ความมั่นคงโลก (เสมือน) ในปี 2020: แนวโน้มความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ตอนที่ 1

ที่มา: https://www.forbes.com/sites/bernardmarr/2020/01/10/the-5-biggest-cybersecurity-trends-in-2020-everyone-should-know-about/#2873746b7ecc

วามมั่นคงทางไซเบอร์ (cybersecurity) มีบทบาทสำคัญในการปกป้องความเป็นส่วนตัว สิทธิ เสรีภาพและทุกสิ่งรวมทั้งความปลอดภัยทางกายภาพซึ่งจะมีความเด่นชัดในปี 2020 โครงสร้างพื้นฐานสำคัญจำนวนมากถูกนำขึ้นออนไลน์และมีความเปราะบางต่อการโจมตีทางดิจิตอล การละเมิดข้อมูล (ที่เกี่ยวข้องกับการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล) เกิดขึ้นบ่อยครั้งและจำนวนมาก ขณะที่มีความตระหนักถึงการแทรกแซงทางการเมืองและการประกาศโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความมั่นคงทางไซเบอร์มีความสำคัญและสร้างความกังวลต่อสาธารณะเป็นอย่างมาก
          ปัจจุบันเราใช้ความเชื่อถือศรัทธาทางเทคโนโลยีของเราเพื่อแก้ไขปัญหาที่เผชิญหน้า ทั้งในระดับโลกและระดับบุคคลจากสมาร์ทโฟนและผู้ช่วยส่วนตัวปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) รวมทั้งการท่องอวกาศ การรักษาโรคมะเร็งและจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การที่โลกมีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นได้สร้างโอกาสแก่คนร้ายในการใช้ความได้เปรียบเพื่อแสวงประโยชน์ หรือมีเป้าหมายทางการเมืองเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนวโน้มต่อไปนี้จะมีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคงทางไซเบอร์ในปีที่กำลังจะมาถึง[1]
บทบาทของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการโจมตีทางไซเบอร์และการป้องกัน
          AI เป็นการแข่งขันสะสมอาวุธแบบใหม่ ซึ่งไม่เหมือนกับการแข่งขันแบบเก่า ทุกคนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องโดยไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรซึ่งเดิมมีเฉพาะรัฐบาลเท่านั้น การวิจัยและพัฒนา AI ถูกใช้ระหว่างสงครามเพื่อทำลายโครงสร้างพื้นฐานฝ่ายพลเรือนและการป้องกันประเทศ โดยแก็งค์อาชญากรรมและองค์การก่อการร้ายสามารถปรับใช้อย่างง่ายดาย
AI ไม่เพียงถูกใช้ในการแข่งขันระหว่างประเทศ ปัจจุบันนักเจาะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (hackers) ผู้บุกรุกคอมพิวเตอร์ (crackers) นักหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต (phishers) พวกขโมยข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้กับภัยคุกคามก่อนที่จะเป็นอันตรายต่อเราก็ใช้ AI ในการแข่งขันด้วย AI สามารถ “เรียนรู้” ตรวจจับรูปแบบ เหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่เป็นการส่งสัญญาณการโจมตี และสามารถเรียนรู้ที่จะปลอมแปลงเพื่อหลอกล่อพฤติกรรมน่าสงสัยออกจากระบบป้องกันของคอมพิวเตอร์
พัฒนาการแบบคู่ขนานของขีดความสามารถในเชิงป้องกันและการโจมตี ทำให้ระบบ AI ทวีความซับซ้อน ที่สำคัญมีความแพร่หลายมากขึ้น อะไรก็ตามเช่น อีเมล์ขยะที่หลอกให้เราเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของบัตรเครดิต รวมทั้งการโจมตีแบบ denial-of-service ที่ทำให้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญใช้การไม่ได้จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งและซับซ้อนมากขึ้น ขณะที่เทคโนโลยีที่ช่วยให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อเช่น อัลกอริธึมการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning security algorithms) ระบบอัตโนมัติที่เปราะบางต่อความผิดพลาดของมนุษย์ และระบบพิสูจน์ตัวตนทางชีวภาพก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน
ความแตกแยกทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างตะวันออกและตะวันตกทำให้เกิดภัยคุกคามด้านความมั่นคง
          สำหรับคนส่วนใหญ่อินเตอร์เน็ตและโลกออนไลน์ถือเป็นองคภาวะ (entity) ระหว่างประเทศ มีสภาพไร้ขอบเขตหรือข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสารและความคิดอย่างเสรี เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นมาเพราะสถาปนิกผู้สร้างเข้าใจความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศ ถ้าพูดถึงการเข้าถึงผู้มีความสามารถและทรัพยากร ซึ่งเป็นเพียงภาพลวงตา บริษัท เครือข่ายและสมาคมที่อยู่เบื้องหลังการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเป็นองคภาวะที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อกฎหมายของประเทศ
          การที่ “สงครามการค้า” ระหว่างประเทศมหาอำนาจของโลกยังไม่สิ้นสุด ประกอบกับความแตกแยกขององค์การระหว่างประเทศเช่น สหประชาชาติและสหภาพยุโรป ตลอดจนการแข่งขันด้านเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่เป็นคู่แข่งด้านเศรษฐกิจอาจทำให้เกิดผลตามมาที่น่ากลัว เมื่อ 23 ธันวาคม 2019 รัสเซียประสบความสำเร็จในการตัดการเชื่อมต่อ (unplugged) เครือข่ายอินเทอร์เน็ต[2] ซึ่งเป็นทางเลือกในการติดต่อภายในประเทศกับอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ทำให้รัฐบาลสามารถควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของประชาชน ส่วนประเทศอื่น ๆ เช่น อิหร่านและจีนได้ใช้มาตรการตรวจสอบเนื้อหาและปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลภายนอกของประชาชน
          ในปี 2019 รัฐบาลสหรัฐฯออกคำสั่งระงับการเป็นหุ้นส่วนระหว่างบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯกับบริษัทหัวเหว่ยของจีน เนื่องจากหวั่นเกรงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างหัวเหว่ยกับรัฐบาลจีน หากมีอุปสรรคเช่นนี้เพิ่มขึ้นก็อาจส่งผลกระทบต่อความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งด้านเทคโนโลยี และความท้าทายในการกำกับดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นประโยชน์ (เข้าทาง) ผู้ไม่หวังดี



[1] The 5 Biggest Cybersecurity Trends In 2020 Everyone Should Know About Bernard Marr FORBES Jan 10, 2020 Available at https://www.forbes.com/sites/bernardmarr/2020/01/10/the-5-biggest-cybersecurity-trends-in-2020-everyone-should-know-about/#1b99f12a7ecc
[2] ดิจิเทรนด์ฟอร์เวิร์ด : ‘รัสเซีย’ตัดขาดโลกภายนอก โดย ตุ้งแช่ มติชนรายวัน 28 ธันวาคม 2562 น. 6 https://www.matichon.co.th/economy/news_1847665
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.