ผลกระทบทางสังคมของปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยี (ตอนแรก)

ที่มาภาพ: https://youtu.be/4_jRurLz0m4?t=846

“เราจำเป็นต้องพิจารณาอะไรเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) และเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตของเราในอนาคต” คือ หัวข้อการสนทนาระหว่าง Bernard Marr นักอนาคตศาสตร์และที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และเทคโนโลยีกับ Jamie Susskind ทนายความและผู้เขียนหนังสือที่ได้รับรางวัลเรื่อง Future Politics: Living Together in a World Transformed by Tech[1]

นวโน้มที่กำลังเปลี่ยนอารยธรรม (civilization)
              เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงสังคม การปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล (digitization)[2] กำลังท้าทายวิถีการดำรงชีวิตของเรา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้สร้างความสะดวกและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปไม่ได้มาก่อน สิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นมาพร้อมความท้าทายที่จำเป็นต้องเอาชนะ ต่อไปนี้จะกล่าวถึงแนวโน้มสามประการที่กำลังนำเราไปสู่อารยะธรรมที่แตกต่างจากที่เคยมีอย่างสิ้นเชิง
          1. การเพิ่มขึ้นของระบบที่มีความสามารถ (Increasingly capable systems) เราอยู่ในโลกที่ระบบที่ไม่ใช่มนุษย์ (non-human systems) สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่ก่อนหน้านี้มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ทำได้ ในบางกรณีระบบที่ไม่ใช่มนุษย์เหล่านี้สามารถทำงานได้ดีกว่าที่เราทำ ขณะนี้ AI สามารถเลียนแบบการพูดของมนุษย์ แปลภาษาต่าง ๆ วินิจฉัยมะเร็ง ร่างเอกสารทางกฎหมายและเล่นเกม (และสามารถเอาชนะมนุษย์ที่เป็นคู่แข่งขัน) เราอยู่ในสังคมที่ระบบสามารถทำงานให้สำเร็จโดยที่เราไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ในยุคของเรา ขีดความสามารถของระบบที่ไม่ใช่มนุษย์จะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
          2. ระบบมีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง (Systems become more ubiquitous) เส้นแบ่งระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ โลกจริง (real space) และโลกเสมือน (cyberspace) มีความหมายและความสำคัญน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป ระบบต่าง ๆ มีขีดความสามารถและบูรณาการเข้ากับโลกรอบตัวเรา การแยกแยะระหว่างเทคโนโลยีและสิ่งที่ไม่ใช่เทคโนโลยีเคยทำได้อย่างง่ายดาย แต่วันนี้และในอนาคตเทคโนโลยีกระจายอยู่รอบตัวเรา อยู่ในวัตถุและสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเราไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น บ้านอัจริยะและเครื่องใช้อัจฉริยะรวมทั้งพื้นที่สาธารณะและเมืองอัจฉริยะที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ไวต่อแสงหรืออุณหภูมิ (sensors)
          3. การเพิ่มขึ้นของสังคมเชิงปริมาณ (Increasingly quantified society) เราสร้างข้อมูลเพิ่มขึ้นทุก ๆ สองสามชั่วโมงมากกว่าที่เราเคยสร้างเมื่อช่วงต้นของปี 2003 หมายความว่าข้อมูลถูกตรวจจับ (caught) บันทึก (captured) และจัดประเภท (sorted) เจ้าของและผู้ควบคุมข้อมูลจะมีความรู้เชิงลึก (insight) เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของเรา นอกเหนือจากทุกสิ่งที่ทุกคนในอดีตไม่เคยคิดฝัน อะไรที่เราห่วงใย เรารู้สึกอย่างไร จะไปไหน จะซื้ออะไร พูดกับใคร พูดอะไร ทำอะไรในแต่ละวัน เกี่ยวข้องกับใคร เราทิ้งร่องรอยที่เปิดโอกาสให้ปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลเข้ามาในจิตวิญญาณของเรา โดยย่นย่อทุกสิ่งที่นักปรัชญา กษัตริย์หรือพระ (นักบวช) ในอดีตเคยฝันถึง
          แนวโน้มทั้งสามประการดังกล่าวกำลังเร่งตัว ดูเหมือนว่ามนุษย์อย่างเราคงจะไม่เปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตร่วมกันตามผลที่เกิดขึ้น เราไม่เคยอยู่เคียงข้างระบบที่ไม่ใช่มนุษย์ เราไม่เคยรู้ว่าจะเป็นอย่างไรถ้าถูกล้อมรอบด้วยเทคโนโลยีที่ไม่เคยปิดสวิทช์ เราไม่เคยไปอยู่ในโลกที่ชีวิตของเราเป็นอาณาเขตของข้อมูล Susskind ผู้เขียนหนังสือ Future Politics ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงและเสนอสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ คือ สร้างทฤษฎีและมองการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ในฐานะสังคมหนึ่ง
ดิจิตอลคือการเมือง (Digital is Political)
          แทนที่จะมองเทคโนโลยีเหล่านี้แบบผู้บริโภคหรือนายทุน เราจำเป็นต้องมองเทคโนโลยีในฐานะพลเมือง (citizenSusskind ทำนายว่า ในอนาคตผู้ที่ควบคุมและเป็นเจ้าของระบบดิจิตอลที่ทรงพลังจะเป็นผู้ควบคุมเรา
          เทคโนโลยีทำให้เกิดอำนาจ โดยมี “กฎ” ที่ทำให้เราต้องปฏิบัติตามและคนเขียนกฎมีระดับอำนาจมากขึ้น ในสังคมของเรามีสองผู้เล่นหลักทางเทคโนโลยี ผู้สนับสนุนและองค์กรผู้ใช้อำนาจ (ซึ่งใช้เทคโนโลยีสอดส่องตรวจตราและบังคับใช้ “กฎ”) และบริษัทขนาดใหญ่โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีหรือบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีจำนวนมากเขียน “กฎ” ที่เราต้องปฏิบัติตาม (นึกถึง twitter ที่กำหนดให้เราพิมพ์ข้อความ 280 อักษรเท่านั้น)
          การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความพอใจ (preferences) ประวัติการดูข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต (browse) และคนอื่นที่มีอำนาจเหนือเรา รู้ว่าอะไรทำให้เรายอมติ๊กเครื่องหมายและรู้แรงจูงใจทางบวกและทางลบ (Carrot and Stick) ของเรา[3] ตัวอย่างเช่น Cambridge Analytica และการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 บริษัทดังกล่าวมีข้อมูล 2,000 - 3,000 จุดข้อมูล (Data Point)[4] เกี่ยวกับชาวอเมริกัน 200 ล้านคน โดยนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ (image) ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกปรับแต่งให้เข้ากับความโอนเอียง (preferences) อคติ (prejudices) และความลำเอียง (biases) ระดับบุคคล
               สุดท้าย ยิ่งมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเรามากเท่าไร ก็ยิ่งง่ายสำหรับผู้อื่นที่จะชักชวน สร้างอิทธิพลและจัดการพวกเรา นอกเหนือจากนั้น แค่รู้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับเราถูกรวบรวมเราก็น่าจะเปลี่ยนพฤติกรรม หลายคนไม่เข้าใจระดับของการสอดส่องตรวจตราที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ขณะที่มีคนจำนวนมากเอาธุระกับข้อเท็จจริงที่ว่าเรากำลังถูกเฝ้าดู Susskind เชื่อว่คนเหล่านั้นจะเปลี่ยนพฤติกรรมของพวกเขา นี่คืออำนาจในตัวเอง แม้จะบอบบางแต่ก็มีความสำคัญ (ยังมีต่อตอนจบ)




