การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลคืบหน้าถึงไหนแล้ว ตอนที่ 2

 

ที่มาภาพ: https://mghelpme.com/digital-transformation-demystified/

ระบบนิเวศการบริโภคนี้รวมถึงเครือข่ายข้อมูลจากกล้องวิดิโอวงจรปิด เจ้าหน้าที่ 911 และรถพยาบาลซึ่งช่วยปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนน (หากตำรวจไทยมีระบบแบบนี้ไว้ใช้งาน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็คงไม่ต้องลงพื้นที่ไปสอบสวนกรณีเจ้าหน้าที่ คฝ.ถูกยิงที่ดินแดง)

ทความตอนแรกได้ยกตัวอย่างบริษัทที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเปลี่ยนการดำเนินงาน ตัวแบบและขอบเขตของธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและก้าวหน้า รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลการใช้บริการจากห่วงโซ่คุณค่าและการให้บริการที่อาศัยข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ในตอนนี้เราจะพูดถึงการขับเคลื่อนคุณค่าทางดิจิทัล

การพิจารณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างเหมาะสม ขั้นแรกต้องตระหนักว่าเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่มีแรงขับเคลื่อนคุณค่าที่โดดเด่นสองประการ คือ บทบาทใหม่ที่กว้างขวางของข้อมูลและระบบนิเวศดิจิทัลที่กำลังปรากฎขึ้น ซึ่งเราจะสำรวจโดยสังเขปต่อไป

ข้อมูลถูกแบ่งออกเป็นตอน ๆ (จากเหตุการณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง เช่น การจัดส่งชิ้นส่วนประกอบจากผู้ผลิต) แต่ข้อมูลบางอย่างมีการปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น (เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเซ็นเซอร์และ IoT ติดตามข้อมูล) การติดตามสินทรัพย์ปัจจัยการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เราสามารถปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตโดยการใช้เซ็นเซอร์ติดตามและรักษาระดับอุณหภูมิในขณะที่ให้ความร้อนสูงกับเหล็กหลอมเหลว

การปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตด้วยการฝังเซ็นเซอร์ในผลิตภัณฑ์บางอย่าง สามารถเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ใช้อย่างสิ้นเชิง ลองนึกถึงที่นอนอัจฉริยะซึ่งติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ รูปแบบการหายใจและการเคลื่อนไหวขยับร่างกายของผู้ใช้แล้วปรับรูปทรงทันที เพื่อปรับปรุงการนอนหลับหรือเซ็นเซอร์ที่ฝังอยู่ในรถยนต์แสดงผลสท้อนกลับที่ช่วยให้ผู้ขับขี่รถยนต์ระมัดระวังมากขึ้น

การปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวสะท้อนบทบาทของผลิตภัณฑ์และข้อมูล ในอดีตข้อมูลเป็นตัวสนับสนุนผลิตภัณฑ์ แต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สนับสนุนข้อมูลมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มีคุณสมบัติหน้าที่ในการทำงานเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างแบรนด์หรือสร้างรายได้ เวลานี้ผลิตภัณฑ์ทำหน้าที่เป็น “ท่อร้อยสาย” ข้อมูลการปฏิสัมพันธ์และ “แหล่งน้ำ” สำหรับประสบการณ์ใหม่ของลูกค้า

เพื่อใช้ประโยชน์จากบทบาทใหม่ของข้อมูลปฏิสัมพันธ์ บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องมีเครือข่ายในการสร้างและรับข้อมูล เครือข่ายที่ว่านี้สามารถดึงข้อมูลออกมาจากเซ็นเซอร์และ IoT ที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งก็คือระบบนิเวศดิจิทัลสองประเภทที่มีอยู่ก่อนที่จะมีการเชื่อมต่อของข้อมูลดิจิทัลสมัยใหม่

ประเภทแรกคือ ระบบนิเวศการผลิต (production ecosystem) ซึ่งครอบคลุมความเชื่อมโยงทางดิจิทัลในห่วงโซ่คุณค่า ด้วยข้อมูลเซ็นเซอร์และ IoT จากรถยนต์กับผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ คลังสินค้าและตัวแทนจำหน่ายบริการ เช่น บริษัทรถยนต์เสนอบริการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ได้ อีกประเภทหนึ่งคือ ระบบนิเวศการบริโภค (consumption ecosystem) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเครือข่ายนอกห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท

ลองพิจารณาหลอดไฟอัจฉริยะของโคมไฟส่องถนนที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับการยิงปืน: ระบบนิเวศการบริโภคนี้รวมถึงเครือข่ายข้อมูลจากกล้องวิดิโอวงจรปิด เจ้าหน้าที่ 911 และรถพยาบาลซึ่งช่วยปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนน (หากตำรวจไทยมีระบบแบบนี้ไว้ใช้งาน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็คงไม่ต้องลงพื้นที่ไปสอบสวนกรณีเจ้าหน้าที่ คฝ.ถูกยิงที่ดินแดง)

