บทเรียนจาก Langley: การบริหารปฏิบัติการไล่ล่าบินลาเดน (ตอนที่ 1) จุดเริ่มต้น

The CIA revealed how the al-Qaeda leader planned to escape (Image: GETTY)
https://www.express.co.uk/news/world/1121266/osama-bin-laden-escape-plot-revealed-cia-flee-pakistan-september-11-911-spt

ฏิบัติการสังหารโอซามา บินลาเดน ผู้ก่อการร้ายซึ่งเป็นที่ต้องการตัวมากที่สุดในโลกเมื่อ 2 พฤษภาคม 2011 เป็นสุดยอดการล่าสังหารระดับโลก ซึ่งใช้เวลานานกว่าทศวรรษและมีความสำคัญเร่งด่วนสูงสุดหลังเหตุการณ์โจมตีสหรัฐฯเมื่อ 11 กันยายน 2001  ปฏิบัติการดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อเหตุการณ์ภายหน้าของสหรัฐฯในการทำลายล้างผู้นำอัล-ไคดา ก่อนหน้านี้ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency-CIA) จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่อาวุโสจำนวนนับไม่ถ้วน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและนักวิเคราะห์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคและทีมสนับสนุนเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาข่าวกรองชิ้นสำคัญ
แต่เมื่อ Leon E. Panetta และ Jeremy Bash เข้ารับหน้าที่ในช่วงต้นปี 2009 ที่ Langley (ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ CIA) ไม่มีข่าวสารชี้นำหรือร่องรอยเกี่ยวกับที่อยู่ของบินลาเดนแต่อย่างใด การตามล่าบินลาเดนในช่วงปี 2009 - 2010 ให้บทเรียนหลายอย่างเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์การขนาดใหญ่ที่มีภารกิจหลากหลายและซับซ้อนภายใต้ความกดดัน ผู้เขียนทั้งสองเชื่อว่าบทเรียนการบริหารจัดการภารกิจทั้งหมดตรงประเด็นเกี่ยวเนื่องนอกเหนือจาก CIA[1]
CIA เป็นสถาบันระดับโลกที่รับผิดชอบภารกิจที่มีความเสี่ยงสูงในการปกป้องสหรัฐฯ บทวิเคราะห์ของ CIA จะได้รับการพิจารณาจากประธานาธิบดีสหรัฐฯในช่วงเช้าของทุกวัน ความสำเร็จของ CIA ส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ทราบ แต่ความล้มเหลวกลายเป็นตำนาน ภารกิจของ CIA เป็นงานหนักที่สุดในโลก กำลังพลของ CIA ประกอบด้วยมืออาชีพที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งในวิชาชีพของตน ส่วนใหญ่เข้ามาในช่วงต้นของการทำงานและอยู่จนเกษียณ เนื่องจากธรรมชาติของงานข่าวกรอง เจ้าหน้าที่ CIA จะมอบความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และสร้างความสงสัยแก่คนภายนอกและเป็นที่เข้าใจได้ถึงการต่อต้านแนวทางการทำงานข่าวกรองแบบใหม่ที่ชีวิตแขวนอยู่กับความเป็นความตาย
การกำหนดทิศทางลำดับความสำคัญเร่งด่วนในระบบราชการขนาดใหญ่นับเป็นงานยากแล้ว การผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่ CIA ในห้วงเวลาที่ภารกิจด้านการต่อต้านการก่อการร้ายถูกจับตามองอย่างเกรี้ยวกราดจากสื่อมวลชนและฝ่ายการเมืองเป็นงานท้าทายยิ่งกว่า ในการรับฟังคำบรรยายสรุปเกี่ยวกับภารกิจไล่ล่าบินลาเดน ผู้เขียนทั้งสองได้รับการยืนยันว่ามีทีมสนับสนุนการสืบสวนร่องรอยทุกชนิด แต่ทั้งสองเห็นว่าภารกิจดังกล่าวขาดความเร่งด่วนและไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส อีกทั้งฝ่ายบริหารระดับสูงของ CIA ไม่ได้ให้ความสำคัญ ความรู้ที่ได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าไปดูแลสถานการณ์ (ยังมีต่อ)



[1] สรุปบทความเรื่อง The Former Head of the CIA on Managing the Hunt for Bin Laden เขียนโดย Leon E. Panetta อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency-CIA) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ ผู้เขียนหนังสือ “Worthy Fights: A Memoir of Leadership in War and Peace” (Penguin Press, 2014) และ Jeremy Bash หัวหน้าฝ่ายอำนวยการของผู้อำนวยการ CIA และรัฐมนตรีกลาโหม ตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Business Review (MAY 02, 2016) https://hbr.org/2016/05/leadership-lessons-from-the-bin-laden-manhunt
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.