ขบวนการชุมนุมประท้วงในสหรัฐฯกับทั่วโลก: อะไรคือความเหมือน

The protests over the death of George Floyd, who was handcuffed and pinned down by a police officer’s knee on his neck in Minneapolis, continues in New York City on Monday.CreditCredit...Amr Alfiky for The New York Times ที่มาภาพ: https://www.nytimes.com/2020/06/01/us/floyd-protests-live.html

มื่อชาวอเมริกันนึกถึงการปกครองแบบอำนาจนิยม ที่ผู้นำเผด็จการข่มขู่จะใช้กำลังทหารกับผู้ประท้วง ประกาศเคอร์ฟิวห้ามการรวมกลุ่มของประชาชนรวมทั้งคุกคามและข่มขู่สื่อมวลชน พวกเขามีแนวโน้มจะคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ในกรุงไคโรมากกว่ามินนิแอโพลิส การวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ซึ่งคุมขังชาวอุยกูร์นับล้านคนในค่าย อาจพูดด้วยน้ำเสียงไม่จริงใจ แต่เมื่อ “การตอบสนองดีที่สุดของสหรัฐฯแย่กว่าประเทศอื่น” ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็หายไป
การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาของสหรัฐฯ ประกอบกับภัยพิบัติทางเศรษฐกิจและการประท้วงในห้วงปัจจุบัน ทำให้จุดยืนระหว่างประเทศของสหรัฐฯตกต่ำอย่างรวดเร็ว ขณะที่ประชาคมโลกหมดหวังกับผู้นำที่น่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบ คงเป็นไปไม่ได้ที่จะเพิกเฉยต่อความไม่เท่าเทียม การกดขี่และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่นำไปสู่การฟื้นคืนของการประท้วงทั่วโลกในปี 2019 ทั้งนี้ สหรัฐฯในฐานะผู้นำระดับโลกกลายเป็นพวกเดียวกันกับประเทศต่าง ๆ ที่เคยประสบเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างคาดไม่ถึง[1]
          ห้วงเวลาหลายปีที่ชาวอเมริกันมองดูการเร่งปฏิกิริยาของขบวนการประท้วง จากสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติสี (Color Revolutions)[2] ที่เกิดขึ้นในประเทศที่แยกตัวจากอดีตสหภาพโซเวียตในช่วงกลางปี 2000 จนถึง Arab spring[3] ซึ่งครอบงำพาดหัวข่าวเมื่อต้นปี 2011 ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2020 ผู้ประท้วงชุมนุมบนท้องถนนเรียกร้องความยุติธรรม การปฏิรูปการเมืองและความรับผิดชอบในซูดาน อัลจีเรีย ชิลี ฮ่องกง เลบานอน และอีกหลายประเทศจากแอฟริกาเหนือถึงอเมริกาใต้
          การประท้วงในสหรัฐฯ กรณีการเสียชีวิตของ George Floyd ชายผิวดำในระหว่างการเข้าควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจในมลรัฐมินนิโซตา สะท้อนให้เห็นความเสื่อมถอยของอำนาจทางศีลธรรม (Moral Authority) รัฐบาลประธานาธบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกวิจารณ์โดยประเทศที่ปกครองแบบอำนาจนิยม ซึ่งสหรัฐฯเคยเรียกหาความรับผิดชอบเกี่ยวกับประวัติที่น่าสังเวชด้านสิทธิมนุษยชน จากปักกิ่งถึงเตหะราน คำวิจารณ์จากจีน ซึ่งคุมขังชาวอุยกูร์นับล้านคนในค่ายอาจพูดด้วยน้ำเสียงไม่จริงใจ แต่เมื่อ “การตอบสนองดีที่สุดของสหรัฐฯแย่กว่าประเทศอื่น” ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็หายไป
