ปัญหา “ข่าวปลอม” กับการเลือกตั้งอินเดีย

ที่มาภาพ: https://eci.gov.in/uploads/img/link-ceo-map.png

ารเลือกตั้งทั่วไปของอินเดีย ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 11 เมษายน 2019 – 19 พฤษภาคม 2019 และจะประกาศผลใน 23 พฤษภาคม 2019 นับเป็นการเลือกตั้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก       (วัดจากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเกือบ 900 ล้านคน) โดยผู้มีสิทธิออกเสียงจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โลกสภา) จำนวนไม่เกิน 550 คน มีวาระคราวละ ปี เว้นแต่จะมีการยุบสภา[1] แม้มีหลายปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนการเลือกตั้งดังกล่าวดำเนินไปด้วยดี แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในบางแง่มุมกลับได้รับผลกระทบจากการจงใจเผยแพร่ข่าวปลอม (Fake News)[2] หรือข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิด (Misinformation) รวมทั้งภาพถ่ายและวิดิโอที่ออกแบบมา เพื่อสร้างความรู้สึกชาตินิยมและคลั่งศาสนาอย่างรุนแรง
อินเดียกำลังประสบปัญหาที่แท้จริงของ “ข่าวปลอม” ซึ่งแพร่กระจายสู่ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หลายร้อยล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมรับ – ส่งข้อความ “WhatsApp” ที่ Facebook เป็นเจ้าของซึ่งพยายามต่อต้านและจำกัดการรณรงค์หาเสียงด้วยข้อมูลผิดๆ (การแพร่ข่าวปลอมได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆจากบางประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ ทั้งนี้ รัฐอำนาจนิยมบางแห่งใช้วิธีการเข้มงวดในการจำกัดการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของประชาชนในประเทศ โดยส่วนใหญ่เพื่อยับยั้งการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้เห็นต่าง) Facebook ยอมรับความท้าทายดังกล่าวและระบุว่า เป็นการยากที่จะติดธงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการตรวจสอบข้อเท็จจริงก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากขาดการพยายามควบคุมข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เกิดจากผู้ใช้จำนวน 340 ล้านคน[3]
การติดตามตรวจสอบเนื้อหาใน “WhatsApp” กระทำได้ยาก แม้แต่ Facebook เอง ซึ่งเป็นเจ้าของ เนื่องจากจุดขายของแอพนี้คือการเข้ารหัสข้อความแบบ end-to-end และให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน การยอมอ่อนข้อให้กับความเป็นส่วนตัวจะทำให้แอพนี้ไร้ประโยชน์ ในฐานะที่เป็นบริษัทเอกชน Facebook และบริษัทอื่นๆที่ให้บริการแบบเดียวกันพยายามรักษาสิทธิในการกำหนดเงื่อนไขการใช้งาน การตัดทอน หรือกำจัดพฤติกรรมและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ดี รัฐบาลของประเทศต่างๆสามารถออกแรงกดดันให้บริษัทเหล่านี้ลบเนื้อหารุนแรงสุดโต่ง แม้มีรอยต่อของจุดบรรจบกันระหว่างการเมือง กฎหมาย เทคโนโลยีและความเป็นส่วนตัว
ก่อนหน้าการเลือกตั้งในอินเดีย “WhatsApp” ได้เพิ่มคุณสมบัติพิเศษ ประการ ในแอพพลิเคชั่นของตน คือ 1) บริการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าว (fact-checking news service) โดยผู้ใช้งาน “WhatsApp” สามารถตรวจสอบข้อความที่ได้รับว่า “จริง” “เท็จ” “ทำให้เข้าใจผิด” หรือ “ขัดแย้ง” โดยส่งต่อข้อความไปยังทีมตรวจสอบของบริษัทสตาร์ทอัพ “Proto” ของอินเดีย ซึ่งร่วมมือกับ “WhatsApp” จะช่วยประเมินตรวจสอบ รูปแบบของข่าวสารที่ขอตรวจสอบอาจเป็นข้อความน่าสงสัย ลิงก์หรือภาพถ่ายที่ผู้ใช้งานได้รับและสงสัยว่าเป็นจริงหรือเท็จ 2) ผู้ใช้งาน “WhatsApp” จะไม่ถูกเพิ่มชื่อเข้าในกลุ่มต่างๆโดยปริยาย หากไม่มีชื่อในรายการที่อยู่ (address book) ของกันและกัน[4] คุณสมบัติการเชิญผู้ใช้งาน “WhatsApp” ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ทั่วโลกต่อไป
