เส้นทางสายไหมสาธารณสุข (Health Silk Road) ของจีนกับความท้าทายด้านความมั่นคง

Chinese Foreign Minister Wang Yi speaks to the media during his and Russian Foreign Minister Sergey Lavrov joint news conference following their talks in Moscow, Russia, on Sept 11, 2020. – AP ที่มา: https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/09/17/china-to-build-039health-silk-road039-with-russia-kazakstan-kyrgyzstan-and-mongolia

ารประกาศความตั้งใจกระชับความร่วมมือพหุภาคีด้านสาธารณสุขของจีนกับรัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถานและมองโกเลียมีแนวโน้มเผชิญปัญหาความยุ่งยากหลายอย่าง โดยระหว่างการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา (COVID-19) จีนได้ปรับปรุง “เส้นทางสายไหมสาธารณสุข (Health Silk Road)” เป็นเครื่องมือยกย่องตัวเองในฐานะผู้นำระดับโลกที่มีความรับผิดชอบ ทั้งนี้ เส้นทางสายไหมดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ทวิภาคแบบมีเงื่อนไขที่ทำให้จีนตอบสนองการแพร่ระบาดในระดับพหุภาคี อีกทั้งเป็นเครื่องปกปิดการแพร่ระบาดและความพยายามรุกล้ำของจีนที่นำมาซึ่งปัญหาท้าทายด้านความมั่นคง[1]

          เมื่อ 17 กันยายน 2020 สำนักข่าวซินหัวของรัฐบาลจีนเผยแพร่คำประกาศของ Wang Yi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่า จีน รัสเซีย คาซัคสถานและมองโกเลียได้ลงนามในข้อตกลงพหุภาคีกระชับความร่วมมือด้านสาธารณสุข เป็นตัวอย่างหนึ่งของความพยายามในการปรับเปลี่ยนแนวคิดเส้นทางสายไหมที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศอันเป็นเอกลักษณ์ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง หรือที่รู้จักกันในชื่อ ความริเริ่มแถบและเส้นทาง (The Belt and Road Initiative BRI)

แนวคิดดังกล่าวริเริ่มขึ้นในปี 2017 ผ่านบันทึกความเข้าใจระหว่างจีนและองค์การอนามัยโลก (WHO) แม้มีความปราถนาอย่างแรงกล้า แต่ให้คำสัญญาที่คลุมเครือในการสร้างประชาคมความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเฉยเมยจนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไปทั่วโลก จีนใช้ “เส้นทางสายไหมสาธารณสุข” ส่งเสริมภาพลักษณ์ของตนในเวทีโลกรวมทั้งปกป้องและพัฒนาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP)

          จีนดำเนินความพยายามหลายแนวทางในการทำให้ผลประโยชน์แห่งชาติก้าวหน้า ภายใต้ร่มธง “เส้นทางสายไหมสาธารณสุข” โดยให้ความช่วยเหลือทวิภาคีทางการแพทย์ ขายอุปกรณ์ สนับสนุนเงินกู้ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและสร้างกระแส “จีนเป็นผู้ชนะ” ในการตอบสนองการแพร่ระบาดในเวทีพหุภาคีผ่านช่องทางการทูตและสื่อสังคมออนไลน์ โดยเป็นการปรับภาพลักษณ์ของจีนในเวทีโลกจากการเป็น “ผู้ลอบวางเพลิง” (จุดเริ่มต้นการแพร่ระบาด) กลายเป็น “นักผจญเพลิง”

จีนมักเน้นย้ำถึงความล้มเหลวของยุโรปและสหรัฐฯในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส ขณะเดียวกันยกย่องความสำเร็จของตน “เส้นทางสายไหมสาธารณสุข” เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของจีนในการปรับโครงสร้าง BRI ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ตกต่ำจากการแพร่ระบาดทั่วโลก ซึ่งเน้นให้เห็นความเปราะบางของแรงงานและห่วงโซ่อุปทานตลอดจนความไม่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจเงินกู้จีน (Chinese loans) โลกหลังการแพร่ระบาดของไวรัส หลายประเทศผู้รับ BRI อาจไม่มองว่าโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีราคาแพงและทะเยอทะยานเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอีกต่อไป

