ยุทธวิธีค้นหาและทำลายระวังจะเข้าทางผู้ก่อการร้าย

ที่มาภาพ: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Vietconghuntcrop.jpg

ารปรากฎตัวของกลุ่มเยาวชนชายฉกรรจ์นับร้อยคนพร้อมอาวุธประจำกายที่ไม่มีอะไรมากไปกว่ามีดขนาดใหญ่กระจายกำลังเข้าโจมตีจุดตรวจและป้อมตำรวจ 11 จุดใน จังหวัดภาคใต้ในช่วงเช้าตรู่ของ 28 เมษายน 2547 ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ก่อการกว่า 100 คนและเจ้าหน้าที่สูญเสีย คน แม้มีส่วนช่วยทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงเริ่มมองเห็นศัตรูที่อยู่ในเงามืดตั้งแต่เกิดเหตุปล้นอาวุธปืนที่ค่ายทหารพัฒนาเมื่อ มกราคม 2547 ได้ชัดเจนขึ้นบ้าง แต่เหตุการณ์ดังกล่าวกลับก่อให้เกิดคำถามและการถกเถียงอย่างกว้างขวางในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำไมกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบถึงได้ยึดมัสยิดกรือเซะที่ปัตตานีเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายในการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มคนที่ออกมา   ก่อการเมื่อ 28 เมษายน เป็นพวกเดียวกับที่ไปปล้นปืนหรือไม่ ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังเหตุรุนแรงรายวันที่เกิดขึ้น เหล่านี้ยังไม่มีคำตอบที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ภายหลังจากที่ พล..ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีซึ่งดูแลด้านความมั่นคงเปิดเผยเอกสารปลุกระดมเรื่อง การต่อสู้ที่ปัตตานี หรือ เบอร์ญิฮัดดีปัตตานี ซึ่งบรรจุตัวบทในพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอานประมาณ 50 บทพร้อมคำอธิบายที่ถูกวิจารณ์ว่ามีเจตนาบิดเบือนคำสอนในศาสนาอิสลามเพื่อปลูกฝังแนวคิดพลีชีพและการจัดตั้งรัฐปัตตานีแก่เยาวชนมุสลิมนั้น สถานการณ์ความไม่สงบใน จังหวัดภาคใต้ได้ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง การฆ่ารายวันที่เคยเกิดขึ้นในห้วงก่อนหน้านี้หวนกลับมาสร้างความสะพรึงกลัวให้แก่ชาวบ้านทั้งไทยพุทธและมุสลิมอีกครั้ง เป็นที่น่าสังเกตุว่าปฏิบัติการของกลุ่มคนร้ายในระยะหลังมุ่งโจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำรวจที่เป็นคนไทยมุสลิม ทั้งนี้ โฆษกตำรวจภูธรภาค เปิดเผยว่าที่ผ่านมามีข้าราชการตำรวจที่ถูกลอบยิงบาดเจ็บไม่น้อยกว่า 46 นาย โดยแยกเป็นตำรวจปัตตานี 28 นาย ยะลา 12 นาย และนราธิวาส นาย โดยพื้นที่เกิดเหตุที่ควรจับตามองเป็นพิเศษคือ เขตอำเภอเมือง อำเภอหนองจิกและอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี[1] 
สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ที่ยืดเยื้อและไม่มีทีท่าว่าสงบลงง่ายๆสร้างความวิตกให้แก่หลายฝ่าย จนทำให้นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้รัฐมนตรีกลาโหมและสภาความมั่นคงแห่งชาติไป   คลี่คลายปัญหาไฟไต้ให้ได้ภายในเวลา 30 วัน[2]  แต่ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเงื่อนไขด้านเวลาที่จำกัด หรือเนื่องจากกระแสการปรับคณะรัฐมนตรี ทักษิณ 9” ที่ทำให้ฝ่ายความมั่นคงหันมาใช้มาตรการเด็ดขาดในการแก้ปัญหาใต้ ตายรายวัน” โดย พล..ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พล..เชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมระบุว่า หากยังมีการฆ่ารายวันในพื้นที่ภาคใต้ จำเป็นต้องใช้มาตรการรุนแรงเข้าไปดำเนินการว่าในฐานะที่พล..เชษฐาอยู่ในพื้นที่มานานก็ต้องเคารพและรับฟังคนในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม การต่อสู้กับกลุ่มที่ก่อการเช่นนี้ต้องใช้ความอดทน ยึดหลักการและเหตุผลพอสมควร เชื่อว่าการที่ออกมาระบุเช่นนั้น คงไม่ใช่มุ่งใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างเดียว  แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนา มาตรการทางการเมืองและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ด้วย[3]
การมีบัญชาเร่งรัดการแก้ไขปัญหาไฟใต้ของนายกรัฐมนตรีสะท้อนถึงความห่วงกังวลของรัฐบาลเกี่ยวกับความรุนแรงในภาคใต้ ซึ่งมีรูปแบบการปฏิบัติการที่ผสมผสานระหว่างการทำสงครามกองโจรในศตวรรษที่ 20 และแนวทางการต่อสู้ของมุสลิมเคร่งจารีตในศตวรรษที่ 21 กล่าวคือ  ลักษณะการปฏิบัติการก่อความไม่สงบใน จังหวัดภาคใต้ขณะนี้คล้ายคลึงกับยุทธวิธีปฏิบัติการของกองทัพสาธารณรัฐไอริช (Irish Republican Army-IRA) ปี 1920 กลุ่ม Irgun Zvai Leumi ของอิสราเอล ปี 1945 และแนวร่วมเพื่อการปลดปล่อยแห่งชาติของแอลจีเรีย (National Liberation Front) ปี 1954 ที่มุ่งโจมตีเป้าหมายที่มีการรักษาความปลอดภัยไม่เข้มงวด (soft target) เป็นลำดับแรก จากนั้น จะเริ่มการชักชวนหาคนมาฝึกอาวุธ โดยแสวงประโยชน์จากความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนในชนบทและขยายการก่อการร้ายเพื่อยั่วยุให้รัฐบาลใช้มาตรการรุนแรงกับพวกตน ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มขบวนการได้รับความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น[4]
ปฏิบัติการของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่เปลี่ยนไปรวมทั้งมาตรการเด็ดขาดของทางการ ซึ่งคงจะหมายถึงการใช้ยุทธวิธีค้นหาและทำลาย (search and destroy) อาจส่งผลในทางตรงข้ามคือ นอกจากไม่สามารถทำลายเครือข่ายของกลุ่มผู้ก่อการแล้วยังจะทำให้กลุ่มขบวนการต่างๆที่เริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดตามลำดับ ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนมากขึ้นอีกด้วย เว้นแต่รัฐบาลจะใช้ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ประการ คือ[5] 1) การข่าวกรองและการใช้สายลับแทรกซึมเข้าไปในกลุ่มขบวนการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารเชิงลึกเกี่ยวกับยุทธวิธีตลอดจนสามารถตีความและคาดการณ์ถึงหนทางปฏิบัติของกลุ่มก่อการร้ายได้ล่วงหน้า ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องปรับปรุงงานข่าวกรองทั้งระบบของประเทศ โดยเน้นการผลิตข่าวกรองแบบทันทีทันใด (real time)  แทนการผลิตแบบทันเวลา (just in time)[6] หรือผลิตตามหัวข้อความต้องการข่าวสารที่เคยชินกันในอดีต