          หลังเหตุวินาศกรรม 9/11 เหตุการณ์ที่ Abu Ghraib[4] และ Guantanamo[5] ทำให้พลังอำนาจทางวัฒนธรรม (soft power) ของสหรัฐฯปลิวหายไป แต่กระนั้นผู้คนทั่วโลกยังคงรักษาศรัทธาที่มีต่อสถาบันอเมริกันและความมุ่งมั่นต่อภาคประชาสังคมที่แข็งแกร่ง แต่เมื่อมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100,000 คนในสหรัฐฯ เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาและการจัดการที่ผิดพลาด อัตราการว่างงานเกือบ 40 ล้านตำแหน่ง การจลาจลสร้างความวุ่นวายในเมืองใหญ่หลายเมือง เพื่อต่อต้านความอยุติธรรมทางเชื้อชาติและความโหดร้ายของตำรวจ ความไว้วางใจรัฐบาลของชาวอเมริกันตกต่ำถึงขีดสุด ความเสียหายของเยื่อใยทางสังคม (social fabric) ของประเทศนี้คงต้องใช้เวลาหลายปีในการซ่อมแซม
          การตอบสนองการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาของสหรัฐฯ ผสานกับภัยพิบัติทางเศรษฐกิจและการประท้วงในปัจจุบัน ทำให้จุดยืนระหว่างประเทศของสหรัฐฯตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว การถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) ท่ามกลางวิกฤติสุขภาพระดับโลก ทำให้สหรัฐฯสูญเสียปากเสียงสำคัญในองค์การพหุภาคีและปูทางให้จีนและประเทศอื่น ๆ เติมช่องว่างความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ
          ประชาชนธรรมดาและนักข่าวในประเทศอำนาจนิยมซึ่งถูกกดขี่ มีประสบการณ์ลุกฮือขึ้นต่อต้านเผด็จการและความอยุติธรรมมองเห็นความคล้ายคลึงของเหตุการณ์ที่ตนประสบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ แม้มีข้อจำกัดในการเปรียบเทียบ (ความเป็นเผด็จการที่ชัดเจน เสรีภาพของสื่อ บริบททางวัฒนธรรม ฯลฯ) แต่ยังคงมีความคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาของผู้นำสหรัฐฯ ตำรวจและกองกำลังรักษาความมั่นคง ซึ่งใช้วิธีการรุนแรงเข้มงวดและไม่ได้ผลตามที่คาดหวังในการปราบปรามการก่อความไม่สงบทางสังคมและการเมือง
ความอยุติธรรมที่เพิ่มขึ้นและชนกลุ่มน้อยชายขอบทางศาสนา ชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ไม่ได้เป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่ไม่ใช่ตะวันตก (non-Western) เท่านั้น ในทางตรงข้ามรูปแบบที่คล้ายคลึงกันแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การชุมนุมประท้วงในสหรัฐฯ การเพิกเฉยต่อชนกลุ่มน้อยนานหลายทศวรรษ การเหยียดเชื้อชาติอย่างเป็นระบบและการต่อต้านชาวแอฟริกัน – อเมริกันอย่างโหดร้ายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
             คงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเพิกเฉยต่อความไม่เท่าเทียม การกดขี่และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่นำไปสู่การฟื้นคืนของการประท้วงทั่วโลกในปี 2019 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯในฐานะผู้นำระดับโลกกลายเป็นพวกเดียวกับประเทศเผด็จการ เช่น อิยิปต์และซูดานอย่างคาดไม่ถึง อนึ่ง พลเมืองควรได้รับการคุ้มครองการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก เพื่อต่อต้านรัฐบาลที่ผิดพลาดในการอำนวยความยุติธรรม ละเมิดสิทธิมนุษยชนและขาดธรรมมาภิบาล





[1] WHAT PROTESTS IN THE UNITED STATES HAVE IN COMMON WITH PROTEST MOVEMENTS WORLDWIDE INTELBRIEF Friday, June 5, 2020 Available at: https://mailchi.mp/thesoufancenter/what-protests-in-the-united-states-have-in-common-with-protest-movements-worldwide?e=c4a0dc064a
