บทเรียนจาก Langley: การบริหารปฏิบัติการไล่ล่าบินลาเดน (ตอนที่ 3) การท้าทายสมมติฐานเดิม

The Navy SEALS breached his security with ease (Image: GETTY)
ที่มาภาพ: https://www.express.co.uk/news/world/1121266/osama-bin-laden-escape-plot-revealed-cia-flee-pakistan-september-11-911-spt

น้าที่ของนักวิเคราะห์ข่าวกรองของ CIA[1] คือ การรวบรวมหลักฐานทุกชนิดและใช้ความเชี่ยวชาญวิเคราะห์ข้อมูลตามหัวข้อข่าวสารที่ได้รับเพื่อตอบคำถามของผู้กำหนดนโยบาย นักวิเคราะห์พัฒนาสมมติฐานการทำงานโดยอาศัยการดักรับข่าวสาร ปฏิบัติการข่าวกรองโดยใช้สายลับ ภาพถ่าย วิดีโอและสารสนเทศอื่นๆ ทั้งนี้ ข้อสมมติฐานเป็นแรงขับเคลื่อนในการรวบรวมข่าวสาร
          คำถามสำหรับการไล่ล่าบินลาเดนคือ เขาหลบซ่อนตัวอย่างไร ที่ไหน มีการรักษาความปลอดภัยอย่างไร สมมติฐานเดิมคาดว่า เขาหลบซ่อนอยู่ในกลุ่มชนเผ่าทางตะวันตกของปากีสถาน บางทีอาจอยู่ในถ้ำหรือในชนบทแยกจากครอบครัว โดยมีกำลังรักษาความปลอดภัยรายล้อมรอบตัว นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวว่าสุขภาพของบินลาเดนทรุดโทรมถึงขนาดต้องใช้เครื่องฟอกไตติดตัว
          สำหรับข้อสมมติฐานใหม่บ่งชี้ว่าบินลาเดนพักอาศัยอยู่ในบ้านพักชานเมืองพร้อมภรรยาและเด็กๆ รวมทั้งพี่น้องคนนำสาร โดยบ้านดังกล่าวติดตั้งเคเบิลทีวี เป็นไปได้หรือไม่ว่าสมมติฐานนี้ถูกต้องและสมมติฐานเดิมผิดพลาด หากเราเชื่อว่าบินลาเดนพักอาศัยอยู่ในบ้านพักบริเวณชานเมือง เราต้องสลัดทิ้งสมมติฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการที่เขาหลบซ่อน กล่าวคือ
                   - เราคาดว่าบินลาเดนคงไม่อาศัยอยู่กับครอบครัวเพราะเด็กๆต้องออกจากบ้านไปโรงเรียนซึ่งทำให้ไม่ปลอดภัย
                      -  เราคาดว่าบินลาเดนคงไม่อาศัยอยู่ใกล้ค่ายทหารซึ่งเฮลิคอปเตอร์บินเหนือหัวทั้งวัน
                      - เราคาดว่าบินลาเดนคงติดตั้งกับระเบิดหลายชั้นรอบที่พัก จัดเวรยามระวังป้องกันและอาจขุดอุโมงค์เพื่อหลบหนีหรือมีแผนหลบหนีอย่างประณีต
          หากเบาะแสชี้นำเรื่อง Abbottabad ถูกต้องและสมติฐานเดิมผิดพลาด และเราจะเสนอแนะประธานาธิบดีสหรัฐฯว่าบินลาเดนเสี่ยงชีวิตอยู่ท่ามกลางกองกำลังของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ในเบื้องแรกเราต้องยอมรับว่าข้อสมมติฐานของเราผิดพลาดมานานเกือบทศวรรษ จุดแข็งของทีมไล่ล่าบินลาเดนคือ ความตั้งใจท้าทายสมมติฐานเดิมและยอมรับว่าองค์กร (Agency) เคยเข้าใจผิด พวกเขาพร้อมอุทิศทรัพยากรทั้งหมดเพื่อข้อสมมติฐานใหม่ (new theory) จนถึงที่สุด และสร้างภาพจำลองแผนหลบซ่อนของบินลาเดนอยู่ในที่มองเห็นได้ง่าย (hide in plain sight) ซึ่งมีความชัดเจนกว่าที่เราเคยคาดเดา (ยังมีต่อ)



[1] สรุปบทความเรื่อง The Former Head of the CIA on Managing the Hunt for Bin Laden เขียนโดย Leon E. Panetta อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency-CIA) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ ผู้เขียนหนังสือ “Worthy Fights: A Memoir of Leadership in War and Peace” (Penguin Press, 2014) และ Jeremy Bash หัวหน้าฝ่ายอำนวยการของผู้อำนวยการ CIA และรัฐมนตรีกลาโหม ตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Business Review (MAY 02, 2016) https://hbr.org/2016/05/leadership-lessons-from-the-bin-laden-manhunt
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.