การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: หลักฐานยืนยันความจริงกับการคาดคะเน (ตอนที่ 5)

The foundation of the Wuhan Institute of Virology - China's first BSL-lab - boosted the country's international prestige

ที่มาภาพ: https://www.bbc.com/news/science-environment-52318539

WHO says it has no evidence to support 'speculative' Covid-19 lab theory Health body says any ‘aggressive investigation of wrongdoing’ regarding virus origins makes understanding it harder

The Guardian Helen Davidson Tue May 2020 04.16 BST

อนที่แล้วได้พูดถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างฝ่ายรวบรวมและฝ่ายวิเคราะห์ รวมทั้งการประมวล (รวบรวม) ข่าวกรองประเภททั่วไปและข่าวกรองเฉพาะเรื่อง วันนี้เราจะอภิปรายถึงการประมาณการวิเคราะห์ข่าวกรองกันต่อ[1]

การวิเคราะห์ที่มีหลักฐานว่าเป็นจริงกับการวิเคราะห์ที่คาดคะเนเอาเอง

การวิเคราะห์ข่าวกรองอาจแบ่งได้เป็น ส่วน 1) การวิเคราะห์ที่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นจริง (Substantiated Analysis) โดยการประมวลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ ตรวจสอบแล้วและทันสมัย (up-to-date) ซึ่งเป็นเรื่องที่หาได้ยาก และ 2) การวิเคราะห์ที่ใช้การคาดคะเนเอาเอง (Speculative Analysis) เนื่องจากข้อมูลที่เชื่อถือได้หาได้ยากหรือมีน้อย ซึ่งจะให้คำตอบที่ขึ้นกับการคาดคะเนโดยอาศัยความคุ้นเคยของการคิด โดยเป็นการสรุปสถานการณ์ของนักวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องที่มีหลักฐานน้อยหรือไม่มีหลักฐานที่จะตัดสินใจได้

หากไม่ประเมินความสำตัญของความพยายามรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่ำเกินไป คำตอบที่ดีที่สุดอาจอยู่ที่การรวบรวมข้อมูลเฉพาะเรื่องและวิเคราะห์โดยการคาดคะเนน้อยที่สุด ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างการรวบรวมและการวิเคราะห์ข่าวกรอง ประเภทแสดงให้เห็นตามภาพที่ 2

ในทางทฤษฎีความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความชัดเจนและเรียบง่ายอย่างมาก อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความซับซ้อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สูตรการแยกความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์แบบยืนยันด้วยหลักฐานและการคาดคะเนได้รับการเปลี่ยนแปลงและมีลักษณะแตกต่าง ตามเงื่อนไขแวดล้อมสถานการณ์และเรื่องเฉพาะกรณีที่แยกจากกัน

คุณภาพการวิเคราะห์แบบมีหลักฐานยืนยันกับการคาดคะเนและความสัมพันธ์ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยที่ไม่รู้ (unknown) และเข้าใจผิดมากที่สุดนอกประชาคมข่าวกรอง ผู้ที่ตัดสินใจบนพื้นฐานของประมาณการข่าวกรองจะต้องตระหนักว่า การวิเคราะห์ได้กระทำจากข่าวสารชนิดใด การประมาณการนั้นมีหลักฐานยืนยันว่าจริงและเชื่อถือได้หรือประมาณการส่วนใหญ่มาจากการคาดคะเน ซึ่งอาจมีข้อผิดพลาดได้มาก แต่ถ้ามีความเชี่ยวชาญมากก็อาจลดความผิดพลาดลงได้

          ในที่ประชุมประชาคมข่าวกรองแห่งหนึ่ง หลังจากที่ผู้เขียนได้บรรยายสรุปสถานการณ์ประมาณการข่าวกรองว่า “ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมาย กลุ่ม” ประธานในที่ประชุมกล่าวสวนทันทีว่า “ไม่ต้องรอหลักฐาน” หากท่านประธานนำเรื่องนี้ไปใช้ตัดสินใจก็ต้องตระหนักว่าการวิเคราะห์ของผู้เขียนเป็นเพียงการคาดคะเนโดยยังไม่มีหลักฐานยืนยัน (just theory not evidence)

