อัตราส่วนฟิโบนัชชี่ (Fibonacci Ratio) กับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

ที่มาภาพ: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 23 พฤษภาคม 2022

My advice for young men – Work, Work, Work.

ชัย บุณยพัฒน์ (A.K.A. กระสาย)

ลังจากรอคอยมาเป็นเวลา ปีเศษ ชาว กทม.ก็ได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ และ ส.ก. เมื่อ 22 พฤษภาคม 2022 โดยชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครหมายเลข ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯด้วยคะแนนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (all time high) กว่า 1.38  ล้านคะแนน ทำลายสถิติของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่เคยทำไว้เมื่อปี 2013 ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งเมื่อ 31 พฤษภาคม 2022

          การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1975 สำหรับครั้งล่าสุดนับเป็นครั้งที่ 11 ซึ่งประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก โดยเห็นได้จากการนำเสนอข่าวสารของแพลตฟอร์มสื่อต่าง ๆ และกิจกรรมการหาเสียงของผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ที่ได้คะแนนเลือกตั้งเกิน 1 ล้านเสียงคนแรกคือ สมัคร สุนทรเวช คว้าไป 1,016,096 คะแนน และ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้ 1,256,349 คะแนน จากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯสมัยที่ 2[1]

          บทความนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ตั้งแต่ครั้งที่ 1 – 11 โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เรียกว่าอัตราส่วนฟิโบนัชชี่ (Fibonacci Ratio)[2] ซึ่งนิยมใช้หาจังหวะเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ เงินตราและการวิจัยทางชีววิทยา เพื่อให้สอดรับ (relevant) กับแนวคิด OPEN BANGKOK ของผู้ว่าฯชัชชาติ เราจะใช้ข้อมูลจากแหล่งข่าวเปิด (open source) เท่านั้น

          ผู้เขียนอุปมา “กรุงเทพมหานคร” เป็น “บริษัทจดทะเบียน” ในตลาดหลักทรัพย์ “ผู้ว่าฯ กทม.” เปรียบเสหมือน “หัวหน้าคณะผู้บริหาร (CEO)” ของบริษัท “คะแนนเลือกตั้ง” ก็คือ “ราคา” ที่นักลงทุน/ผู้มีสิทธิออกเสียงจ่าย เพื่อซื้อ “นโยบายที่ผู้สมัครใช้หาเสียง” ประเด็นหลักของการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคคือ “ราคา แนวโน้มและพฤติกรรม” ซึ่งถูกนำมาตั้งเป็นสมมติฐาน ข้อ ได้แก่

1) ราคาสะท้อนข่าวสารทุกอย่าง (price discount everything) กล่าวคือ ราคาเป็นผลรวมที่สะท้อนให้ทราบข่าวสารด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง ผลประกอบการของบริษัท 2) ราคาเคลื่อนไหวเป็นแนวโน้ม (price move in trend) และจะคงอยู่ในแนวโน้มนั้น ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มใหม่ และ 3) ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย (historical repeat itself) หมายถึงพฤติกรรมของนักลงทุนจะยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับพฤติการณ์ลงทุนในอดีต[3]

การรวบรวมข้อมูลและประมวลผล ผู้เขียนได้นำคะแนนผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ตั้งแต่ปี 1975 – 2022 บันทึกเป็นตารางในโปรแกรมสเปรดชีต MS Excel โดยสรุปข้อมูลตัวเลขให้เข้าใจง่ายและมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วยการสร้างกราฟเส้น (line chart) เพื่อดูแนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าในช่วงระยะเวลาหนึ่งจากนั้นลากเส้นอัตราส่วนฟิโบนัชชีทาบทับบนเส้นกราฟ ตามภาพประกอบ

FIBONACCI PROJECTION

ประโยชน์ของอัตราส่วนฟิโบนัชชี คือ 1) Fibonacci Retracement ใช้วิเคราะห์กราฟราคา เพื่อหากรอบแนวรับและแนวต้าน ช่วงขาขึ้นเส้น 38.2% เป็นจุดเริ่มต้นในการ “ซื้อไม้แรก” หากราคามาพักจุดนี้แล้วไปต่อ ถือว่าแนวโน้มยังแข็งแกร่งพอสมควรและอาจซื้อเพิ่มที่ 50 - 61.8% หากเชื่อมั่นแนวโน้ม 2) Fibonacci Extension ใช้คำนวณหาราคาเป้าหมายกรณีราคาสูงขึ้นผ่านแนวต้านหรือย่อตัวหลุดแนวรับ และ

