การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: “หมอดู” กับ “นักวิเคราะห์ข่าวกรอง” (ตอนที่ 1)

But if the watchman sees the sword coming and does not blow the trumpet, so that the people are not warned, and the sword comes and takes any one of them, that person is taken away in his iniquity, but his blood I will require at the watchman’s hand.

แต่ถ้าคนยามเห็นดาบมาแล้วและไม่เป่าแตร ประชาชนจึงไม่ได้รับเสียงตักเตือนและดาบก็มาพาคนหนึ่งคนใดไปเสีย คนนั้นถูกนำไปด้วยเรื่องความชั่วช้าของเขา แต่เราจะเรียกร้องโลหิตของเขาจากมือของยาม

Ezekiel 33:6 English Standard Version   

นอดีตกาลที่ผ่านมา “กษัตริย์” และ “นายพล” มักจะไปหารือขอคำแนะนำจากนักดาราศาสตร์หรือโหราจารย์ (หมอดู) ก่อนตัดสินใจเรื่องสำคัญ เช่น การทำสงครามหรือออกรบ ซึ่งเป็นความพยายามแก้ไขปัญหาแบบเก่าภายใต้เงื่อนไขความไม่แน่นอน แม้พวกเราหลายคนยังคงอ่านคำพยากรณ์รายวันเพื่อความสนุกและบันเทิงหรือไปหาหมอดู (ดูหมอ) แต่รัฐบาลในยุคสมัยใหม่แทบจะไม่ต้องพึ่งพาวิธีการ “ปรึกษา” แบบโบราณ
          ปัจจุบันผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการข่าวกรองได้สืบทอดบทบาทของบุคคลลึกลับเหล่านั้น ยกเว้นผู้ที่ถูกเรียกว่า นายทหารฝ่ายเสนาธิการ (staff officers) หรือข้าราชการพลเรือน (civil servants) แม้พวกเขาทำหน้าที่เป็นมือขวาของผู้มีอำนาจตัดสินใจ ทั้งนี้ ความพยายามใด ๆ ที่จะบรรยายรายละเอียดเชิงเปรียบเทียบระหว่าง “นักวิเคราะห์” และ “หมอดู” จะเปิดเผยให้เห็นมนุษย์สองจำพวกที่แตกต่างกัน
          ผู้มีอาชีพด้านการข่าวกรองไม่เคยอ้างตนว่าสามารถทำนายอนาคตได้ แม้จะมีความลับรายล้อมอยู่รอบตัวอย่างสม่ำเสมอ งานข่าวกรองเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมาแบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างในการวิเคราะห์ งานข่าวกรองมีขีดความสามารถและความได้เปรียบอันเป็นที่เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันควรตระหนักถึงข้อจำกัด ผู้มีอำนาจตัดสินใจทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ต้องแบ่งปันความรับผิดชอบกับนักวิเคราะห์ข่าวกรองในกรณีที่ตัดสินใจแย่ ๆ บนพื้นฐานของการประมาณการแบบคาดเดา
          บทความนี้[1]จะพูดถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างข่าวกรองกับ “ลูกค้า (clients)” หรือ “ผู้ตัดสินใจ” ที่อาจนำไปสู่การทำงานที่มีการบูรณาการเป็นอย่างดีและความพึงพอใจมากขึ้น
ลักษณะพิเศษของนักวิเคราะห์ข่าวกรอง (The Special Traits of Intelligence Analysts)
          อะไรคือความแตกต่างระหว่างผู้มีอาชีพด้านการข่าวกรองกับนักวิเคราะห์? ความได้เปรียบของผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองกับผู้เชี่ยวชาญอื่นคืออะไรไม่มีทางที่นักวิจัยด้านวิชาการ (academic researcher) ผู้มีคุณสมบัติสูงส่งและนักข่าว (journalist) จะมีคุณสมบัติด้อยกว่านักวิเคราะห์ข่าวกรอง เพราะความเชี่ยวชาญของบุคคลดังกล่าวได้รับจากการศึกษา โรงเรียนทหารและประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ยาวนาน อย่างไรก็ดี ลักษณะเฉพาะสามประการที่ทำให้นักวิเคราะห์ข่าวกรองแตกต่างจากผู้สังเกตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่
o  สามารถเข้าถึงข้อมูลอ่อนไหว ลึกซึ้ง พิเศษ ซึ่งเติมเต็มความรู้ในเรื่องที่กำหนด ลักษณะสำคัญของข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดเหนือผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ คือ นักวิเคราะห์ข่าวกรองมีข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้และมีชั้นความลับในปริมาณมากกว่าสำหรับใช้ในการวิเคราะห์
o  ข้อได้เปรียบหลักของนักวิเคราะห์ข่าวกรองคือ การมีกระบวนการรวบรวมวิเคราะห์ข่าวกรองแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Analysis) การวิเคราะห์เกี่ยวกับประเทศที่ระบุจะต้องมีข้อมูลครอบคลุมความเคลื่อนไหวและปัญหา การตัดสินใจแห่งชาติ การเมือง การทูตหรือการโฆษณาชวนเชื่อ
o  นักวิเคราะห์ข่าวกรองแตกต่างที่ความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็น นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญหัวห้อเรื่องนั้นหรือนักข่าวที่เขียนเรื่องเดียวกันต่างก็มีอุปสรรค ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับนักวิเคราะห์ข่าวกรอง กรณีหากทำนายผิด นักวิชาการและสื่อมวลชนจะร่างรายงานใหม่หรือตีพิมพ์พาดหัวข่าวใหม่โดยไม่มีอันตรายใด ๆ ต่ออาชีพ ไม่มีใครนึกถึงความรับผิดชอบในอาชีพ นักวิเคราะห์ข่าวกรองต้องรับผิดชอบต่อการคาดการณ์ของตน ทุกความผิดพลาดในส่วนตนมีผลกระทบทันทีทั้งตัวเองและผู้ที่ตัวเองต้องรายงาน
บทสรุปและข้อเสนอแนะของนักวิเคราะห์ข่าวกรอง เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการตัดสินใจของผู้นำทางการเมืองมีความสำคัญต่อประเทศชาติ ดังนั้น ผู้ตัดสินใจต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดและความเป็นไปได้ของการประมาณการข่าวกรอง



[1] สรุปบทความ เรื่อง “Estimates and Fortune-Telling in Intelligence Work” ตีพิมพ์ในวารสาร International Security Vol. 4, No. 4 (Spring, 1980), pp. 36 - 56 เขียนโดย พลตรี Shlomo Gazit อดีตผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองทางทหารของอิสราเอล (ปี 1974 – 1979) และผู้ประสานงานปฏิบัติการของรัฐบาลในดินแดนยึดครองปี 1967 -1974.
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.