เครื่องมือนโยบายต่างประเทศและกิจการบ้านเมือง

  


Forget TikTok. China’s Powerhouse App Is WeChat, and Its Power Is Sweeping. ที่มาภาพ: https://www.nytimes.com/2020/09/04/technology/wechat-china-united-states.html

น่วยข่าวกรองแห่งชาติจีนหรือกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ (MSS) ได้ใช้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ We Chat (Weixin)[1] เผยแพร่ “ข้อมูล” สู่สาธารณะตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา เพื่อแจ้งเตือนเกี่ยวกับการจารกรรมของสายลับต่างชาติและประเด็นความมั่นคงแห่งชาติ อาทิ ทรัพยากร (แร่ธาตุ) และเทคโนโลยีรวมทั้งเรื่องเล่าต่อต้านจีน (anti-Chinese narratives)[2]

ข้อความ (ข่าวสาร) ที่ MSS โพสต์อย่างเป็นทางการครั้งแรกเกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการจารกรรมซึ่งแก้ไขใหม่และอ้างความจำเป็นในการระดมทุกภาคส่วนของสังคมเพื่อต่อต้านการจารกรรม (counter espionage) ด้วยการสร้าง “แนวป้องกันประชาชนต่อต้านจารกรรมเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ”

การโพสต์ข้อความดังกล่าวของ MSS นอกจากสะท้อนแนวโน้มใหม่ในการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ ยังบ่งชี้การเปิดตัวสู่สาธารณของหน่วยข่าวกรองโดยใช้ “ข่าวกรองที่ไม่มี/ถูกปลดชั้นความลับ (declassified)” เป็นเครื่องมือดำเนินนโยบายต่างประเทศและกิจการบ้านเมือง (statecraft)

ธรรมชาติของการรวบรวมข่าวกรองมักดำเนินการแบบซ่อนเร้นไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ วิลเลียม เบิร์นส์ ผู้อำนวยการสำนักข่วกรองกลาง (CIA) สหรัฐฯเคยใช้ข่าวกรองที่ไม่มีชั้นความลับเป็นเครื่องมือดำเนินนโยบายต่างประเทศ โดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมินิสต์จีน (CCP) กับรัสเซียกรณีสงครามในยูเครน

MSS เป็นหน่วยข่าวกรองฝ่ายพลเรือนที่มีชื่อเสียงในทางไม่ดี (notorious) รับผิดชอบการต่อต้านข่าวกรองและการจารกรรมจากต่างประเทศรวมทั้งความมั่นคงทางการเมืองของ CCP อีกทั้งมีกองกำลังตำรวจแยกออกมาต่างหาก (ตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐ) มีอำนาจคุมขังและดำเนินคดีนอกกระบวนการยุติธรรมทั้งจากต่างประเทศและในสาธารณรัฐประชาชนจีน

การดำเนินงานของ MSS ในฐานะหน่วยงานที่มีอำนาจสำคัญและแทรกซึมอยู่ในสังคมอย่างกว้างขวาง สำหรับชาวจีนและชาวต่างชาติในจีนแผ่นดินใหญ่ ถ้อยคำสุภาพ “เชิญไปดื่มชา” หมายถึงการถูกเรียกตัวหรือสอบสวนโดย MSS ส่วนในต่างประเทศนอกจากการสืบราชการลับ MSS ยังเกี่ยวข้องกับการปราบปรามและคุกคามข้ามชาติ (transnational repression) ต่อผู้ที่หลบหนีออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะผู้เห็นต่างทางการเมือง ชนกลุ่มน้อยทางศาสนาและชาติพันธุ์

เมื่อกรกฎาคม 2023 MSS สร้างความประหลาดใจแก่ชาวจีนจำนวนมากที่ได้ชมการเปิดตัวทางสื่อสังคม ซึ่งใช้ในการศึกษาให้ความรู้ โฆษณาชวนเชื่อและต่อต้านการจารกรรม นอกจากนี้ยังเปิดสายด่วนให้รางวัลจำนวน 70,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับผู้แจ้งเบาะแสการจารกรรมที่นำไปสู่การจับกุม