3) Fibonacci Projection ใช้ประกอบการวิเคราะห์ทฤษฎีคลื่น (Elliott Wave Theory) เพื่อวัดการยกตัวขึ้นของราคา (การทำ New High/New Low) ซึ่ง เปรมสุข ชลทานวาณิชย์ อธิบายไว้ใน KS Tactical EP.9: หากรอบแนวรับ-แนวต้านด้วยทฤษฎี “FIBONACCI[4] ในกรณีศึกษานี้ จากจุดต่ำ ถึง กราฟคะแนนขึ้นไป 100% แล้วพักตัวลงมาที่จุด X เริ่มนับใหม่จาก X ที่ 0% ใช้สัดส่วนเทียบกับ ถึง B ยกมาตั้งต้นที่ X ขึ้นไปเกินจุด ชนเส้น 100% แล้วพักตัวออกข้าง (การเลือกตั้งผู้ว่าฯครั้งที่ 6 - 9) จากนั้นเดินหน้าขึ้นต่อไปจนถึงจุด ที่ 161.8%

ผลการศึกษาพบว่า การเคลื่อนไหวของคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 1 - 11 มีลักษณะสัมพันธ์กับอัตราส่วนฟิโบนัชชีอย่างน่าประหลาดใจ โดย “คะแนนเลือกตั้ง” มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นที่สะท้อนข่าวสารการขับเคี่ยวระหว่างฝ่าย “อนุรักษ์นิยม” กับ “ประชาธิปไตย” เป็นระยะเวลา 90 ปี ใน 24 มิถุนายน 2022 รวมทั้งพฤติการณ์การลงคะแนนของผู้มีสิทธิออกเสียงก็ซ้ำรอยในอดีตที่มีปรากฎการณ์ “ฟีเวอร์” ตัวบุคคลมาแล้ว

คะแนนเลือกตั้งที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ถือเป็นความ “คาดหวัง” ของผู้ลงคะแนนให้ชัชชาติ คือ 1) ฐานเสียงจากพรรคเพื่อไทย 2) ชนชั้นกลางใน กทม. 3) ผู้มีสิทธิออกเสียงรุ่นใหม่ (new voter) และ 4) กลุ่มอนุรักษ์นิยมที่เคยเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์และบิ๊กตู่เริ่มเบื่อหน่ายการเมืองแบบเลือกขั้ว[5] กระแส “ชัชชาติฟีเวอร์” จะไปต่อหรือสิ้นสุดเมื่อไหร่ หาคำตอบได้ในบทสัมภาษณ์ สรกล อดุลยานนท์ (หนุ่มเมืองจันท์) ใน BBC NEWS ไทย (https://www.youtube.com/watch?v=Csz4RUq-2QQ)[6]

การวิเคราะห์ “คะแนน” เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ด้วยอัตราส่วนฟิโบนัชชีในบทความนี้ อาจใช้เป็นตัวแบบในการวิเคราะห์การเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เพื่อประมาณการหาคำตอบว่าพรรคการเมืองใดจะได้คะแนนแบบแลนด์สไลด์และใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป?


[1] เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.: ประวัติศาสตร์ สถิติ และเกร็ดน่ารู้ เว็บไซต์ BBC Thai 1 เมษายน 2022 เข้าถึงได้ที่https://www.bbc.com/thai/thailand-60951332

[2] มีต้นกำเนิดจากตัวเลขอนุกรมที่สร้างขึ้นโดย Leonardo Pisano นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี เริ่มจาก 01123581321345589144.... ไปจนถึงอนันต์ ตัวเลขดังกล่าวสัมพันธ์กันโดยแต่ละตัวมาจากการบวกกันของตัวเลข 2 อันดับก่อนหน้า (Fibonacci Sequence) อัตราส่วนของตัวเลขก่อนหน้าต่อตัวเลขตามมาจะเข้าใกล้อัตราส่วน 0.618 (34/55) ในทางกลับกัน 1.618 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “สัดส่วนทองคำ (Golden Ratio)

[3] จับจังหวะหุ้นด้วยปัจจัยทางเทคนิค หนังสือชุด “ครบเครื่องเรื่องลงทุน” ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค พิมพ์ครั้งที่ (พฤศจิกายน 2557) หน้า 42 - 45

[4] KS Tactical EP.9: หากรอบแนวรับ-แนวต้านด้วยทฤษฎี “FIBONACCI” กลุ่มพาณิชย์หลังเปิดประเทศ หุ้นไหนฟื้นดำเนินรายการโดย เปรมสุข ชลทานวาณิชย์ เข้าถึงได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=mekbeC1DRHk&t=1241s

[5] “ชัชชาติ” สะเทิอนรัฐบาลปรากฎการณ์เบื่อเลือก “ขั้ว” กรุงเทพธุรกิจ 23 พฤษภาคม 2022 น. 4

[6] “ชัชชาติฟีเวอร์” และ “ซอฟต์เพาเวอร์” จากมุมมองของ “หนุ่มเมืองจันท์” - BBC News ไทย Jun 11, 2022 เข้าถึงได้ที่https://www.youtube.com/watch?v=Csz4RUq-2QQ

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.