3 ป.ในความสัมพันธ์กับรัฐบาล “คนรุ่นใหม่”

Agile, Adaptable, and Aligned Supply Chain: Enhancing Competitive Advantages March 2017 Authors: Dr. Pankaj M. Madhani Management Consultant

การแต่งตั้งใด ๆ นอกเหนือจากข้อกำหนดตามกฎหมายจะถูกมองว่าเป็นการดูหมิ่นหน่วยงานและบุคลากรด้านการข่าวกรอง ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชนให้สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและสังคม (speak truth to power)

วามก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารและเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงก่อให้เกิดข้อมูลข่าวสารที่มีความหลากหลาย ปริมาณมาก คลุมเครือและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Big Data) ยังเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) ในกระบวนการทำงานวิเคราะห์ของหน่วยข่าวกรอง

ความมุ่งหมายของการข่าวกรอง คือ การแสวงหาข้อเท็จจริง (fact) และรายงานอย่างซื่อตรงแก่ผู้กำหนดนโยบายภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด ในอดีตผู้กำหนดนโยบายอาจมีเวลามากพอในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ แต่ในยุคดิจิทัลเวลาในการตัดสินใจมีน้อยลง บางครั้งอาจต้องตัดสินใจทันที (real time) ที่เกิดเหตุการณ์

การดำเนินงานข่าวกรองในปัจจุบันจึงควรคำนึงถึงความรวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้อง ตรงประเด็นและให้ข้อคิด/มุมมองความเป็นไปได้ในแบบต่าง ๆ แก่ผู้ใช้ข่าวกรองหรือผู้กำหนดนโยบาย (รัฐบาล) ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งมีแนวโน้มน่าจะเป็น “คนรุ่นใหม๋” (ถ้าไม่โดนเตะสกัด ขัดขวางด้วยวิชามาร)

          บทความนี้มีจุดมุ่งหมายนำเสนอแนวทางการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยข่าวกรอง (ระบบราชการ) กับผู้ใช้ข่าวซึ่งคาดว่าจะเป็น “คนรุ่นใหม่” ที่มีภูมิหลังจากภาคธุรกิจ (วิเคราะห์ด้วยเทคนิค Future Scenario Analysis/FSA) โดยหน่วยงานข่าวกรองจะต้องใช้เทคนิคชั้นสูงเพื่อที่จะล่วงรู้ (elicit) ถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ข่าวและประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กร

แทนที่จะตั้งคำถามเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของผู้ใช้ข่าว (What are your intelligence priority?) หน่วยงานข่าวกรองควรจะถามถึงความมุ่งหมาย (purpose) ของผู้ใช้ข่าวและความต้องการของสาธารณะ (What do you want to accomplish?) การสนับสนุนข่าวกรองแก่ผู้ใช้ข่าวกลายเป็นการสร้างความสัมพันธ์มากกว่าการทำงานตามปกติ

          หน่วยข่าวกรองควรเริ่มจากการขยายบทเรียนความสำเร็จที่ผ่านมา ในการสนับสนุนรายงานข่าวกรองให้แก่ผู้ใช้ข่าว (การบรรยายสรุปประจำสัปดาห์แก่นายกรัฐมนตรี) ซึ่งจะต้องให้การสนับสนุนข่าวกรองแก่ผู้ใช้ข่าวหลายระดับ (ไม่ได้รายงานเฉพาะผู้บริหารระดับสูง) รวมทั้งติดตามความคืบหน้าและรายงานให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

หน่วยข่าวกรองอาจจะต้องสร้างช่องทางการเข้าถึงโดยแต่งตั้ง “หัวหน้าฝ่ายประสานงาน” เพื่อสนับสนุนผู้ใช้ข่าวเป็นการเฉพาะและทำความคุ้นเคยกับผู้ใช้ข่าวรายใหม่ ผลผลิตรายงานข่าวกรองมีความคล้ายคลึงกับบริการทางธุรกิจ ที่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ข่าว (customized services) โดยให้ความสำคัญเรื่องการใช้ประโยชน์สูงสุดมากกว่าการกระจายข่าวกรอง

ภายใต้แนวคิดการวิเคราะห์ผลกระทบ หน่วยข่าวกรองจะมีความผูกพันกับผู้ใช้ข่าวกรองโดยตั้งคำถามประเภทเกิดอะไรขึ้นถ้า (What If?) นอกเหนือจากข้อสรุปว่าอะไร (What?) การดำเนินงานในรูปแบบดังกล่าว นักวิเคราะห์สามารถถ่วงดุลข้อมูลที่แตกต่างกันได้และใช้เครื่องมือวิเคราะห์ ตลอดจนบริการบนเครือข่ายที่มุ่งเน้นภารกิจ

          หลังเลือกตั้งองค์การข่าวกรองต้องเผชิญความคาดหวังจากสาธารณะมากขึ้น รายงานข่าวกรองส่วนใหญ่มักมีชั้นความลับ เพื่อให้มั่นใจว่ารายงานข่าวกรองดังกล่าว สามารถสร้างความได้เปรียบในการตัดสินใจของหน่วยงานในรัฐบาล องค์กรข่าวกรองต้องปรับตัวเตรียมรับความต้องการทราบผลการวิเคราะห์สังคมซึ่งกำลังขยายตัวมากขึ้น

