การปิดล้อม (containment) ไวรัสโคโรนา: เศรษฐกิจเสียหายแต่ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ตอนแรก

ที่มาภาพ: With each new virus, we’ve scrambled for a new treatment. Our approach has been “one bug, one drug.”Illustration by Christoph Niemann https://www.newyorker.com/magazine/2020/04/13/the-quest-for-a-pandemic-pill?utm_source=nl&utm_brand=tny&utm_mailing=TNY_Daily_040620&utm_campaign=aud-dev&utm_medium=email&bxid=5dc60bd07ace5a3148464d92&cndid=59124753&hasha=642259e16069466b4e65f0c48a98852d&hashb=19ce89779e8585d774b4355d2690e3d378cf28b6&hashc=d353921897fb821ba7b730d8efbc8dfada4bbeb0ec3cb6614a3cced73746a6e4&esrc=bounceX&utm_term=TNY_Daily

ผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกกำลังเผชิญทางเลือกที่ทำให้เกิดความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจ เพื่อช่วยชีวิตมนุษย์ ด้วยการชั่งน้ำหนักการตัดสินใจปิดร้านค้า ร้านอาหารและสำนักงานต่าง ๆ นับล้านแห่ง โดยคาดหวังว่าจะช่วยจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) นโยบายเข้มงวดต่าง ๆ ถูกบัญญัติเป็นกฎหมายทั่วมลรัฐส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะช่วยชีวิตคนจำนวนมาก แต่คาดว่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากมาตรการเหล่านี้จะมีมูลค่านับล้านล้าน ทำให้นักวิจารณ์จำนวนหนึ่งรวมทั้งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โต้แย้งว่า มูลค่าความเสียหาย (ทางเศรษฐกิจ) จากการสะกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัสจะสูงกว่าความเสียหายจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของมนุษย์ (human cost) ในไม่ช้า[1]
          รายงานการวิจัยใหม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคและการแพร่ระบาด[2] เตือนว่า การไม่ปิดการทำงานของธุรกิจต่าง ๆ จะสร้างความเสียหายต่อสังคมมากกว่า (โดยนำความเสียหายทางเศรษฐกิจและที่เกี่ยวกับมนุษย์เข้ามาเป็นปัจจัยร่วม) แม้ปล่อยให้ธุรกิจดำเนินไปตามปกติ อาจหลีกเลี่ยงการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง แต่อาจทำให้มีผู้เสียชีวิตนับแสนคน การประมาณการโดยอ้างอิงความเสียหายต่อชีวิตที่ยอมรับได้ จำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นมากกว่า (ไม่รวมความคาดหวังผลประโยน์ทางเศรษฐกิจ) คณะผู้วิจัยสรุปว่า มาตรการปิดล้อม (containment) นอกจากมีความชอบธรรมในเชิงเศรษฐกิจ ยังเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ผู้คนจำนวนมากเพียงพอเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากไวรัส
          นโยบายการปิดล้อมเชิงอุดมคติไม่ได้หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดในครั้งเดียว แต่ธุรกิจจะปิดตัวลงแบบค่อยเป็นค่อยไปตามจำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ เหตุผลคือ หากทุกคนไม่ได้ติดเชื้อไวรัส จะไม่มีใครพัฒนาภูมิคุ้มกัน มาตรการปิดล้อมจะถูกยกเลิกในไม่ช้าและอัตราการติดเชื้อจะทะยานสูงขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ฉากทัศน์ (scenario) สองแบบที่เรียกร้องให้มีการปิดล้อมอย่างเข้มงวดทันที ถ้าระบบโรงพยาบาลสามารถรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อได้หรือในแบบที่ขัดกับสามัญสำนึกของคนทั่วไปหากวัคซีนป้องกันการติดเชื้อใกล้เวลาวางตลาด
ความเสียหายจากการไม่ทำอะไรในการปิดล้อมไวรัส
          นักระบาดวิทยาอาศัยตัวแบบทางคณิตศาสตร์คาดทำนาย (predict) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโดยอ้างอิงปัจจัยต่าง ๆ เช่น อัตราการตายและจำนวนคนที่สงสัยจะติดเชื้อหรือผู้ติดเชื้อในสังคมที่กำหนดให้ อย่างไรก็ดี ตัวแบบที่ใช้ร่วมกันไม่ได้คำนวณการเปลี่ยนพฤติกรรมการตอบสนองเชื้อโรคของคน เช่น “ฉันไม่อยากติดเชื้อก็เลยไปซื้อของน้อยลงและทำงานน้อยลง” ผู้วิจัยได้สร้างตัวแบบพันทาง (hybrid) ซึ่งผสมผสานทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มหภาคกับระบาดวิทยาเพื่อคำนวณการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การใช้ตัวแบบพันทางนี้ พวกเขาประมาณการจำนวนคนมีเหตุผลที่จะไปทำงานหรือออกนอกบ้าน เพื่อซื้อสินค้าและบริการ การออกจากบ้านแต่ละครั้งเพิ่มโอกาสติดเชื้อไวรัส COVID-19 จากนั้น คณะผู้วิจัยได้พยากรณ์จำนวนคนที่น่าจะติดเชื้อและเสียชีวิตในสหรัฐฯเช่นเดียวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากไวรัสโดยอ้างอิงจากการประมาณการดังกล่าว
          คณะผู้วิจัยพิจารณาว่า จะเกิดอะไรขึ้น หากรัฐบาลไม่ได้เข้าแทรกแซงและประชาชนสามารถตัดสินความเสี่ยงด้วยตัวเองในการออกไปชอปปิ้งและทำงาน (ฉากทัศน์นี้สมมติว่ายังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัส) ซึ่งน่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอยเล็กน้อย การบริโภคโดยรวมลดลงเล็กน้อยในช่วงเดือนที่มีการติดเชื้อสูงสุด ในระยะยาวมีผลกระทบ GDP เพียงเล็กน้อย เมื่อคำนวณความเสียหายต่อมนุษย์จากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรี (laissez-faire policy) จะเกิดผลที่ตามมาแบบตายตัว ตัวแบบแสดงให้เห็นว่า ชาวอเมริกันหลายร้อยล้านคนจะติดเชื้อและหลายล้านคนเสียชีวิต ผู้วิจัยตรึงค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจของการเสียชีวิตไว้ที่ 9.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขมาตรฐานที่รัฐบาลกลางใช้คำนวณ ซึ่งสืบทอดจากการศึกษาเศรษฐกิจในช่วงหลายทศวรรษ เกี่ยวกับการชดเชยความคาดหวังของคนทำงานที่คุกคามต่อชีวิต (ข้อสมมติฐานที่แตกต่างคือ มูลค่าทางเศรษฐกิจถูกแทนที่ด้วยการเสียชีวิต)
          อ้างอิงจากการคำนวณนี้ ความเสียหายทั้งหมดของการไม่ทำอะไรเลยจะสูงถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (แม้ผู้วิจัยเปลี่ยนตัวเลขประมาณการความเสียหายต่อชีวิตมนุษย์แบบอนุรักษ์นิยม มูลค่าความเสียหายทั้งหมดยังคงสูงเกินไป) Rebelo หนึ่งในคณะผู้วิจัยสรุปว่า การไม่ทำอะไรเลยเป็นสิ่งเลวร้ายมาก ผลลัพธ์แบบนี้เกิดขึ้น เนื่องจากผู้คนเลือกหยุดชอปปิ้งและทำงานต่อเมื่อจำนวนการติดเชื้อลดลงเท่านั้น การเพิกเฉยการปิดล้อมโดยออกไปนอกบ้านมีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสให้คนอื่น