[1] What’s The Impact Of Artificial Intelligence And Technology On Society by Bernard Marr Forbes Mar 9, 2020,01:48am EDT Available at: https://www.forbes.com/sites/bernardmarr/2020/03/09/whats-the-impact-of-artificial-intelligence-and-technology-on-society/#424a93143098
[2] เครื่องมือดิจิทัลกลายเป็นความแข็งแกร่งของสังคมยุคใหม่มาจนถึงจุดที่หลายคนได้นำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งดูเหมือนว่าการแปลงไปสู่ดิจิทัลจะกลายเป็นข่าวเก่าและองค์กรส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบเรียบร้อยแล้ว คำต่าง ๆ เช่น digitization, digitalization และ digital transformation มักเข้าใจว่าใช้แทนกันได้ ความจริงที่หลายคนถือว่าคำเหล่านี้เป็นคำที่ใช้แทนกันได้แสดงให้เห็นถึงความสับสนเกี่ยวกับสิ่งที่แปลงไปสู่ระบบดิจิทัล นั่นคือปัญหาสำหรับการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และกลยุทธ์ที่นำไปใช้งานได้ สืบค้นที่ https://anchalikakhanti.wordpress.com/2017/10/14/digitalization-คืออะไร/
[3] แรงจูงใจทางบวกและทางลบ (Carrot and Stick) คือ แรงจูงใจในการทำงานที่มีทั้งแบบจูงใจทางบวกและบังคับในทางลบ กรณีการควบคุมลาให้เดินจะมีการจูงใจลาด้วยการใช้แครอตมาล่อ ถ้าลาเดินได้ดีก็จะได้รับรางวัลตามเป้าหมายที่จูงใจคือ แครอต เป็นการเสริมแรงทางบวกเข้าไปช่วยกระตุ้นให้อยากสร้างผลงานที่ดีขึ้นไปอีกหรือในทางตรงกันข้าม ถ้าลาเดินไม่ดีหรือไม่ตรงทางก็จะใช้บทลงโทษ คือ ไม้ (เรียว) ตี เพื่อบังคับให้ทำตามที่คาดหวัง สืบค้นที่ https://www.iok2u.com/index.php/article/information-technology/334-carrot-and-stick
[4] จุดที่เกิดของข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองและสภาพแวดล้อมที่ปรากฏ เพื่อนำข้อมูลนั้นไปแลกเปลี่ยนและจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ประมวลผลต่าง ๆ
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.