          ตัวอย่างที่น่าสนใจในการวิเคราะห์สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโครนา

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยได้เชิญรองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี ธิติธัญญานนท์ นักไวรัสวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมอัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 “ระลอกใหม่” ที่เกิดขึ้นในไทย ประเด็นสายพันธุ์ใหม่และประสิทธิภาพ/การเริ่มใช้วัคซีนต้าน COVID-19 สาระสำคัญ คือ[2]  1) การแพร่ระบาดระลอกใหม่ในจังหวัดสมุทรสาคร (เมื่อกลางธันวาคม 2020) พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการของโรค 2) อัตราการติดเชื้อของการระบาดในขณะนี้อยู่ที่ 100-200 เคสต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่ยอมรับได้เพราะระบบการแพทย์ยังสามารถรองรับได้ และ 3) มาตรการอื่น ๆ ที่อาจออกมาจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมอัตราการติดเชื้อปัจจุบัน

          ดร.อรุณีไม่กังวลเรื่องไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในสหราชอาณาจักร (UK) เพราะเป็นการกลายพันธุ์ที่ไม่มีนัยสำคัญมากนัก วัคซีน COVID-19 ในปัจจุบันสามารถต้านเชื้อสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่การพัฒนาวัคซีนใหม่จะใช้เวลาสั้นลง เพราะไม่จำเป็นต้องผ่านการทดสอบทั้ง 3 เฟสเหมือนกับช่วงก่อน การผสมสูตรวัคซีนต่างกันอาจนำไปสู่ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคที่ดีขึ้น แต่การพัฒนารูปแบบนี้ก็ต้องผ่านการทดสอบก่อนเช่นกัน

          คาดว่าไทยจะได้รับวัคซีนขนาดใหญ่ล็อตแรกภายในไตรมาส 2/2564 โดยไทยได้ลงนามในข้อตกลงกับ AstraZeneca ในการจัดซื้อวัคซีนต้าน COVID-19 ซึ่งทาง AstraZeneca ได้มอบสิทธิให้ผู้ผลิตในไทย (บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด)[3] เมื่อเทียบกับวัคซีนของ Moderna and Pfizer พบว่าวัคซีนของ Oxford/AstraZeneca ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากประเทศหลัก ๆ หลายแห่ง แต่ก็คาดว่าจะได้รับอนุมัติในเร็ว ๆ นี้

          สำหรับการเปิดภาคการท่องเที่ยวรับชาวต่างชาติผ่าน “พาสปอร์ตสุขภาพ” จะขึ้นอยู่กับ 1) ระยะเวลาที่วัคซีนจะสามารถป้องกันโรคได้ ซี่งไม่ควรสั้นเกินไป กล่าวคือ ควรป้องกันโรคได้ 6 เดือนหรือมากกว่านั้น และ 2) บุคคลที่มีภูมิคุ้มกันต้องไม่สามารถแพร่เชื้อไวรัส COVID-19 ไปยังผู้อื่นได้

ปัจจุบันยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนต่อประเด็นเหล่านี้ แต่คาดว่าจะได้คำตอบภายในไตรมาส 1/2564 เพราะจะมีผู้คนจำนวนมากที่มีภูมิคุ้มกันแล้วในช่วงนั้น เทียบกับปัจจุบันที่ 3 ล้านรายในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งนี้ บล.กสิกรไทยมองว่า “พาสปอร์ตสุขภาพ” จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นใจและสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวขาเข้ากลับมาได้ คาดว่านักท่องเที่ยวขาออกจะสามารถเดินทางได้ผ่านการใช้พาสปอร์ตสุขภาพด้วยเช่นกัน


[1] Gazit, Shlomo “Estimates and Fortune-Telling in Intelligence Work” International Security Vol. 4, No. 4 (Spring, 1980), pp. 36-56 (article consists of 21 pages) URL: http://www.jstor.org/stable/2626667

[2] KS Strategy ความคาดหวังจากวัคซีน บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย KASIKORNTHAI Equity Analysis 29 December 2020

[3] ดูรายละเอียดข้อมูลบริษัทที่ http://medicaldevices.oie.go.th/Company.aspx?cid=3055

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.