ข้อมูลบิดเบือน (disinformation) กับการก่อการร้าย: รัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ

ที่มา:https://www.europarl.europa.eu/RegData/etudes/STUD/2019/624278/EPRS_STU(2019)624278_EN.pdf p.6

คำว่า “ข่าวปลอม” และแม้กระทั่ง “สื่อปลอม” ถูกใช้อย่างแพร่หลายเพื่อเรียกการรายงานข่าวที่ไม่เห็นด้วย ในแผนที่กูเกิลเทรนด์แสดงให้เห็นว่ามีการใช้คำนี้ในการค้นหาอย่างกว้างขวางในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2559[1] ในหน่วยการเรียนรู้นี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ว่าทำไมคำนี้จึง ก) ไม่เพียงพอสำหรับการอธิบายความรุนแรงของมลภาวะทางสารสนเทศ และ ข) ทำไมคำนี้จึงเป็นปัญหาจนควรหลีกเลี่ยงการใช้[2]

ารอภิปรายเกี่ยวกับข้อมูลบิดเบือน (disinformation)[3] หรือข้อมูลเท็จ (false information) ส่วนใหญ่มีจุดสนใจที่บทบาทของรัฐชาติ (nation-states) และพวกหัวรุนแรงที่ไม่ใช่รัฐชาติ (non-state) ซึ่งได้พัฒนาขีดความสามารถในการบิดเบือนข่าวสารโดยการอ้างเหตุผลประกอบ (เรื่องราว) อย่างผิด ๆด้วย ข้อมูลบิดเบือนมีหลายรูปแบบรวมทั้งการจัดแต่งภาพถ่ายและวิดิโอ การโจมตีทางวิศวกรรมดิจิตอล (digital engineering) และการปลอมแปลงข้อมูลเพื่อทำให้ความตึงเครียดทางสังคมเลวร้ายลง (Spoofing, Truthing, Social spoofing) ในปี 2017 กลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic State - IS) อ้างความรับผิดชอบกรณีกราดยิงที่ลาสเวกัส[4] แต่ FBI ปฏิเสธ ทั้งนี้ กลุ่มที่ไม่ใช่รัฐมักอาศัยข้อมูลบิดเบือนแพร่ขยายความหวาดกลัว ซึ่งมีผลกระทบทางจิตวิทยาอย่างมากต่อกลุ่มเป้าหมาย
          เมื่อพูดถึงการจงใจหลอกลวงด้วยการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน เรามักสนใจบทบาทของรัฐชาติ เช่น รัสเซียและจีน ขณะที่ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐชาติรวมทั้งกลุ่มก่อการร้ายก็ใช้ข้อมูลบิดเบือนเป็นเครื่องมือสร้างความหวาดกลัว ชักชวนสมาชิกใหม่เข้าร่วมกลุ่ม ทำให้บุคคลเปลี่ยนแปลงทางรากฐาน (radicalizing) และสร้างความสับสน กวนใจเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสาธารณะเพื่อบ่อนทำลายทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ในปากีสถานผู้ก่อการร้ายเคยบิดเบือนข้อมูลเพื่อต่อต้านการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโปลิโอ นอกจากนี้ยังมีอันตรายเพิ่มขึ้นจากการที่ผู้ก่อการร้ายบิดเบือนข้อมูลซึ่งอาจมีรหัสคอมพิวเตอร์ประสงค์ร้าย (malicious code) โดยตั้งใจให้เกิดการติดต่อ (infect) ใน hard drives และเครือข่ายของเป้าหมายซึ่งเข้าถึงวัสดุข้อมูลออนไลน์
  โครงการวิจัยของสถาบันอาชญากรรมและความมั่นคง (Crime and Security Institute) มหาวิทยาลัย Cardiff ของอังกฤษได้ศึกษาทำความเข้าใจรูปแบบปฏิกิริยาทางสังคมต่อเหตุการณ์ก่อการร้ายและการเผยแพร่ข้อมูลของสื่อสังคม (social media platform) ทั้งในแง่กระจกสะท้อนและการขับเคลื่อนคำนิยามของสถานการณ์ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical data) ที่รบรวมได้จากติดตามเฝ้าสังเกตสื่อสังคมออนไลน์หลังการโจมตีสี่ครั้งในอังกฤษในปี 2017 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบิดเบือนข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลแบบผิด ๆ (misinformation) ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเข้าใจเหตุการณ์ของประชาชน
