การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลคืบหน้าถึงไหนแล้ว ตอนที่ 1

 

ที่มาภาพ:https://www.dreamstime.com/digital-transformation-digitalization-technology-concept-image173452054

ห้วงระยะเวลา 4 - ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารองค์กรธุรกิจเอกชนและภาครัฐ (ราชการ) ต่างก็พูดถึงวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) แต่น่าแปลกใจที่องค์กรส่วนใหญ่ยังคงมองการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลแบบแคบเกินไป การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่โตอะไรโดยอาจแบ่งออกเป็น ประเภทคือ การปรับเปลี่ยนกระบวนการ ตัวแบบ ขอบเขตของธุรกิจและวัฒนธรรมองค์กร เรามักจะเห็นองค์กรต่าง ๆ มุ่งเน้นเฉพาะกระบวนการหรือการเปลี่ยนแปลงองค์กรเท่านั้น ทำให้วิสัยทัศน์ของผู้นำเป็นได้แค่ความฝัน

สำหรับมิติต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลหมายถึง การทำงานเป็นทีม ซึ่งไม่เพียงเกี่ยวข้องกับหัวหน้าฝ่ายสารสนเทศ (CIO) หรือหัวหน้าฝ่ายดิจิทัล (CDO) แต่ยังรวมถึงผู้นำด้านกลยุทธ์และหน่วยธุรกิจซึ่งควรได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัทจำนวนมากเข้าใจผิดว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลต้องเริ่มด้วยการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร อย่างไรก็ดี การทำให้องค์กรมีนวัตกรรม ความคล่องตัวและความเป็นดิจิทัลมากขึ้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่องค์กรที่ประสบความสำเร็จมักจะเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ[1] แล้วการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมีความคืบหน้าถึงไหน

          Tom Siebel ผู้ประกอบการใน Silicon Valley และผู้เขียนหนังสือเรื่อง Digital Transformation : Survive and Thrive in an Era of Mass Extinction  ได้สำรวจเจาะลึกเทคโนโลยีใหม่ที่จะทำลายล้างธุรกิจและรัฐบาลรวมทั้งถูกใช้ในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ความเป็นธุรกิจดิจิทัล การบรรจบกันของเทคโนโลยี อย่าง ได้แก่ การประมวลผลแบบกลุ่ม (cloud computingbig Data ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) กำลังเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานของธุรกิจและรัฐบาลในศตวรรษที่ 21 องค์กรชั้นนำต่าง ๆ เช่น Enel, 3M, Royal Dutch Shell, กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯและอื่น ๆ ได้นำ AI และ IoT มาปรับใช้และสร้างผลลัพธ์อันน่าทึ่ง[2]

          บริษัทต่าง ๆ มักคิดว่าการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลในทางใดทางหนึ่งก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลแล้ว ความคิดแบบนี้ทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงแบบไม่ได้วางแผนและลงทุนด้านดิจิทัลโดยไม่มีประสิทธิภาพ บทความในวารสาร Harvard Business Review เมื่อ 21 กันยายน 2021 เขียนโดย Mohan Subramaniam นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ระดับที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เพิ่มมูลค่าที่ได้รับจากเทคโนโลยีดิจิทัล[3]

          ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเป็น “ตัวเปลี่ยนเกม” เศรษฐกิจยุคใหม่ ความท้าทายคือยังไม่มีองค์กรใดคิดหาวิธีดึงคุณค่าของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้อย่างเต็มที่ การพัฒนากลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ใช้ประโยชน์จากคุณค่านี้อย่างเต็มที่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หากไม่มีการประเมินอย่างครอบคลุมว่าเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถนำเสนออะไรได้บ้าง

บริษัทส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ หลายบริษัทจึงตัดสินใจทางธุรกิจโดยไม่ได้วางแผนมาก่อนด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้และจบลงด้วยการดิ้นรนเพื่อรักษาความเท่าเทียมทางการแข่งขัน แม้จะลงทุนไปอย่างมากก็ตาม

เครื่องชี้วัดคุณค่าที่เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถนำเสนอได้อย่างเต็มที่ ให้พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ ซึ่งแต่ละตัวอย่างเน้นข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่มีอยู่ในระดับต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

ระดับที่หนึ่ง: ประสิทธิภาพการดำเนินงาน Ford ผู้ผลิตรถยนต์ปรับใช้ระบบการมองเห็น (vision-based) อัตโนมัติในการตรวจสอบงานพ่นสีตัวถังรถยนต์ผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง (VRIoT และ AI การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้บริษัทสามารถตรวจจับรอยตำหนิและลดข้อบกพร่องในรถยนต์ ในกรณีนี้ “ข้อมูล” จะถูกสร้างขึ้นโดยเทคโนโลยีใหม่ใน (สินทรัพย์) ของโรงงานและ AI จะใช้ข้อมูลนี้ในการตรวจจับและป้องกันข้อบกพร่องในการผลิตแบบทันที (real time)

