ความร่วมมือในเชิงการแข่งขันพัฒนาวัดซีน COVID-19

 


ที่มาภาพ: http://www.efinancethai.com/research/ASP/Daily_021120.pdf

การที่หลายประเทศกลับมา Lockdown อีกครั้งในช่วงปลายปี 2563 อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2564 ซึ่งหากการ Lockdown ดําเนินต่อไปจนถึงช่วง 1H64 จะส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยากลำบากมากขึ้น ASPS

ณะที่ไวรัส COVID-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก หลายประเทศเร่งพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ ทั้งนี้ รัสเซียและจีนส่งเสริม (การขาย) ผลการทดลองวัคซีนอย่างต่อเนื่องตามลำดับ แม้ผลลัพธ์บางส่วนเป็นไปในเชิงบวก แต่ก็มีข้อกังวลด้านจริยธรรมและความปลอดภัย ขณะที่สหรัฐฯหลีกเลี่ยงความร่วมมือระหว่างประเทศและดำเนินการทดลองพัฒนาวัคซีนในขั้นตอนต่าง ๆ จำนวนมาก อย่างไรก็ดี ความถดถอยด้านวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯเป็นอุปสรรคในการรณรงค์ด้านสาธารณสุข เพื่อแจกจ่ายและจัดการวัคซีนเมื่อผ่านการทดลองและอนุมัติ[1]

          คงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดเกินจริงเกี่ยวกับความสำคัญของการพัฒนาและแจกจ่ายวัคซีน COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย จนถึงปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ทั่วโลกมากกว่า 49 ล้านคนและเสียชีวิต 1.2 ล้านคน นับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรกเมื่อปลายปี 2019 ชุมชนต่าง ๆ เสียหายอย่างร้ายแรงและเศรษฐรอรับการสนับสนุนช่วยชีวิต ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกือบทุกภูมิภาคของโลก

ประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาต่างพยายามต่อสู้เพื่อบรรเทาผลกระทบ รัฐบาลและสังคมตะวันตกไม่เพียงล้มเหลวในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส แต่ยังจงใจเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน (disinformation) ความไม่ไว้วางใจและการเหยียดหยามวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ การบริหารงานตามลำพัง (go-it-alone) ของรัฐบาลทรัมป์ ไม่เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องร่วมมือจัดการปัญหาการแพร่ระบาด

การตอบสนองเฉพาะกิจของรัฐบาลกลางและท้องถิ่นในสหรัฐฯ โดยไม่ผูกมัดยุทธศาสตร์ชาติที่กว้างกว่า ทำให้เกิดหายนะที่คาดเดาได้ การเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังดำเนินอยู่เพิ่มความตึงเครียดให้กับการแพร่ระบาดของไวรัสและก่อให้เกิดความรู้สึกเร่งด่วนในการหาทางทำให้ประเทศกลับมาเดินหน้าต่อไปได้

          ข้อเสนอเรียบง่ายเช่น การปล่อยให้คนจำนวนมากติดเชื้อ เพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ภูมิคุ้มกันระดับชุมชน (herd immunity)” ดูเหมือนจะขาดไร้เหตุผล เนื่องจากพลเมืองจำนวนมากจะเสียชีวิต ด้วยเหตุนี้การพัฒนาวัคซีนยังคงเป็นแนวทางเดียวที่เป็นจริงได้ในระยะยาว สำหรับมาตรการด้านสาธารณสุขเช่น การสวมหน้ากากอนามัยอย่างแพร่หลายและการรักษาระยะห่างทางสังคมยังคงอยู่ในระดับต่ำเกินไปที่จะสกัดกั้นการแพร่ระบาด

ระหว่างที่มีการกักกัน (quarantine) เกิดเหตุความรุนแรงในครอบครัวมากเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับการใช้ยาเสพติด แอลกอฮอล์และการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ท่ามกลางความทุกข์ใจและความโกรธ ประเทศต่าง ๆ เร่งพัฒนาวัคซีน โดยจีนได้ประกาศแจกจ่ายวัคซีนในประเทศจำนวนมาก นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในการทดลองขนาดใหญ่

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เป็นพันธมิตรกับบริษัทจีนตั้งแต่กรกฎาคม 2020 จนถึงปัจจุบันมีประชากรมากกว่า 31,000 คนใน UAE และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเข้าร่วมการทดลอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับไวรัสที่ไม่มีฤทธิ์และต้องใช้ในปริมาณ 2 โดส UAE คาดหวังว่าจะผลิตวัคซีนในปริมาณ 75 100 ล้านโดสในปี 2021 อินโดนีเซียซึ่งมีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลกกำลังแสวงหาข้อเสนอวัคซีนจำนวนมากจากจีนเช่นกัน[2]

