5 คำถามเกี่ยวกับจีนที่ควรถกแถลงในที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (กบห.): ตอนแรก

ที่มาภาพ: https://www.cfr.org/timeline/us-relations-china

สถานการณ์ในฮ่องกงหลังการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ของจีนและความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ – จีนขยายตัว ห้องประชุมคณะกรรมการบริหาร (กบห.) และหัวหน้าผู้บริหาร (CEO) จำเป็นต้องพิจารณาความเสี่ยงในการทำธุรกิจกับและในจีนอย่างใกล้ชิด โดยมีข้อห่วงกังวลสำคัญ ประเด็น ได้แก่ ห่วงโซ่อุปทาน (supply chains) การขาย (sales) การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย (exposure to legal changes) การร่วมมือกับบริษัทจีน (collaboration with Chinese companies) และความปลอดภัยทางดิจิทัล (digital security) กบห.จำเป็นต้องตั้งคำถามและทำความเข้าใจอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับความเปราะบางของการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีน

วามสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนไม่เคยตึงเครียดแบบนี้มาก่อน นับตั้งแต่ทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกันในปี 1979 (สมัยประธานาธิบดี Jimmy Carter และ Deng Xiaoping ผู้นำจีน) ท่าทีที่เปลี่ยนไปอย่างแข็งกร้าวโดยเฉพาะในช่วงเดือนล่าสุด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อีกส่วนหนึ่งเพราะพัฒนาการความยุ่งยากในฮ่องกงและมีการพูดถึงการแยกตัวทางเศรษฐกิจ (decoupling) ที่สร้างขึ้นมาในช่วงหลายทศวรรษอย่างเด็ดขาด[1]
          เนื่องจากบริษัทสหรัฐฯหลายแห่งให้อิสระในการดำเนินการส่วนใหญ่ในจีน ผู้บริหารจัดการระดับสูงและคณะกรรมการบริการ (กบห.) จึงไม่เข้าใจความเสี่ยงที่เผชิญหน้า บนพื้นฐานการทบทวนการประเมินความเชื่อมั่นของ กบห. 75 แห่งในทางลับในรอบ 15 ปี พบว่าเกือบไม่มี กบห.ใดมีข้อมูล (ภาพสมบูรณ์) ทั้งหมดของการดำเนินการบนแผ่นดินใหญ่ของจีนรวมทั้งฮ่องกง ฝ่ายจัดการอาจนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการขายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดีมีรายละเอียดเกี่ยวกับจีนเพียงเล็กน้อยที่ปรากฏในระดับ กบห.
          ช่วงรุ่งเรืองของธุรกิจในจีน กบห.อาจไม่ต้องมองรายละเอียด แต่เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เมฆฝนตั้งเค้าและพายุกำลังใกล้เข้ามา ความยุ่งเหยิงในการเข้าถึงตลาดหรือห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของจีนและช่องทางการจัดซื้อจะกลายเป็นภัยพิบัติของหลายบริษัทรวมทั้งแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเช่น General Motors, Apple, และ Intel เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงจากจีน ผู้บริหารสหรัฐฯและ กบห.จำเป็นต้องเริ่มอภิปรายประเด็นปัญหาดังกล่าวและระเบียบวาระในที่ประชุมควรจะรวมถึง คำถามต่อไปนี้

1. เราพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานจากจีนมากเกินไปหรือเปล่า?
          มีการพูดถึงกันมากในสหรัฐฯเกี่ยวกับการลดการพึ่งพาจีน โดยเป็นเหตุผลที่บริษัทสหรัฐฯหลายแห่งย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามหรือเม็กซิโก แต่เป็นจำนวนน้อย ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวสำคัญในการย้ายฐานการผลิตจากจีนกลับไปสหรัฐฯมีค่าใช้จ่ายสูงและยุ่งยาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสหรัฐขาดแคลนผู้ผลิตที่มีทักษะสูงและการกระทำดังกล่าวอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงและไม่เอื้อประโยชน์จากทางการจีน
มากไปกว่านั้นจีนผูกขาดตลาดส่วนประกอบสำคัญหลายอย่าง ตามที่ผู้ว่าการมลรัฐนิวยอร์ก Andrew Cuomo พยายามตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 พบว่าน้ำยาชุดทดสอบการติดเชื้อมาจากจีน หน้ากากอนามัยและชุดป้องกันไวรัสมาจากแหล่งเดียวคือ จีน  ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนเกือบทั้งหมดที่มีใช้ในสหรัฐฯมาจากจีนหรืออย่างน้อยส่วนประกอบบางอย่างก็ผลิตในจีน
บางทีจีนอาจครอบงำการผลิตวัตถุดิบสำคัญในผลิตภัณฑ์ของเศรษฐกิจใหม่ (new economy) จากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจนถึงกังหันลม (wind turbines) รวมถึงแร่ธาตุหายาก (rare earth minerals) เช่น yttrium (ใช้สำหรับชาร์จอุปกรณ์อัจฉริยะเช่น โทรศัพท์สมาร์ทโฟน) cerium และ lanthanum (ใช้สำหรับหน้าจอระบบสัมผัสและ neodymium (ใช้ในแบตเตอร์รีรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า)

2. เราพึ่งพาการขายสินค้ากับจีนมากเกินไปหรือไม่?
          หากยอดขายของบริษัทหนึ่งในจีนมีจำนวนมากถึงร้อยละ 10  20 ก็เป็นที่ชัดเจนว่าต้องต่อสู้ในทุกระดับ เพื่อรักษายอดขาย ในหลายกรณีหมายความว่าบริษัทจะไม่สามารถรักษาระยะห่างสำคัญจากรัฐบาลจีน
ความใกล้ชิดกับรัฐบาลจีนอาจสร้างปัญหาที่ไหนสักแห่งรวมทั้งตลาดภายในสหรัฐฯ Clyde Prestowitz ผู้เขียนหนังสือที่กำลังจะออกวางขายชื่อ The World Turned Upside Down: China, America and the Struggle for Global Leadership ตั้งคำถามและแสดงความเห็นว่า  หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และ กบห. ต้องการช่วยจีนปกปิดความวุ่นวายในฮ่องกง ลบภาพใน Xinjiang และ Tibet และจมเรือประมงทั้งหมดที่ไม่ใช่ของจีนในทะเลจีนใต้หรือไม่? ซึ่งเขาเห็นว่าในบางกรณีการยอมทำตามจีนเป็นเรื่องแย่มาก
ความเสี่ยงที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ บริษัท Nvidia ของสหรัฐฯ ผู้ผลิตและจัดหาชิ้นส่วนกึ่งตัวนำ (semiconductor) ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีจดจำใบหน้า (facial recognition) อาจถูกรัฐบาลจีนใช้ในการละเมิดสิทธิมนุษยชน (โปรดติดตามอ่านต่อตอนจบ)





[1] 5 Questions About China That Boards Should Be Asking Right Now by William J. Holstein and Roger M. Kenny Harvard Business Review June 10, 2020 Available at: https://hbr.org/2020/06/5-questions-about-china-that-boards-should-be-asking-right-now?utm_medium=email&utm_source=newsletter_daily&utm_campaign=dailyalert_not_activesubs&deliveryName=DM83774
Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.