ระดับที่สอง: ประสิทธิภาพการดำเนินงานขั้นสูง Caterpillar ผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับงานก่อสร้างได้ติดตั้งเซ็นเซอร์ในผลิตภัณฑ์เครื่องมือก่อสร้าง เพื่อติดตามการใช้อุปกรณ์เครื่องจักรแต่ละตัวในสถานที่ก่อสร้าง โดยพบว่า ลูกค้าใช้รถเกลี่ยดินเพื่อปรับระดับหินกรวดเบาบ่อยครั้งมากกว่าการปรับระดับสิ่งสกปรกที่มีน้ำหนักมาก ด้วยการใช้ข้อมูลเชิงลึกนี้ บริษัทจึงนำเสนอรถเกลี่ยดินซึ่งออกแบบมาเพื่อปรับระดับกรวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในทำนองเดียวกันกับตัวอย่างก่อนหน้านี้ Caterpillar ได้ประโยชน์เพิ่มชึ้นจากประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยการปรับปรุงผลิตภาพจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ข้อมูลเซ็นเซอร์ของบริษัทได้มาจากการที่ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์ของตน ไม่ใช่จากสินทรัพย์การผลิตของโรงงาน ทั้งนี้ มิติทางด้านลูกค้าถือเป็นความท้าทายที่เพิ่มขึ้นมาและประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในระดับนี้ยังขยายไปไกลกว่าการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์

ระดับที่สาม: ข้อมูลการใช้บริการจากห่วงโซ่คุณค่า GE ผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานรายใหญ่ติดตามข้อมูลผลิตภัณ์จากเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งในเครื่องยนต์ไอพ่น โดยใช้ AI วิเคราะห์และให้คำแนะนำการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงแก่นักบินทันที จากนั้น GE จัดสรร “ค่างวด” ใหม่จากรายได้ “ตามผลลัพธ์” ที่มาจากการประหยัดต้นทุนของลูกค้า กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เงินที่ลูกค้าจ่ายให้ GE เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ลูกค้าประหยัดได้จากการใช้เชื้อเพลิง นอกเหนือจากการจ่ายค่าผลิตภัณฑ์

ความคิดริเริ่มนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจที่เริ่มจากการออกแบบ ผลิตและจำหน่ายมาเป็นการให้บริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลแก่ลูกค้าดิจิทัล GE เชื่อมต่อหน่วยงานวิจัย พัฒนา (ผลิตภัณฑ์) จำหน่ายและบริการหลังการขายด้วยระบบดิจิทัล เพื่อจะได้รับ วิเคราะห์ สร้าง แบ่งปันและตอบสนองข้อมูลเซ็นเซอร์และ IoT จากผลิตภัณฑ์ที่แยกจากกันนับพันรายการแบบเรียลไทม์ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสรายได้ใหม่ที่ไม่ใช่แค่เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

ระดับที่สี่: บริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล Peloton ใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งในผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ออกกำลังกายเพื่อสร้างชุมชนผู้ใช้และจับคู่ผู้ใช้แต่ละรายกับผู้ฝึกสอนที่เหมาะสม ผลิตภัณฑ์ของ Peloton สร้างข้อมูลการโต้ตอบกับผู้ใช้ ซึ่งบริษัทจะนำไปใช้อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนระหว่างลูกค้าดิจิทัลและหน่วยงานบุคคลที่สามนอกขอบเขตของห่วงโซ่คุณค่า อัลกอริธึม AI จะจับคู่ผู้ใช้เฉพาะกับผู้ฝึกสอนที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูลการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับผลิตภัณฑ์ แบบเดียวกับที่ Uber จับคู่ผู้โดยสารกับคนขับรถโดยใช้ข้อมูลจากแอป

เช่นเดียวกับตัวอย่างก่อนหน้านี้ Peloton กำลังสร้างรายได้ใหม่จากบริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล - ด้วยการขยายผลิตภัณฑ์ไปยังแพลตฟอร์มดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในระดับนี้เป็นความท้าทายอย่างยิ่งของบริษัทที่สืบทอดมาจากยุคอุตสาหกรรมรวมทั้งบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้วยห่วงโซ่มูลค่า (value-chain-driven) และมีประสบการณ์เพียงเล็กน้อยกับแพลตฟอร์มดิจิทัล (ยังมีต่อ)


[1] The 4 Types of Digital Transformation Published on June 20, 2019 Andrew Annacone https://www.linkedin.com/pulse/4-types-digital-transformation-andrew-annacone/

[2] Digital Transformation : Survive and Thrive in an Era of Mass Extinction  By Thomas M. Siebel Publisher Rosetta Books 09 Jul 2019 United States

[3] The 4 Tiers of Digital Transformation by Mohan Subramaniam HBR September 21, 2021 Available at: https://hbr.org/2021/09/the-4-tiers-of-digital-transformation?utm_medium=email&utm_source=newsletter_daily&utm_campaign=dailyalert_notactsubs&deliveryName=DM151590

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.