ระบบนิเวศทั้งการผลิตและการบริโภคซึ่งขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเชิงปฏิสัมพันธ์ ขับเคลื่อนคุณค่าใหม่ (ดังรูปด้านล่าง) การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทั้ง ระดับที่กล่าวถึงในตอนต้น ระดับแรกขึ้นอยู่กับระบบนิเวศการผลิตและระดับที่ อยู่ในระบบนิเวศการบริโภค

การเปลี่ยนแปลงระดับไหนที่เหมาะกับบริษัทของคุณในการกำหนดกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เหมาะสมที่สุด ให้ประเมินความต้องการมีส่วนร่วมในแต่ละระดับจาก ระดับในภาพด้านบน จากนั้นมุ่งเน้นไปที่การลงทุนที่จะช่วยใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงปฏิสัมพันธ์และระบบนิเวศดิจิทัล

ระดับที่ มีความจำเป็น เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ได้ประโยชน์จากประสิทธิภาพการดำเนินงาน การริเริ่มเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระดับนี้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งหากประสิทธิภาพในการดำเนินงานเป็นส่วนสำคัญของการผลักดันกลยุทธ์ของบริษัท เช่น ธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติดำเนินงานขุดเจาะ ท่อส่งน้ำมันและโรงกลั่นที่ต้องใช้เงินลงทุนมูลค่าหลายพันล้าน

หากบริษัทเหล่านี้ตัดสินใจใช้อุปกรณ์ IoT และ AI เพื่อสำรวจแหล่งสำรองน้ำมัน รักษาท่อส่งและโรงกลั่น จะสามารถประหยัดต้นทุนการดำเนินงานได้มากถึงร้อยละ 60 ความท้าทายที่สำคัญในระดับนี้ คือ การติดตั้งระบบสร้างข้อมูลปฏิสัมพันธ์ในสินทรัพย์และแบ่งปันข้อมูลตลอดทั่วทั้งองค์กร

ระดับที่ 2 จำเป็นสำหรับบริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลเชิงปฏิสัมพันธ์จากผู้ใช้ เพื่อความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์มากกว่าที่มีอยู่ในระดับที่ 1 การเปลี่ยนแปลงระดับที่ เป็นจุดสิ้นสุด หากข้อมูลเชิงปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ไม่สามารถสร้างรายได้จากการให้บริการ สินค้าอุปโภคบริโภคจำนวนมากจัดอยู่ในหมวดหมู่นี้ การใช้ข้อมูลเชิงปฏิสัมพันธ์ในธุรกิจดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการโฆษณาและการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ระดับที่ 3 สำหรับบริษัทที่ยอมรับว่าตัวเองสามารถสร้างบริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจากผลิตภัณฑ์และห่วงโซ่คุณค่าจะต้องเสริมสร้างระบบนิเวศการผลิต เพื่อขยายความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์จากประสิทธิภาพในการดำเนินงานไปจนถึงบริการใหม่ ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

การก้าวข้ามอุปสรรคของบริษัทระดับนี้ ไม่เพียงใช้ข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน แต่ยังใช้สร้างรายได้อีกด้วย หากบริษัทไม่สามารถเข้าถึงระบบนิเวศการบริโภค ระดับที่ คือ จุดสิ้นสุด เช่น เครื่องล้างจานติดตั้งเซ็นเซอร์และ AI สามารถคาดการณ์ได้ว่าส่วนประกอบชิ้นไหนจะหมดอายุและนำเสนอบริการณ์ที่คาดการณ์ได้ ทั้งนี้ การเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมและขยายไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นเรื่องยาก หลายบริษัทพลาดโอกาสโดยมองข้ามระบบนิเวศการบริโภคของผลิตภัณฑ์หรือคิดว่ามีความเสี่ยงมากเกินไปที่จะขยายผลิตภัณฑ์ไปยังแพลตฟอร์มดิจิทัล คู่แข่งของ Peloton และ Nordic Track ก็ตกหลุมพรางนี้

สุดท้ายระดับที่ 4 มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ (emerging) ในระบบนิเวศการบริโภค บริษัทที่อยู่ภายในระบบนิเวศการผลิตของตนอาจมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commoditized Product) เพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานเท่านั้น การขยายผลิตภัณฑ์ไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลถือเป็นความท้าทายหลักของบริษัท

ไม่ใช่ทุกบริษัทที่ต้องการหรือสามารถมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ระดับที่กล่าวถึงในบทความนี้ บางบริษัทอาจเลือกมุ่งเน้นที่ระดับ หรือ 2 แต่ทุกบริษัทยังคงต้องตระหนักถึงความเป็นไปได้ใหม่ ๆ มีโอกาสมากมายเกิดขึ้นเสมอและกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลตามกรอบที่นำเสนอจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ขับเคลื่อนโดยสัมพันธ์ไปกับโลกสมัยใหม่


Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.