          ผลการศึกษาเบื้องต้นของงานวิจัยดังกล่าวพบว่า มีการใช้เทคนิคการเขียนและขยายการสื่อสารที่บิดเบือน คือ 1) การปลอมแปลงข้อมูลตัวตน (บุคคล) สถานะทางสังคมหรืออัตลักษณ์ที่ไม่ใช่ของตน (spoofing) การปลอมแปลงข้อมูลเกี่ยวข้องกับการปลอมเนื้อหาด้วยกระบวนการบิดเบือน ปิดบัง/อำพรางและขยายความหรือผสมผสานทั้งสามอย่างเข้าด้วยกัน 2) การโน้มน้าวคนดู/ผู้ฟัง โดยอ้างข้อมูลที่ถูกตกแต่งว่าเป็นความจริงที่แท้จริง (Truthing) และ 3) การพิสูจน์ทางสังคม (Social Proofing) หรือการจัดการอคติของการรับรู้ของมนุษย์ในการติดตามฝูง (follow the herd) โดยผู้คนจะมองพฤติกรรมของคนอื่นรอบตัว เพื่อปรับให้เข้ากับวิถีการตอบสนองของตน สภาพแวดล้อมออนไลน์อ่อนไหวต่อการพิสูจน์ทางสังคม จึงเป็นเหตุผลที่ผู้มีชื่อเสียง (celebrity) บางคน “ซื้อ” ผู้ติดตามหลายพันคนบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้ดูเป็นที่นิยมมากขึ้นและดึงดูดแฟนคลับที่แท้จริง[5]
          กลุ่มที่เรียกว่ารัฐอิสลาม (Islamic State - IS) พึ่งพาอาศัยการตกแต่งภาพ (Photoshop)[6] อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อหว่านแพร่ความกลัวและความสับสน เช่น ภาพผู้ก่อการร้ายดูขัดแย้งกับฉากหลัง (ที่ถูกเปลี่ยน) เป็นเมืองใหญ่ของประเทศตะวันตก มีเจตนาจะบอกว่ามีบางสิ่งใกล้จะเกิดขึ้นหรือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ปฏิบัติการโจมตีแบบฉายเดี่ยว ที่ผ่านมา กลุ่ม IS เคยใช้ภาพอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพและหอไอเฟลในการโฆษณาชวนเชื่อ ในปี 2014 กลุ่ม IS ในลิเบียใช้สื่อสังคมขยายข้อมูลบิดเบือนว่าพวกตนได้ยึดครองเมืองท่า Derna[7] ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนได้ทั้งหมด ซึ่งที่จริง IS ยึดได้เพียงอาคารสำนักงานของรัฐบาลจำนวนหนึ่งเท่านั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุยโม้โอ้อวด แต่ข้อกล่าวอ้างของ IS ถูกนำไปเผยแพร่ซ้ำในสื่อกระแสหลักรวมทั้งสำนักข่าว CNN
          ในปี 2017 กลุ่ม IS อ้างความเกี่ยวข้องกับเหตุกราดยิงที่ลาสเวกัส ซึ่งเป็นเการสังหารหมู่รุนแรงที่สุดในแผ่นดินอเมริกัน แม้หน่วยสืบสวนคดีอาญาของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ (Federal Bureau of Investigation – FBI) ได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องของกลุ่ม IS กับเหตุดังกล่าว[8] แต่นักวิเคราะห์ยังคงถกเถียงกันว่าทำไมกลุ่ม IS ถึงสร้างการยืนยันแบบผิด ๆว่า Stephen Paddock ผู้ก่อเหตุเป็น “ทหารของรัฐคอลิฟะห์ (soldier of the caliphate)” โดยทั้งที่กลุ่มไม่รู้ว่ามีการจงใจอ้างความรับผิดชอบที่คลาดเคลื่อนจากความจริง[9] นักวิเคราะห์บางคนคาดเดาว่า IS คงต้องการรักษาชื่อเสียงในวงรอบข่าวสารในภาวะที่กำลังประสบความพ่ายแพ้ในพื้นที่ Levant[10] แต่เป็นเรื่องสมเหตุสมผลหากมองในมุมการบิดเบือนข้อมูล ซึ่งจะต้องทำให้ฝ่ายตรงข้ามสับสนและเปลี่ยนเส้นทางทรัพยากรที่มีค่ารวมทั้งกำลังคนไปใช้เพื่อจัดการภัยคุกคาม
กรณีกราดยิงที่ลาสเวกัส กลุ่ม IS ได้แพร่กระจายความหวาดกลัวและพยายามหาทางสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาอย่างรุนแรงต่อกลุ่มเป้าหมาย อันเป็นวัตถุประสงค์ที่ได้รับการยกระดับด้วยการใช้ขีดความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการบิดเบือนข้อมูล ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นของกลุ่มก่อการร้ายหรือกลุ่มกบฎต่อต้านรัฐบาล