เส้นทางสายไหมดังกล่าวเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการของประธานาธิบดีสีจะดำเนินต่อไปได้แม้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกเสียหายและเศรษฐกิจจีนเติบโตช้าลง ที่สำคัญเส้นทางดังกล่าวได้นำเสนอเรื่องราวที่สำคัญต่อชาวจีน ซึ่ง CCP รับผิดชอบและปกครองตามกฎหมาย จีนพยายามตีข่าวการตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในยุโรปและสหรัฐฯซึ่งปกครองในระบอบประชาธิปไตยเสรีว่า ประสบความเดือดร้อนและเสียหายมากกว่า

ปัญหาความมั่นคงและความท้าทายที่ปรากฎขึ้นพร้อมกับ “เส้นทางสายไหมสาธารณสุข” ได้แก่

          ประการแรก การมีส่วนร่วมที่มีความเมตตาอย่างเห็นได้ชัดมาพร้อมกับการกระทำที่มุ่งร้ายเช่น การรณรงค์ข้อมูลบิดเบือนที่ซับซ้อน การข่มขู่ การทูตแบบ “Wolf Warrior” และการโจมตีทางไซเบอร์ ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับเจตนาที่แท้จริงของจีนและความทะเยอทะยานทางภูมิศาสตร์การเมือง เช่น การให้ความช่วยเหลืออิตาลีในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาด จีนพยายามขยายความรู้สึกต่อต้านสหภาพยุโรปในประเทศ เพื่อแบ่งแยกความเป็นเอกภาพของยุโรปและความสัมพันธ์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

                    ประการต่อมา ความหวังของจีนที่จะรวม “เส้นทางสายไหมสาธารณสุข” กับ “เส้นทางสายไหมดิจิทัล” คุกคามการช่วยเหลือผู้นำอำนาจนิยมและบีบบังคับสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่ร่วม BRI โดยการส่งออกเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ใช้ในการสอดส่อง (surveillance) ด้วยการอำพรางว่าเป็นการรักษาความปลอดภัยสุขภาพของประชาชน

                    ประการสุดท้าย การกระทำของจีนถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนในท้องถิ่น ขณะที่ผู้นำก็เมินเฉยเพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญกับจีน วันเดียวกับที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ Wang Yi ไปเยือนมองโกเลีย เกิดการประท้วงของประชาชนในอูลานบาตอร์ โดยวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการผสมกลมกลืน (assimilation policies) อย่างเข้มงวดของ CCP และการใช้ความรุนแรงปราบปรามชนกลุ่มน้อยรวมถึงคนเชื้อสายมองโกลในจีน

                    การประท้วงในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นในคาซัคสถาน โดยเกี่ยวเนื่องกับการกดขี่ชาวคาซัค อุยกูร์และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในมณฑลซินเจียง โครงการ “เส้นทางสายไหมสาธารณสุข” แม้มีความครอบคลุม แต่ก็สร้างความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค ทำให้แนวโน้มรัฐอำนาจนิยมเป็นปึกแผ่น ล่วงละเมิดอธิปไตยและความเป็นอิสระของหลายประเทศ

          ขณะที่สหรัฐฯถอยออกจากการเป็นผู้นำโลกท่ามกลางวิกฤต จีนกลับใช้ประโยชน์จากสุญญากาศอำนาจเพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์และอ้างตนเป็นผู้นำโลกที่มีความรับผิดชอบ การใช้ “เส้นทางสายไหมสาธารณสุข” กระชับความสัมพันธ์พหุภาคีกับสมาชิกองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization - SCO) เป็นสัญญาณว่าจีนพยายามควบคุมและใช้ประโยชน์จากนโยบาย BRI และ SCO เพื่อเสริมสร้างจุดยืนในเวทีโลก

ภาวะผู้นำของจีนและการมีส่วนร่วมทางการทูตกับประเทศในกลุ่ม SCO บ่งชี้ว่า องค์กรนี้เป็นจุดเริ่มต้นทางความคิดของจีนในประเด็นความมั่นคงแบบดั้งเดิม เพื่อสร้างฉันทามติและความร่วมมือกับประเทศนอกกลุ่ม ซึ่งอาจก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมทางภูมิศาสตร์การเมืองในภูมิภาคและอื่น ๆ



[1] THE SECURITY CHALLENGES PRESENTED BY CHINA’S ‘HEALTH SILK ROAD’ INTELBRIEF October 2, 2020 https://mailchi.mp/thesoufancenter/the-security-challenges-presented-by-chinas-health-silk-road?e=c4a0dc064a

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.