รัสเซียเป็นประเทศแรกที่ประกาศเมื่อสิงหาคม 2020 ว่า มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 ชื่อ Sputnik V แม้มีเหตุผลน่าสงสัยเกี่ยวกับการกล่าวอ้างดังกล่าว แต่ยังไม่มีการแจกจ่ายวัคซีนอย่างกว้างขวางตามมา ขณะที่การติดเชื้อ COVID-19 และผู้เสียชีวิตในรัสเซียกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง การกล่าวอ้างของรัสเซียมีขึ้น หลังจากมีการศึกษาขนาดเล็กมากและข้ามขั้นตอนปกติของการพัฒนาวัคซีน

มาตรฐานความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างมาก สำหรับการแจกจ่ายวัคซีนแก่ประชาชนหลายพันล้านคน รัฐบาลและบริษัทเอกชนต่างอยู่ภายใต้ความตึงเครียด รัสเซียพยายามเจาะระบบข้อมูลห้องปฏิบัติการวิจัยวัคซีนในสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน สหรัฐฯหลีกเลี่ยงการร่วมมือและตัดสินใจพัฒนาวัคซีนของตนด้วยปฏิบัติการ “Operation Warp Speed” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

ปฏิบัติการดังกล่าวนำโดยกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐฯ (Department of Health and Human Services -HHS) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control CDC) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health NIH) ซึ่งดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีนาคม 2020 จนถึงตุลาคม 2020 ล่าสุดมีการพัฒนาวัคซีนหลายรุ่น

ล่าสุดเมื่อ พฤศจิกายน 2020 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า บริษัทไฟเซอร์อิงค์ของสหรัฐฯแถลงความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนร่วมกับบริษัทไบโอเอ็นเทคเอสอี หุ้นส่วนจากเยอรมนี โดยการทดลองในคนระยะที่สามมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สูงกว่าร้อยละ 90 ทั้งนี้ ไฟเซอร์เตรียมยื่นคำร้องให้ทางการสหรัฐฯให้ความเห็นชอบการใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉิน ซึ่งคาดว่าจะได้รับอนุมัติภายในปลายเดือนนี้[3]

การพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพกลายเป็นการแข่งขันระดับโลก สหรัฐฯถอนตัวจากความร่วมมือระหว่างประเทศตามนโยบาย “America First” ของรัฐบาลทรัมป์ โดยแจ้งสหประชาชาติอย่างเป็นทางการว่าจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO) ใน กรกฎาคม 2021 นอกจากนี้รัฐบาลทรัมป์กล่าวหาว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เอาใจจีนมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากจีนทำให้ประชาคมโลกเข้าใจผิด เกี่ยวกับความรุนแรงของไวรัสโคโรนาในช่วงต้นของการแพร่ระบาด

การถอนตัวออกจาก WHO ท่ามกลางความท้าทายด้านสาธารณสุขโลก ทำให้สหรัฐฯอยู่นอกฉันทามติระหว่างประเทศและอิทธิพลถูกลดทอนลง ขณะที่จีนรับบทบาทผู้นำในการรับมือการแพร่ระบาดของไวรัส สหรัฐฯกลับถูกกลืนกินจากความท้าทายทางการเมืองในประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นและพยายามดิ้นรนทางเศรษฐกิจอย่างหนัก



[1] COMPETITION OVER COOPERATION IN THE RACE TO DEVELOP A COVID-19 VACCINE INTELBRIEF Thursday, October 292020 Available at: https://mailchi.mp/thesoufancenter/competition-over-cooperation-in-the-race-to-develop-a-covid-19-vaccine?e=c4a0dc064a

[2] Red Pill? Behind China's COVID-19 vaccine diplomacy NIKKEI ASIA CK TAN and ERWIDA MAULIA, Nikkei staff writers NOVEMBER 4, 2020 06:30 JST Available at: https://asia.nikkei.com/Spotlight/The-Big-Story/Red-Pill-Behind-China-s-COVID-19-vaccine-diplomacy?utm_campaign=RN%20Free%20newsletter&utm_medium=daily%20newsletter%20free&utm_source=NAR%20Newsletter&utm_content=article%20link&del_type=1&pub_date=20201104190000&seq_num=2&si=16103140

[3] ไฟเซอร์ประกาศผลสำเร็จทดลองวัคซีนโควิด ปลายปีนี้มี 50 ล้านโดส มติชน ออนไลน์  พฤศจิกายน 2563 - 19:58 น.เข้าถึงได้ที่: https://www.matichon.co.th/foreign/news_2434442

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.