การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: วิเคราะห์การตัดสินใจตอบโต้และความคืบหน้า (ตอนที่ 8)

นายชนม์ทรรศน์ ฤทัยผ่อง หรือ “ซินแสเข่ง” ผู้อำนวยการสถาบันโหราศาสตร์พยากรณ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยกับทีมข่าวเนชั่นออนไลน์ ถึงกระแสข่าวเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ว่าจะเกิดขึ้นภายในปีนี้หรือไม่ โดยยืนยันว่ายังไม่เกิดขึ้นภายในปีนี้อย่างแน่นอน ส่วนการเลือกตั้งใหญ่คาดว่าจะไม่เกิดขึ้นเช่นกัน โดยจะไม่มีการยุบสภา แต่มีโอกาสเกิด “ปฏิวัติรัฐประหาร” มากกว่า โดยให้จับตาในช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม และสิงหาคม 2565 ส่วนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะไปอยู่ในตำแหน่งอื่นที่สูงขึ้น[1]

ารวิเคราะห์การตัดสินใจตอบโต้ สถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีการตัดสินใจมาก่อน – เกี่ยวพันกับการตัดสินใจที่ฝ่ายหนึ่งอาจจะกระทำการตอบโต้การตัดสินใจของอีกฝ่ายหนึ่งหรือกระทำการตอบโต้อีกฝ่ายที่อยู่ภายนอก สำหรับนักวิเคราะห์ข่าวกรอง ภารกิจนี้หนักเป็นสองเท่า กล่าวคือ ต้องรายงานความคืบหน้าของสถานการณ์เพื่อให้อีกฝ่ายตัดสินใจ อีกทั้งต้องพยายามคาดคะเนการตอบโต้ของฝ่ายตรงกันข้าม

          ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมของประธานาธิบดีกามาล อับเดล นัสเซอร์ ของอียิปต์ในวิกฤติพฤษภาคมปี 1967 ซึ่งนำไปสู่สงคราม วัน การวิเคราะห์สถานการณ์ นักวิเคราะห์ต้องประเมินการตัดสินใจตอบโต้ ช่วงเวลา คือ

ช่วงแรกสถานการณ์ภายนอกแบบไหนที่ทำให้อิยิปต์ตอบโต้ เหตุบานปลายบริเวณชายแดนซีเรีย – อิสราเอล หลังจากซีเรียมีแผนผันน้ำจากแม่น้ำจอร์แดน ซึ่งเป็นเหตุสร้างความชอบธรรมให้กับการตอบโต้ของอียิปต์

ช่วงต่อมาควรวิเคราะห์มาตรการที่ฝ่ายต่าง ๆ จะใช้ตอบโต้ กล่าวคือ ปฏิกิริยาของสหภาพโซเวียตต่อสถานการณ์ที่ซีเรียและปฏิกริยาของอียิปต์ที่เพิ่มความตึงเครียดทางการทหารบริเวณชายแดนอิสราเอล-ซีเรีย (อิสราเอลมีประสบการณ์เกี่ยวกับการระดมกำลังทหารในแหลมไซนายของอิยิปต์)

การตัดสินใจช่วงก่อนเกิดสงคราม วัน ควรพิจารณาบทบาทการดำเนินงานและการตัดสินใจที่สำคัญของนักการเมือง คน ได้แก่ อู ถั่น (U Thant) เลขาธิการการสหประชาติซึ่งยอมรับคำขอของอียิปต์ที่ให้ถอนกองกำลังสหประชาชาติออกจากแหลมไซนายและประธานาธิบดีนัสเซอร์ของอียิปต์ยั่วยุอิสราเอลด้วยการเข้ายึดเมืองชาม เอล-เชค (Sharm el-Sheikh) ซึ่งปิดกั้นมิให้อิสราเอลเข้าถึงท่าเรืออิลาต (Eilat)

