไม่สามารถส่งมอบความช่วยเหลือไปยังผู้รับบริการ การบริการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยแพทย์จะออกไปเยี่ยมผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน
(physician house called) เป็นเรื่องปกติเมื่อ 50 - 60
ปีก่อน ปัจจุบันผู้ป่วยจำเป็นต้องเดินทางไปยังผู้ให้บริการแม้เป็นการดูแลขั้นพื้นฐาน
ร้านขายยาได้หาวิธีตรวจเชื้อคออักเสบและฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในคลินิกและได้รับอนุญาตให้ฉีดวัคซีนป้องกัน
COVID-19 ในสถานพยาบาล แม้มีหลายขั้นตอน ผู้ป่วยจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสยังคงเผชิญความท้าทายในการรับบริการ
เนื่องจากข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการทางสังคม เช่น การคมนาคมขนส่งดังกล่าวข้างต้น
สหรัฐฯล้มเหลวในการใช้เทคโนโลยีปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ
การที่คนยากจนและผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตทำให้ไม่สามารถพูดคุยกับผู้ให้บริการด้วยเทคโนโลยีโทรเวชกรรม
(Telemedicine) แบบ real-time อุปสรรคอื่นรวมถึงบริษัทประกันบางรายไม่เต็มใจจ่ายเงินค่าตรวจสุขภาพทางไกล
และข้อจำกัดในกการออกใบอนุญาตของรัฐหรือข้อห้ามแพทย์ในรัฐหนึ่งปฏิบัติงานต่างรัฐ
แม้ข้อจำกัดเหล่านี้คลี่คลายลงในระหว่างการแพร่ระบาด
แต่เมื่อการแพร่ระบาดสิ้นสุดลงยังคงต้องรอดูว่าขอห้ามดังกล่าวจะกลับสู่สถานะเดิมหรือไม่
การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างไม่เต็มที่เห็นได้ในระบบบันทึกสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EHR) การใช้เทคโนโลยีอย่างกว้างขวางในทศวรรษที่ผ่านมา เป็นโอกาสในการรวบรวมและแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการและผู้ป่วยได้อย่างราบรื่น การแบ่งปันข้อมูลมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการและการประสานงานการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดการสูญเสีย เช่น ลดการสั่งการทดสอบซ้ำซ้อน (ยังมีต่อ)
[1] Lessons from
the U.S.’s Rocky Vaccine Rollout by Robert S. Huckman and Bradley Staats
Harvard Business Review January 28, 2021 Available at:
https://hbr.org/2021/01/lessons-from-the-u-s-s-rocky-vaccine-rollout
Leave a Comment