[2] เป็นคำที่สื่อทั่วโลกใช้ในช่วงต้นยุค 2000 เพื่ออธิบายการเคลื่อนไหวที่พัฒนาขึ้นในหลายประเทศอดีตสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีนและคาบสมุทรบอลข่าน คำนี้ยังถูกนำไปใช้กับการปฏิวัติในที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง รวมถึงในตะวันออกกลางและเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ปี 1980 ถึงปี 2010 ผู้สังเกตการณ์บางคน เช่น Justin Raimondo and Michael Lind เรียกเหตุการณ์นี้ว่า คลื่นปฏิวัติ ซึ่งสามารถย้อนกลับไปถึงจุดกำเนิด การปฏิวัติพลังประชาชน (People Power Revolution) ปี 1986 (หรือที่รู้จักในชื่อปฏิวัติสีเหลือง) ในฟิลิปปินส์ สืบค้นที่: https://en.wikipedia.org/wiki/Colour_revolution
[3] หมายถึง คลื่นปฏิวัติ การเดินขบวนประท้วงและสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในโลกอาหรับตั้งแต่ 18 ธันวาคม 2010 หรือเหตุการณ์การลุกฮือของประชาชน เพื่อต่อต้านรัฐบาลในตะวันออกกลาง เริ่มต้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในตูนิเซีย เมื่อชายขายผักคนหนึ่งจุดไฟเผาตนเอง เนื่องจากไม่พอใจรัฐบาล จากนั้นการประท้วงได้ลุกลามขยายเป็นวงกว้างไปทั่วประเทศและภูมิภาคตะวันออกกลางรวมถึงแอฟริกาเหนือ ดู อาหรับสปริง : จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในตะวันออกกลาง Voice Online Jan 22012 สืบค้นที่: https://www.voicetv.co.th/read/26885
[4] เป็นชื่อเรือนจำซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรักไปทางตะวันตกเป็นระยะทาง 32 กิโลเมตร แรกเริ่มเดิมที เรือนจำแห่งนี้เป็นสถานที่ที่อดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ใช้กักขังผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเพื่อทำการทรมานและประหารต่อหน้าสาธารณชน แต่แล้ว เมื่อการปกครองของซัดดัม ฮุสเซน ล่มสลายไปด้วยการโจมตีทางทหารของสหรัฐฯในปี 2003 หน้าที่เช่นนั้นของเรือนจำของอาบู กราอิบก็จบสิ้นลง ผู้ถูกคุมขังทั้งทางการเมืองและในคดีอาชญากรรมทั่วไปที่มีอยู่เดิมได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ ชื่อของสถานที่ก็ถูกเปลี่ยนใหม่เป็น สถานที่กักขังกลางแห่งแบกแดด (Baghdad Central Confinement Facility  BCCF) สืบค้นที่ https://thaipublica.org/2018/05/natmaytee-2018-4/
[5] คุกกวนตานาโมตั้งอยู่บนพื้นที่ 45 ตารางไมล์ของฐานทัพเรือสหรัฐฯ ในคิวบา เปิดทำการเมื่อปี 2002 ในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช สถานที่แห่งนี้เป็นที่คุมขังทั้งนักโทษและผู้ต้องสงสัยในคดีก่อการร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ต้องสงสัยจากเหตุการณ์ 9/11 คุกแห่งนี้เป็นเหมือนดินแดนแห่งฝันของเหล่านักสืบข่าวกรอง มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับปฏิบัติกับนักโทษในแบบที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสหรัฐฯ นักโทษที่ถูกคุมขังอาจต้องอยู่ที่นี่ไปเรื่อยๆ โดยยังไม่มีการพิจารณาคดี ไม่มีโอกาสได้พบญาติและทนาย สืบค้นที่ https://themomentum.co/trumps-order-to-keep-guantanamo-open/
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.