และต้องพยามยามทำให้เกิดการประสานการปฏิบัติ (interoperability) ของทุกระบบในพื้นที่ และ 2) การเมืองนำการทหารหรือการทำสงครามจิตวิทยา พยายามเอาชนะใจประชาชนคนยากจนในพื้นที่ห่างไกลและเยาวชนมุสลิมว่างงาน/ว่างการศึกษาที่มีแนวโน้มหลงเชื่อตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มก่อการร้าย การดำเนินยุทธศาสตร์ที่ นี้ควรทำควบคู่กับยุทธศาสตร์ที่ ซึ่งดูเหมือนว่ากองทัพภาคที่ ได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว
            ผู้เขียนอยากจะขอยกตัวอย่างการปราบปรามชนเผ่าต่างๆทางภาคใต้ของจีนที่บันทึกในพงศวดารสมัยสามก๊กความว่า[7] ฤดูชุนเทียนในปีที่อาเต้าลูกเล่าปี่ครองราชย์ได้ ปี ขงเบ้งได้กรีธาพลไปปราบปรามบรรดาชนเผ่าต่างๆทางภาคใต้ เมื่อไปถึงเมืองหยงชางเขาได้ปูนบำเหน็จรางวัลแก่ทหารที่ได้พร้อมใจกันรักษาเมืองอย่างกล้าหาญ ในฐานะที่จงรักภักดีต่ออาณาจักรสู่ ครั้นแล้วก็ได้กรีธาทัพเข้าเมืองแว้จุ่นทันที ทหารของขงเบ้งไม่ว่าบุกไปทางไหนศัตรูต้องแหลกราบไปทางนั้น หยงไข่และอ๋วงติ้งหัวหน้าชนเผ่าทางใต้ เสียชีวิตระหว่างรบ ส่วนเบ้งเฮกซึ่งเป็นหัวหน้าชนเผ่าที่บรรดาชนเผ่าต่างๆเลื่อมใสบูชา ได้รวบรวมทหารเดนตายของหยงไข่และอ๋วงติ้งยืนหยัดต่อสู้กับกับทัพขงเบ้งอย่างทรหด ขงเบ้งจึงพยายามจับเป็นและหาทางเอาชนะจิตใจให้ได้
            เมื่อขงเบ้งจับเบ้งเฮกมาได้ก็พาไปชมค่ายทหารของตนและถามเบ้งเฮกว่า ฝีมือทหารอาณาจักรสู่ เป็นอย่างไร เบ้งเฮกตอบว่า เราแพ้เพราะท่านใช้กลลวง ขงเบ้งนั้นอ่านขาดว่าเบ้งเฮกมีจิตใจเหี้ยมหาญ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆจึงยิ้มและปล่อยเสือคืนถ้ำให้ยกทัพมาประลองฝีมือกันใหม่ เบ้งเฮกได้ยกทัพมารบกับขงเบ้งและถูกปล่อยให้มาประลองฝีมือกันอีก ครั้ง ครั้งหลังสุดเบ้งเฮกไม่ยอมไป ขงเบ้งจึงถามเหตุผลซึ่งเบ้งเฮกตอบว่า ท่านมีอิทธิฤทธิ์เหมือนเทวดาเราบรรดาชนเผ่าต่างๆในนครฮุนหนำนี้ต่อไปไม่ขอ ก่อการกบฎต่ออาณาจักรสู่อีกแล้ว ขงเบ้งเมื่อปราบปรามบรรดาชนเผ่าต่างๆราบคาบแล้วก็ให้หัวหน้าชนเผ่าต่างๆปกครองกันเอง ที่ปรึกษาของเขาได้กล่าวทัดทานไม่เห็นด้วย ขงเบ้งจึงชี้แจงเหตุผลให้ฟังดังนี้
          ถ้าจะให้ขุนนางของเราปกครองชนเผ่าเหล่านี้เราจะต้องเหลือชนเผ่าของเราไว้ช่วยรักษา    หากจะให้ทหารของเราอยู่อยู่รักษาเมืองเหล่านี้ เสบียงอาหารก็มีไม่พอเลี้ยงทหารได้มากมาย        อีกประการหนึ่งชนเผ่าเหล่านี้ก็กำลังบอบช้ำเพราะสงคราม ญาติพี่น้องล้มตายจำนวนมาก ถ้าเราให้ขุนนางปกครองโดยไม่เอาทหารไว้ ชนเผ่าเหล่านี้ก็จะคิดกบฎแก้แค้น นอกจากนี้ ชนเผ่าเหล่านี้มีโทษฐานก่อการกบฎ   แต่บัดนี้สำนึกผิดแล้ว ถ้าจะเอาคนนอกไว้เขาจะคิดว่าเราไม่ไว้ใจ ฉะนั้นข้าพเจ้าได้ตัดสินใจแล้วว่าจะไม่เอาทหารไว้คอยลำเลียงเสบียงอาหาร
            ในงานเมาลิดและการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 28 เมษายน ที่มัสยิดกรือเซะปัตตานีเมื่อ 29 มิถุนายน 2547 พล..ชวลิต (ขงเบ้งแห่งกองทัพไทยได้ประกาศต่อหน้าชาวไทยมุสลิม และชาวไทยพุทธว่าจะให้ปัตตานีใช้การปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีการเลือกตั้งกันเองเพื่อนำไปสู่การรวม 3 จังหวัดภาคใต้เป็นมหานครปัตตานีในอนาคต ที่รวมทั้งนราธิวาสและยะลา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวความคิดภายใต้ ทฤษฎีดอกไม้หลากสี ที่จะต้อง  มีหลายศาสนาหลายเชื้อชาติอยู่ด้วยกัน รัฐบาลจะให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองท้องถิ่น      จากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปัตตานีไปเป็นเมืองปัตตานี เหมือนเมืองพัทยา มีพระราชบัญญัติเฉพาะ ประชาชนจะปกครองตนเอง เก็บภาษีเอง เลือกตั้งกันเองทุกระดับจนถึงระดับผู้ว่าราชการจังหวัด[8]
          ข้อเสนอดังกล่าวสร้างความฮือฮาในหมู่สื่อมวลชนและผู้สังเกตุการณ์สถานการณ์ภาคใต้ได้พอสมควร บางคนบอกว่าคล้ายกับแนวความคิดของ ดร.วันคาเดร์ อับดุล เจ๊ะมาน หัวหน้าขบวนการเบอร์ซาตูที่ให้สัมภาษณ์ผ่านวิทยุ BBC เมื่อ 22 พฤษภาคม 2547 อย่างไรก็ตาม แผนมหานครปัตตานี ก็ถูกดองเค็มจนได้เมื่อนายกรัฐมนตรีได้ปฏิเสธแนวคิดของ พล..ชวลิต โดยเห็นว่าหากจะยก จังหวัดภาคใต้ให้มีการปกครองในรูปแบบมหานครจริงก็คงไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ในเร็วๆนี้ เพราะต้องพัฒนาพื้นที่ ลดช่องว่างระหว่างชนบทกับเมือง ซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ปี[9] ความรุนแรงในภาคใต้นับเป็นวิกฤติที่ท้าทายรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทยมากที่สุดตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศเมื่อ ปีกว่าที่ผ่านมา การสร้างความหวังให้แก่ประชาชนด้วยนโยบายสวยหรูของรัฐบาลที่ผลิตขึ้นเพื่ออนาคต คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาความมั่นคงปลอดภัยเฉพาะหน้าได้ หากยังไม่มีการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหาใหม่.


--------------------------------------------------------------------
บทความต้นฉบับ ตีพิมพ์ใน กรุงเทพธุรกิจ กรกฎาคม 2547 หน้า 15 ใช้ชื่อ “ยุทธวิธีค้นหาและทำลายระวังเข้าทางผู้ก่อการร้าย”




[1] สำนักข่าวไทย (5 กรกฎาคม 2547). และ มติชนรายวัน (6 กรกฎาคม 2547) ปีที่ 27 ฉบับที่ 9614 . 1.
[2] กรุงเทพธุรกิจ 10 มิถุนายน 2547 . 20.
[3] กรุงเทพธุรกิจ (17 มิถุนายน 2547) . 20. และ มติชนรายวัน (17 มิถุนายน 2547) ปีที่ 27 ฉบับที่ 9596 .1.
[4] Martin Sieff, “Thailand faces new terror threat” United Press International (June 21, 2004).
[5] Martin Sieff, “Thai drive on terror may backfire” United Press International (June 21, 2004).
[6] การบริหารการผลิตรถยนต์ในโรงงานของบริษัท TOYOTA ของญี่ปุ่น.
[7] เธียรชัย  เอี่ยมวรเมธ, “ปรัชญานิพนธ์และชีวประวัติของขงเบ้ง” สำนักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัดบำรุงสาส์น (8 มีนาคม 2524) . 211 - 213.
[8] โพสต์ TODAY (30 มิถุนายน 2547) . 1. และ ไทยโพสต์ 30 มิถุนายน 2547 . 3.
[9] โพสต์ TODAY (1 กรกฎาคม 2547) . 1.


Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.