สถานการณ์ซับซ้อนอันเป็นผลจากการะทำและปฏิกริยาเริ่มขึ้นในช่วงกลางพฤษภาคม 1967 และยุติลงใน มิถุนายน 1967 โดยกองทัพอากาศอิสราเอลโจมตีฐานทัพอากาศอียิปต์ แสดงให้เห็นความเหมาะเจาะของความยุ่งยากที่เกี่ยวพันกับผลลัพธ์ของห่วงโซ่เหตุการณ์ พัฒนาการของเหตุการณ์ตลอดทั้งกระบวนการสอดคล้องกับความเป็นไปได้หลายอย่างรวมทั้งผลลัพธ์ที่เหตุใดการเล่าเรื่องอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในปี 2010 จึงไม่ซับซ้อนอีกต่อไปไม่สามารถคาดการได้

เป็นที่น่าสังเกตว่าในทางปฏิบัติไม่มีข้อมูลข่าวสารอะไรที่จะช่วยคาดทำนาย แม้มีแหล่งข่าวกรองที่เข้าถึงและสามารถสอบถามผู้มีอำนาจตัดสินใจของอีกฝ่ายหนึ่งเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการตอบโต้ คำตอบของฝ่ายหนึ่งต้องพิจารณาแบบมีข้อสงวน เนื่องจากความแตกต่างของสมมติฐาน สถานการณ์และการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการตอบโต้

          ขณะที่การรวบรวมข่าวกรองเฉพาะเรื่องมีคุณค่าสูงสุด การรับรู้ปฏิกิริยาทันทีจึงมีความสำคัญทั้งการตัดสินใจทางการทหารหรือการเมือง สถานการณ์ที่มีปัญหาวิกฤติแตกต่างจากปฏิบัติการเปิดเผยการตัดสินใจลับ การวิเคราะห์ข่าวกรองส่วนใหญ่เป็นการคาดคะเนและไม่มีหลักฐานยืนยันข้อมูลที่เชื่อถือได้ การวิเคราะห์อาจถูกต้อง หากข้อมูลทั่วไปน่าเชื่อถือและเป็นไปได้ กรณีนี้การวิเคราะห์ข่าวกรองประกอบด้วยการแจงนับปฏิกริยาที่เป็นไปได้จากทุกฝ่าย

          การวิเคราะห์ผลจากความคืบหน้าของสถานการณ์ เป็นสถานการณ์ที่ไม่มีการตัดสินใจมาก่อน ยิ่งกว่านั้นการประมวลข่าวกรองจะช่วยได้บ้างเพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวพันกับกำลังและบุคคลต่าง ๆ ภารกิจคือ การพยายามคาดการณ์ว่าฝ่ายใดจะเหนือกว่าอีกฝ่ายและแต่ละขั้นตอนจะใช้เวลาอย่างไร การคาดการณ์เช่นนี้มีอุปสรรคอย่างมาก เริ่มต้นจากการพิจารณาว่ากระบวนการได้เริ่มแล้วหรือไม่ ตัวอย่างเช่น สงครามกลางเมืองในเลบานอนและการปฏิวัติในอิหร่าน เนื่องจากกระบวนการเกิดขึ้นแล้วจึงควรพิจารณาดูว่ามีตัวแปรอันใดที่ไม่ได้คาดหมายซึ่งอาจสอดแทรกทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไป

          เริ่มจากการค้นหาความจริงว่ากระบวนการปฏิวัติเริ่มต้นเมื่อใด ตัวอย่างสงครามกลางเมืองในเลบานอนและการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ทั้งสองกรณีจำเป็นต้องอาศัย “หมอดู” ในการพยากรณ์ทำนายสถานการณ์วิกฤติในท้องถิ่นซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็ว ใครจะคาดเดาได้ว่า สงครามกลางเมืองในเลบานอนจะปะทุขึ้นในเมษายน 1975 อะไรเป็นข้อบ่งชี้ว่าการปะทะกันในห้วงดังกล่าวเป็น “ของจริง” ทั้งนี้ เหตุการณ์ในอดีตบ่งชี้ว่าประชาชนเลบานอนสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติโดยเอาชนะความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนาได้สำเร็จ

          ส่วนอิหร่านก็ไม่มีข้อยกเว้น กษัตริย์ชาห์แห่งอิหร่านทรงทราบถึงความพยายามลอบปลงพระชนม์รวมทั้ง การก่อจลาจลและการชุมนุมประท้วงหลายครั้ง แล้วใครจะไม่คิดว่าเหตุการณ์เหล่านั้นคงจะผ่านเลยไป

