บทเรียนจาก Langley: การบริหารปฏิบัติการไล่ล่าบินลาเดน (ตอนที่ 4) รู้ว่าเมื่อใดควรไว้ใจมืออาชีพ

ที่มาภาพ: https://www.shutterstock.com/video/clip-10229369-security-camera-near-tree-branches

นึ่งในงานยากที่สุดของผู้บริหารคือ การเลือกตัดสินใจตามสัญชาติญาณของตัวเองหรือจะไว้วางใจข้อพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ตลอดระยะเวลาการไล่ล่าบินลาเดน ทั้งสอง (Leon E. Panetta และ Jeremy Bash)[1]ยอมรับว่ามีหลายครั้งที่ต้องปฏิบัติตามความเห็นของ “มืออาชีพ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคนิค
          หลังจากเฝ้าสังเกตการณ์บริเวณบ้านพัก Abbottabad เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ความอดทนของทั้งสองเริ่มหมดลงเรื่อยๆและต้อการภาพถ่ายชัดเจนของ บุคคลเพศชาย” ที่อาศัยอยู่ในบ้านดังกล่าว ทั้งสองไม่เชื่อเหตุผลของ Garry และทีมงานซึ่งระบุว่าการติดตั้งกล้องใกล้บ้านพักเป้าหมายมีความเสี่ยงอย่างมาก และมักจะตอบโต้เสมอว่า “หัวหน้า (BOSS) ครับ เราคิดถึงเรื่องนั้นตลอด แต่เราไม่สามารถทำได้”
          “บุคคลเพศชาย” ในบ้านดังกล่าวมักจะเดินเป็นวงกลมบริเวณลานบ้านทุกวันในเวลาเดียวกัน ทั้งสองตั้งชื่อบุคคลผู้นี้ว่า “The Pacer” และมีความคิดจะติดตั้งกล้องถ่ายภาพบนกิ่งต้นไม้เหนือกำแพงสูง 12 ฟุตของบ้านดังกล่าว โดยวางแผนส่งทีมช่างเทคนิคไปติดตั้งกล้องในช่วงกลางคืน เพื่อบันทึกภาพ “The Pacer” ระหว่างออกกำลังกายและหาทางกู้คืนภาพถ่ายด้วยวิธีใดก็ตามโดยไม่ถูกจับได้ แม้ทั้งสองตระหนักว่าวิธีนี้มีความเสี่ยง แต่จะพิสูจน์ทราบได้อย่างไรว่า “The Pacer” คือ บินลาเดนหรือเป็นใคร
          เจ้าหน้าที่ “มืออาชีพ”ของ CIA เห็นว่าแนวคิดของทั้งสองไม่ค่อยจะดีนัก เนื่องจากเพิ่งเข้ามารับหน้าที่ได้เพียงหนึ่งปี ความกระตือรือร้นของทั้งสองยังขาดทักษะการจารกรรม (spycraft) ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกคนคงเคยเห็นเทคโนโลยีดังกล่าวในภาพยนตร์หลายเรื่อง แต่นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่สร้างจากนิยายของ Tom Clancy[2] เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ในทีมงานของ Garry ใช้เวลาหลายปีสั่งสมประสบการณ์ทำงานใน CIA และประจำการในต่างประเทศเพื่อจัดการสายลับภายใต้เงื่อนไขที่เคร่งครัด พวกเขาบอกปัดข้อเสนอของทั้งสองด้วยความสุภาพและระมัดระวังเกี่ยวกับอายุการใช้งานของแบตเตอรีกล้องถ่ายภาพ ตลอดจนห้วงระยะเวลาผลัดใบของต้นไม้ ซึ่งทั้งสองเห็นว่าพลังสร้างสรรค์ของพวกเขายังไม่เพียงพอ
          ในช่วงบ่ายวันหนึ่งระหว่างการปรับปรุงข้อมูลข่าวกรองให้ทันสมัย ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าต้นไม้ที่บ้านพักดังกล่าวถูกตัดและกองสุมอยู่นอกกำแพง ชัดเจนว่าพี่น้องสองคนที่อาศัยอยู่ในบ้านคงเห็นว่ากิ่งไม้ที่พาดเหนือกำแพงก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัย ซึ่ง “มืออาชีพ” ของ CIA ก็มองเห็นอยู่เหมือนกัน หากทั้งสองตัดสินใจดำเนินภารกิจติดตั้งกล้องบนกิ่งไม้ กล้องจะหล่นลงสู่พื้นดินและคงไม่มีโอกาสกู้คืนภาพถ่าย หากกล้องถูกตรวจพบ บินลาเดนคงหลบหนีไปจากบ้านหลังนั้น เบาะแสที่ดีที่สุดนับจากการค้นหาที่ Tora Bora ก็จะหายไป
          ที่แย่ไปกว่านั้น หากบินลาเดนหลบหนีไปได้ ทั้งสองคงรีบแจ้งทำเนียบขาวและสั่งการให้กองทัพสหรัฐฯส่งเครื่องบินไปยังปากีสถานเพื่อไล่ล่าและหากปฏิบัติการในคืนที่ต้นไม้ถูกตัด ทั้งสองคงจะส่งกองกำลังไปปฏิบัติการโดยไม่ได้ผ่านการฝึกฝนและเตรียมการรวมทั้งปราศจากเครื่องมือที่เหมาะสม ซึ่งไม่เพียงประสบความล้มเหลว แต่ยังจะทำให้เจ้าหน้าที่ในทีมบาดเจ็บหรือถูกสังหารได้ การวางแผนปฏิบัติการอย่างระมัดระวังรวมทั้งเกาะติดเส้นทางบินตามภูมิประเทศของเฮลิคอปเตอร์ การเลือกทีปฏิบัติการพิเศษ (SEAL)[3] และการวางแผนเข้าตรวจค้นทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นในภายหลังและต้องใช้ระยะเวลา
          การไว้ใจมืออาชีพในการปฏิบัติการเฉพาะหรือด้านเทคนิคไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดูเหมือนว่าพลังสร้างสรรค์ของพวกเขาเริ่มหมดลง แนวความคิดในการแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่ควรมาจากทีมงาน หากความคิดทั้งหมดเกิดจากผู้บริหารคนเดียว นั่นอาจจะมีบางสิ่งไม่ถูกต้อง เมื่อผู้บริหารมีความคิดซึ่งทีมงานไม่แสดงออกมา ความคิดของผู้บริหารสมควรได้รับการขัดเกลาอย่างทั่วถึงและไม่ควรมีความคิดใดถูกมองข้าม ความสำคัญอยู่ที่การสร้างบรรยากาศที่ “มืออาชีพ” สามารถพูดกับ “ผู้บริหาร” ว่า “ความคิดของท่านใช้ไม่ได้ เหตุผลคือ....” แล้วก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่าจะเชื่อใจ “มืออาชีพ” หรือไม่ (ยังมีต่อ)