ก่อนหน้านี้ในเมษายน 2023 จีนอนุมัติกฎหมายต่อต้านการจารกรรม (ฉบับแก้ไข) ซึ่งขยายขอบเขตการกระทำที่อาจถือเป็นการจารกรรมอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากนั้น MSS ได้โพสต์เกี่ยวกับการยุติการจารกรรมและปกป้องความมั่นคงแห่งชาติโดยมุ่งหมายแจ้งเตือนประชาชนในประเทศอย่างเห็นได้ชัด

บางครั้ง MSS โพสต์รายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดโปงเครือข่ายจารกรรม หลายโพสต์พยายามใส่ร้ายป้ายสีสหรัฐฯโดยเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับสายลับและการเคลื่อนไหวสอดแนม ทั้งนี้ทางการจีนเรียกร้องให้ประชาชนช่วยสอดส่องรายงานพฤติการณ์ผู้ต้องสงสัยเป็นสายลับด้วย

ในมกราคม 2024 MSS เปิดตัวซีรีส์การ์ตูนใน WeChat เกี่ยวกับชีวิตจริงของสายลับเรื่อง “แผนกสืบสวนลับพิเศษ” พร้อมให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ เช่น ข้อมูลผลผลิตธัญพืช แผนที่แร่ธาตุหายาก (rare earth minerals) และการวิจัยด้านอุตุนิยมวิทยาที่เป็นเป้าหมายการจารกรรมจากต่างประเทศ นอกจากนี้ได้แจ้งเตือนไม่ให้ประชาชนพูดถึง “เศรษฐกิจจีน” ในทางไม่ดี

หน่วยข่าวกรองตะวันตก เช่น CIA ของสหรัฐฯและ MI6 ของอังกฤษใช้งานโซเชียลมีเดียมานานกว่าทศวรรษ การรุกรานยูเครนอย่างเต็มรูปแบบของรัสเซียในช่วงแรก สหรัฐฯเปิดเผยข่าวกรองที่ไม่มีชั้นความลับเกี่ยวกับแผนการของรัสเซียออกสู่สาธารณะ

ผู้อำนวยการ CIA ใช้ข่าวกรองที่ไม่มีชั้นความลับเป็นเครื่องมือนโยบายต่างประเทศ เช่น อ้างว่า CCP กำลังพิจารณาจัดหาอาวุธให้รัสเซียเพื่อทำสงครามในยูเครน เมื่อเร็ว ๆ นี้ นิโคลัส เบิร์นส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำจีนตั้งข้อสังเกตว่า การแข่งขันทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯและจีนทวีความรุนแรง

การเคลื่อนไหว (ปฏิบัติการ) ในทางลับยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะเป็นอาชีพหลักของหน่วยข่าวกรองซึ่งมีแนวโน้มว่าจะใช้ศาสตร์แห่งสายลับ (spycraft) เพื่อรุกเข้าไปสู่พื้นที่สาธารณะ



[1] ระบบส่งข้อความทันที (จีนเรียก Weixin) สามารถใช้งานได้ทั้งโทรศัพท์มือถือที่มีระบบปฏิบัติการไอโอเอสแอนดรอยด์และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เปิดตัวครั้งแรกเมื่อ 21 มกราคม 2011 จนถึง 15 มกราคม 2013 WeChat ประกาศว่ามีผู้ใช้งานทั่วโลกถึง 300 ล้านคน

[2] DECLASSIFIED INTELLIGENCE AS A FOREIGN POLICY TOOL IN GREAT POWER COMPETITION INTELBRIEF Tuesday, March 5, 2024 https://mailchi.mp/thesoufancenter/declassified-intelligence-as-a-foreign-policy-tool-in-great-power-competition?e=c4a0dc064a

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.