          ความวุ่นวาย “ยุ่งเหยิง” มักถูกชี้ขาดโดย “ความบังเอิญ” อาจเป็นความโชคดีหรืออาจเป็นความผิดพลาดเฉยเมยของฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เห็นได้ชัดว่าองค์ประกอบเหล่านี้ไม่มีใครรู้ล่วงหน้า เมื่อเหตุการณ์เริ่มขึ้นอาจมีใครคิดว่าตัวแปรที่ไม่คาดคิดอาจสอดแทรกเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ กระบวนการที่มีความไม่แน่นอนจะถูกตัดสินโดยปัจจัยหลายอย่าง

          ข้อมติฝ่ายเดียวชี้ขาดการตัดสินใจและนำไปสู่จุดจบที่รุนแรง เมื่อไม่มีการตกลงใจวิกฤติจะเบาลง แต่อาจปรากฎขึ้นภายหลัง ทั้งนี้ ความเข้มแข็งขององค์กรนำการชุมนุม ท่าทีทางการเมือง ความพยายามโฆษณาชวนเชื่อและสมดุลทางการทหารของทั้งสองฝ่ายมีความสำคัญในการชี้ขาดผลลัพธ์ของการต่อสู้ หน่วยที่ได้รับมอบหมายมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน่วยที่มีศักยภาพเป็นไปได้ มีหลายกรณีที่ฝ่ายหนึ่งใช้กองกำลังเพียงส่วนน้อย

กรณีอิหร่านแสดงให้เห็นภาพชัดเจนว่า กษัตริย์ชาห์ทรงลังเลที่จะปรับเปลี่ยนสมดุลกองทัพทุกเหล่าทัพรวมทั้งหน่วยที่จงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ หลักการเดียวกันนี้ใช้ได้ผลในสงครามเวียดนาม โดยสหรัฐฯใช้วิธีจำกัดกำลังทหาร บทเรียนจากสถานการณ์ดังกล่าวสอนให้รู้ว่านักวิเคราะห์ข่าวกรองต้องไม่พยากรณ์จุดจบของกระบวนการ ภารกิจหลักคือการเผยทางเลือกและข้อบ่งชี้ถึงจุดเปลี่ยนที่ช่วยชี้ขาดผลลัพธ์ต่าง ๆ

ข่าวกรองที่ถือว่าประสบความสำเร็จคือ สามารถแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ข่าว (clients) ทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการของกระบวนการซึ่งทำให้มีการไกล่เกลี่ยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลประโยชน์ สถานทูตอิสราเอลในกรุงเตหะรานเป็นหนึ่งในบรรดาผู้แจ้งเตือนรายแรก ๆ เกี่ยวกับวิกฤติการณ์ในอิหร่าน แม้ประมาณการแค่เพียงความไม่สงบและการชุมนุมประท้วงกษัตริย์ชาห์นอกเหนือจากการก่อความวุ่นวายที่มีอยู่ประปราย

ประมาณการข่าวกรองระบุว่า ยังไม่รู้ว่ากษัตริย์ชาห์ทรงตระหนักถึงภัยคุกคามต่อราชบัลลังก์และตอบโต้ทันท่วงทีหรือโอกาสเอาชนะภัยคุกคามมีหรือไม่ และแจ้งเตือนว่าหากพระองค์ไม่ได้กระทำการทันเวลาด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพหรือตัดสินใจผิดพลาด ความระส่ำระสายที่เกิดขึ้นอาจขยายตัวและนำไปสู่การโค่นล้มราชวงศ์ปาห์เลวี (Pahlevi Dynasty) หากอิสราเอลมีโอกาสให้ข้อเสนอแนะแก่พระองค์ในเวลาอันควร ก็จะไม่แสร้งทำนายผลลัพธ์หรือจุดจบของเหตุการณ์



[1] “ซินแสเข่ง” ชี้ชัดคาดเกิด “ปฏิวัติรัฐประหาร” ภายในปีนี้ Nation Online 1 กุมภาพันธ์ 2565 เข้าถึงได้ที่: https://www.nationtv.tv/news/378862415

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.