[1] สรุปบทความเรื่อง The Former Head of the CIA on Managing the Hunt for Bin Laden เขียนโดย Leon E. Panetta อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency-CIA) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ ผู้เขียนหนังสือ “Worthy Fights: A Memoir of Leadership in War and Peace” (Penguin Press, 2014) และ Jeremy Bash หัวหน้าฝ่ายอำนวยการของผู้อำนวยการ CIA และรัฐมนตรีกลาโหม ตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Business Review (MAY 02, 2016) https://hbr.org/2016/05/leadership-lessons-from-the-bin-laden-manhunt
[2] ชื่อเต็มคือ  Thomas Leo Clancy Jr. (12 เมษายน 1947 - 1 ตุลาคม 2013) เป็นนักเขียนนวนิยายสงครามและการเมืองชาวอเมริกัน นวนิยาย 17 เรื่องของเขาติดอันดับหนังสือขายดี ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 100 ล้านเล่มในการจัดพิมพ์ ดูข้อมูลวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี https://th.wikipedia.org/wiki/ทอม_แคลนซี
[3] หน่วยซีล SEAL ของสหรัฐเรียกว่า The United States Navy’s Sea, Air and Land Teams, ย่อเป็น the SEAL หรือ the Navy SEALs, ก่อตั้งเมื่อ 1 มกราคม 1962 เป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพเรือสหรัฐฯและเป็นส่วนหนึ่งของคำสั่งในสงครามพิเศษของกองทัพเรือในบรรดาหน้าที่หลักของซีลคือการดำเนินการทางทหารทางทะเล  ซีลได้รับการฝึกฝนให้ทำงานในทุกสภาพแวดล้อม (ทะเลอากาศและแผ่นดิน) ดู https://ภาษาอังกฤษออนไลน์.com/หน่วยซีล-seal/
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.