แม้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ใช้ข่าวกรองและความคาดหวัง แต่องค์กรข่าวกรองยังคงต้องรายงานข่าวกรองที่ถูกต้อง ตรงประเด็นและทันเวลา เพื่อสร้างความได้เปรียบในการตัดสินใจของผู้ใช้ข่าวกรองและสนับสนุนวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงแห่งชาติต่อไป

          หลักการสำคัญที่จะทำให้องค์กรข่าวกรอง และเจ้าหน้าที่ข่าวกรองประสบความสำเร็จในการทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีพลวัตแบบใหม่ จะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กรแบบถอนรากถอนโคน (fundamental change) และออกแบบองค์การใหม่โดยใช้กลยุทธ์ 3 ป. ได้แก่

          รับตัว (adaptability) หมายถึง ความสามารถขององค์กรในการหยั่งรู้ และตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา หน่วยข่าวกรองต้องสำรวจสภาพแวดล้อมภายนอก พิสูจน์ทราบภัยคุกคามและโอกาส ทำความเข้าใจช่องว่างระหว่างขีดความสามารถและสิ่งท้าทาย ทดลองนำความคิดใหม่ ๆ มาใช้โดยเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม หัวใจสำคัญของการปรับตัวคือ ความคล่องตัวในการประสานงาน และเปิดกว้างที่จะรับความคิดใหม่ ๆ ภายนอกองค์กร

          รับศูนย์ (alignment) หมายถึง การสร้างดุลยภาพและความเหมาะสมของการผูกพันระหว่างยุทธศาสตร์ ระบบบริหาร กระบวนการดำเนินงานและการสื่อสารภายในองค์กร การปรับศูนย์เป็นกลไกควบคุมทิศทางในการบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์หรือวัตถุประสงค์ขององค์กร สิ่งท้าทายสำหรับการปรับศูนย์องค์กร คือ การทำให้ความพยายามทั้งมวลขององค์การเป็นเอกภาพโดยไม่ตกอยู่ในอำนาจการครอบงำใด ๆ

          ราดเปรียว (agility) หมายถึง ความสามารถขององค์กรในการปรับโครงสร้างและกระบวนการทำงานได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ความพยายามและทรัพยากรน้อยที่สุด องค์กรที่มีความปราดเปรียวสามารถฉกฉวยโอกาสและระบุถึงความเสี่ยงรวมทั้งสามารถตอบสนองสภาวการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ องค์กรที่ปราดเปรียวจะมีความยืดหยุ่น สามารถแยกส่วน ใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน นิยมชมชอบการเปลี่ยนแปลงและอดทนต่อความเสี่ยง

          อุปสรรคสำคัญซึ่งเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งการดำเนินการตามวิสัยทัศน์และตัวแบบงานข่าวกรองแบบใหม่ คือ “วัฒนธรรม” ภายในองค์กรข่าวกรอง ซึ่งมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกในองค์กรเห็นว่าเป็นเรื่องไม่จำเป็น มีความเสี่ยงมากและเป็นความคิดแบบคลั่งไคล้

การเปลี่ยนแปลงมากเกินไปไม่ทำให้เห็นความแตกต่าง วิธีการแบบใหม่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ การต่อต้านจะนำไปสู่การกระทบกระทั่ง เนื่องจากระบบราชการที่ขาดประสิทธิภาพจะทำลายความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลง องค์กรส่วนใหญ่มักคิดว่าตนเองก็มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

          การเปลี่ยนแปลงองค์กรข่าวกรองแบบกะทันหัน ต้องใช้งบประมาณที่มีเสถียรภาพและเป็นเหตุเป็นผล งบประมาณจำนวนน้อยจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้มีหน้าที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มด้วยการปรับกระบวนการจัดการภายในทุกระดับ ชี้แนะแนวทางตามแผนที่ยุทธศาสตร์ (strategic roadmap) ขององค์กร มีการสื่อสารและประสานงานกันอย่างเหมาะสม

การปฏิรูปหน่วยข่าวกรองในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแนวปฏิบัติอย่างยั่งยืน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง (ผู้บริหาร) ในองค์กรต้องเผชิญแรงกดดันในการแก้ไขปัญหาความท้าทายประจำวันมากกว่าการแก้ไขปัญหาระยะยาว

          การเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้เป็นความจริงต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เริ่มจากจากการสื่อสารตลอดทั่วทั้งองค์กรและจำเป็นต้องใช้ภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง มอบหมายภารกิจ สร้างพลังการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนกำลังพล ผู้นำองค์กรข่าวกรองต้องสร้างความสมดุลของยุทธศาสตร์ข่าวกรองแห่งชาติ

เสริมสร้างขีดความสามารถ พัฒนาแผนปฏิบัติงานประจำปี มอบหมายความรับผิดชอบให้บรรลุวิสัยทัศน์ ที่สำคัญผู้นำระดับสูงจะต้องมุ่งสร้างวัฒนธรรมที่ยอมรับความเสี่ยงในการทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริง ภารกิจการปฏิรูปองค์กรข่าวกรองให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงภายนอกองค์กรตลอดจนปกป้องรักษาความมั่นคงแห่งชาติถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งซึ่งบางครั้งอาจประสบภาวะชะงักงันหรือถดถอย

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.