[1] Google Trend Map of the term Fake News https://trends.google.com/trends/explore?date=today%205-y&q=fake%20news [accessed 06/04/2018].
[2] การเสนอข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน : คู่มือเพื่อการศึกษาและฝึกอบรมด้านวารสารศาสตร์ UNESCO Available at https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000372137
[3] คือ ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนและบุคคลที่เผยแพร่ก็รู้แก่ใจว่าไม่เป็นความจริงเป็นการเจตนาโกหกและมีเป้าหมายคือกลุ่มคนที่ถูกหลอกได้ง่ายโดยผู้ไม่ประสงค์ดี ดู การเสนอข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน : คู่มือเพื่อการศึกษาและฝึกอบรมด้านวารสารศาสตร์ UNESCO Available at https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000372137
[4] ลาสเวกัส: มือปืนบุกเดี่ยวสาดกระสุนใส่คอนเสิร์ตกลางแจ้ง ตายอย่างน้อย 58 เจ็บกว่า 500 BBC Thai 2 ตุลาคม 2017 https://www.bbc.com/thai/international-41464594
[5] SPOOFING, TRUTHING, AND SOCIAL PROOFING: DIGITAL INFLUENCING AFTER TERRORIST ATTACKS By Martin Innes, Helen Innes, and Diyana Dobreva VOXPOL June 13, 2019 https://www.voxpol.eu/spoofing-truthing-and-social-proofing-digital-influencing-after-terrorist-attacks/
[6] อะโดบี โฟโตชอป (Adobe Photoshop) มักเรียกสั้นๆ ว่า โฟโตชอป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีความสามารถในการจัดการแก้ไขและตกแต่งรูปภาพ (photo editing and retouching) แบบแรสเตอร์ ผลิตโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ ซึ่งผลิตโปรแกรมด้านการพิมพ์อีกหลายตัวที่ได้รับความนิยม เช่น Illustrator และ InDesign ปัจจุบันโปรแกรมโฟโตชอปได้พัฒนามาถึงรุ่น CC (Creative Cloud) https://th.wikipedia.org/wiki/อะโดบี_โฟโตชอป
[7] เมืองท่าในภาคตะวันออกของลิเบีย (อาหรับ: درنة Darnah) มีประชากร 100,000 - 150,000 เป็นที่ตั้งของหนึ่งในจังหวัดที่ร่ำรวยที่สุดในรัฐบาร์บารีและเมืองหลวงของเขตเดอร์นาซึ่งมีพื้นที่ขนาดเล็กกว่า https://en.wikipedia.org/wiki/Derna,_Libya
[8] More than a year after the Las Vegas mass shooting, no motive determined by FBI report
By KEN RITTER , Associated Press https://abc7chicago.com/las-vegas-mass-shooting-no-motive-determined-by-fbi/5111485/
[9] DISINFORMATION AND TERRORISM SOUFAN CENTER Tuesday, October 15, 2019 https://mailchi.mp/thesoufancenter/disinformation-and-terrorism?e=c4a0dc064a
[10] ลิแวนต์ (อังกฤษ: Levant; อาหรับ: بلاد الشام, Bilad ash-Shāmหรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อัชชาม (อาหรับ: الشام, ash-Shāmเดิมหมายถึงบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก แต่ในทางภูมิศาสตร์หมายถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ในเอเชียตะวันตกทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีเทือกเขาทอรัสเป็นเขตแดนทางตอนเหนือ ทะเลทรายอาหรับทางใต้และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก ขณะที่ทางตะวันออกเป็นเทือกเขาแซกรอส วิกิพีเดีย เข้าถึงได้ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/ลิแวนต์

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.