อินเดียเป็นตลาดใหญ่ของ “WhatsApp” มีผู้ใช้งานมากกว่า 200 ล้านคน การจัดตั้งกลุ่มใน “WhatsApp” สามารถมีสมาชิกได้มากถึง 256 คน จึงทำให้ได้รับความนิยมอย่างมาก การสนทนาในกลุ่มมักเป็นเรื่องการวางแผนแลกเปลี่ยนเรื่องขำขัน ติดตามข่าวสารการเมืองและแบ่งปันวิดิโออย่างกว้างขวาง  รายงานการวิจัยของ BBC เมื่อ  ปี 2018 ระบุว่า กระแสชาตินิยมในอินเดียทำให้มีการแชร์ “ข่าวปลอม” เพิ่มขึ้น โดยผู้เข้าร่วมกลุ่มสนทนาใน “WhatsApp” มีแนวโน้มเชื่อถือข่าวสาร/ข้อความที่ได้รับจากสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน และส่งต่อข้อความโดยไม่ได้ตรวจสอบแต่อย่างใด[5]
ในโลกแห่งความเป็นจริงมีตัวอย่างมากมายเกี่ยวกับ “ข่าวปลอม” ซึ่งนำไปสู่ผลที่ตามมา สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทสำคัญในการก่อกวนและสร้างความรุนแรงในศรีลังกา เมียนมาร์ การชี้นิ้วไปที่บริษัทอย่าง Facebook และเตือนให้บริษัทเหล่านั้นดำเนินมาตรการต่างๆเพิ่มขึ้น มักประสบความล้มเหลวในพื้นที่กว้างใหญ่ของนโยบายสาธารณะ ความก้าวหน้าในการต่อต้านผลกระทบรุนแรงของข่าวสารผิดๆในการหาเสียงเลือกตั้ง และการตัดสินใจระดับสูงทางนโยบาย คงจะไม่เกิดขึ้นโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของรัฐบาลและบริษัทข้ามชาติ รวมทั้งองค์การภาคประชาสังคม แม้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะมีชื่อเสียงในทางไม่ค่อยจะดีนัก แต่สามารถสร้างผลกระทบขนาดใหญ่หากปัญหาเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
รัฐบาลอังกฤษโดยสำนักงานดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อและการกีฬา (Department for Digital, Culture, Media and Sport - DCMS) เสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานอิสระเพื่อการเฝ้าระวัง มีหน้าที่ให้คำแนะนำในการดำเนินงานแก่บริษัทประกอบการด้านเทคโนโลยีสื่อสาร ขณะที่รัฐบาลบางแห่งใช้มาตรการเชิงรุกบังคับให้ “WhatsApp” เปิดเผยประตูหลังของการเข้ารหัส เพื่อจะได้เข้าถึงเนื้อหาของข่าวสารที่มีการแชร์ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดช่องโหว่ด้านการรักษาความปลอดภัย ขณะเดียวกัน ได้ก่อให้เกิดความวิตกแพร่ขยายไปทั่วโลกเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว และการใช้มาตรการที่เลยเถิดของรัฐบาล



[1] โปรดดู ข้อมูลประเทศอินเดีย เว็บไซต์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี http://newdelhi.thaiembassy.org/th/useful-knowledge-th/ข้อมูลประเทศอินเดีย/การเมืองการปกครอง/
[2] 'Fake News' ถูกบรรจุเป็น 'คำแห่งปี 2017 เรียบเรียงโดย สลิสา ยุกตะนันท์  (Nov 2, 2017) Last update Nov 2, 2017 21:20 https://www.voicetv.co.th/read/536572
[3] REAL PROBLEMS WITH ‘FAKE NEWS’ The Soufan Center (Wednesday, April 10, 2019) https://mailchi.mp/thesoufancenter/real-problems-with-fake-news?e=c4a0dc064a
[4] Election campaigns via WhatsApp – yea or nay? By Birgit Bucher  (Posted April 4, 2019)  In Messenger News https://www.messengerpeople.com/election-campaigns-via-whatsapp/
[5] WhatsApp: The 'black hole' of fake news in India's election By Kevin Ponniah BBC News, Delhi (6 April 2019https://www.bbc.com/news/world-asia-india-47797151
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.