          Rebelo หมายเหตุว่า พฤติกรรมนี้มิได้สะท้อนความไร้เหตุผลหรือการขาดเจตนาที่ดี เหตุผลที่ผู้คนคิดว่าพวกเขาเป็นจุดสำคัญของผลรวมอัตราการติดเชื้อเป็นเหตุผลเดียวกับที่คิดว่า พวกเขาไม่มีความสำคัญต่อมลภาวะของโลก “ฉันรู้ว่า หากฉันขับรถน้อยลง มลภาวะจะน้อยลง แต่ฉันเป็นส่วนเล็ก ๆ ของเศรษฐกิจ พฤติกรรมของฉันไม่กระทบมลภาวะทั้งหมด ดังนั้น ฉันจะยังคงขับรถต่อไปและถ้าทุกคนคิดเหมือนกับที่ฉันทำก็จะเกิดมลภาวะจำนวนมาก”
หากโรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วย ความเสียหายของ COVID-19 ต่อมนุษย์จะสูงขึ้นอย่างมาก
          ก่อนที่จะฉายภาพสมมติฐานที่สำคัญ หากโรงพยาบาลมีพื้นที่ (เตียงเครื่องมืออุปกรณ์และบุคคลากรเพียงพอที่จะรองรับการปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อทุกคน อัตราการเสียชีวิตคงที่ระหว่างการระบาดของเชื้อโรค อย่างไรก็ดี หากความต้องการระบบสาธารณสุขมากกว่าขีดความสามารถรองรับ เช่น กรณีที่เกิดขึ้นในหลายเมืองของอิตาลีและจีน ซึ่งในไม่ช้าจะเกิดขึ้นในหลายเมืองของสหรัฐฯด้วย ผู้ติดเชื้อจำนวนมากไม่ได้รับการรักษาที่จำเป็น นำไปสู่การเสียชีวิตในอัตราสูงขึ้น
     การดำเนินการ (running) ตัวแบบซ้ำอีกครั้ง โดยคำนวณความเป็นไปได้ที่จะขาดแคลนเวชภัณฑ์ อาจทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น ผู้วิจัยพบว่า ผู้คนมีแนวโน้มจะเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวเอง “ฉันรู้ว่าหากฉันติดเชื้อ โรงพยาบาลไม่มีเตียงเพียงพอ ดังนั้น ฉันจะระมัดระวังมากขึ้น” ความกลัวทำให้ผู้คนสมัครใจลดการทำงานและการบริโภคโดยไม่ปิดการทำงาน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้อย่างมากเท่านั้นที่จะสกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัส ผู้วิจัยทำนายว่าจะมีคนในประเทศเสียชีวิตหลายล้านคน (มากกว่าร้อยละ 1) ซึ่งเป็นฉากทัศน์ที่น่ากลัวจนไม่อาจจินตนาการได้ (โปรดติดตามตอนต่อไป)



[1] สรุปบทความ Containing COVID-19 Will Devastate the Economy. Here’s the Economic Case for Why It’s Still Our Best Option. โดย Jake J. Smith บรรณาธิการ Kellogg Insight อ้างอิงข้อมูลพื้นฐานจากงานวิจัยเรื่อง The Macroeconomics of Epidemics โดย Martin S. Eichenbaum, Sergio Rebelo, Mathias Trabandt Kellogg Insight MAR 26, 2020 Available at: https://insight.kellogg.northwestern.edu/article/economic-cost-coronavirus-recession-covid-deaths
[2] ดู เอกสารต้นฉบับ THE MACROECONOMICS OF EPIDEMICS ซึ่งผสมผสานทฤษฎีทางระบาดวิทยา (epidemiological) และเศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomic) เพื่อหาทางเลือกที่ดีสุดสำหรับผู้กำหนดนโยบายในการตอบสนองการระบาดของไวรัส สืบค้นได้ที่ http://www.nber.org/papers/w26882
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.