RCEP: ข้อตกลงการค้า “มาตรฐานต่ำมาก (very low - grade)” ในเอเชีย-แปซิฟิกที่จีนเป็นศูนย์กลาง (ตอนแรก)

ที่มาภาพ: https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-11-04/what-s-the-rcep-and-what-happened-to-the-tpp-quicktake

าเซียน[1] และพันธมิตร 5 ประเทศ[2] ลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership - RCEP) เมื่อ 15 พศจิกายน 2020 เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีที่มีมูลค่ากว่าร้อยละ 30 ของ GDP โลก ข้อตกลงดังกล่าวทำให้เอเชียกลายเป็นตัวเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่และคาดว่าจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของ GDP โลกภายในปี 2030[3] ขณะที่สหรัฐฯในยุคว่าที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนน่าจะกำลังหาทางฟื้นฟูความเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจและการค้าในเอเชีย-แปซิฟิก[4]

          เมื่อต้นปี 2017 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯถอนตัวจากข้อตกลงการค้า 12 ประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เรียกว่า TPP[5] ต่อมาเมื่อพฤศจิกายน 2019 นายกรัฐมนตรี Narendra Modi ของอินเดียได้ถอนตัวจากการรวมกลุ่มการค้าที่นำโดยจีนซึ่งเรียกว่า RCEP การถอนตัวทั้งสองกรณีส่วนหนึ่งเป็นการปกป้องทางการค้า อย่างไรก็ดี ความพยายามรวมกลุ่มการค้าในเอเชียแปซิฟิกดำเนินต่อไป เมื่อมีการลงนามในข้อตกลง RCEP สมาชิก15 ประเทศ คำถามคือ ข้อตกลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อความพยายามส่งเสริมอิทธิพลและธุรกิจทั่วเอเชียของสหรัฐและจีน[6]

          RCEP เป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมตลาดที่มีประชากรรวมกันประมาณ 2,200 ล้านคนหรือร้อยละ 30 ของจำนวนประชากรโลก มี GDP รวมกันประมาณร้อยละ 26.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 30 ของ GDP โลก ปริมาณส่งออกสินค้าร้อยละ 29 ของโลกและมูลค่าการค้า 10.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐหรือเกือบร้อยละ 28 ของมูลค่าการค้าโลก สาระสำคัญของข้อตกลง RCEP ได้แก่

                    การค้าสินค้า (Trade in goods): ภาคีสมาชิก RCEP จะยกเลิกภาษีและโควตาสินค้าทันทีร้อยละ 65 และตั้งเป้าหมายจะให้ครอบคลุมสินค้าร้อยละ 90 ของการค้าในอีก 20 ปีข้างหน้า

                    กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of origin): กำหนดกรอบของกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า – ประเทศผู้ส่งออกใน RCEP สามารถใช้ปัจจัยการผลิตที่มาจากสมาชิกรายอื่น เพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าภายในกลุ่ม

                    การอำนวยความสะดวกทางด้านศุลกากร (Custom facilitation)RCEP มีเป้าหมายที่จะขจัดอุปสรรคการค้าที่ไม่ใช่ภาษี โดยรวมบทบัญญัติอำนวยความสะดวกทางการค้าบนพื้นฐานศุลกากรที่ง่ายขึ้น

          อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff barriers to trade)เช่น การบริการ การลงทุน พาณิชย์อิเล็กทอนิกส์ (e-commerce) การแข่งขัน การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ ทรัพย์สินทางปัญญาและการเดินทางของผู้คน

สมาชิก RCEP ส่วนใหญ่ หวังว่าความตกลงนี้จะมีส่วนช่วยรับมือความท้าทายที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ด้วยการสร้างกลุ่มการค้า ห่วงโซ่อุปทานและการลงทุน ขณะที่จีนก็มองหาแนวทางในการบูรณาการตนเองกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนรัฐบาลทรัมป์เตือนให้หลีกเลี่ยงการให้เงินกู้เพื่อโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี 5G ของจีน อย่างไรก็ดี จีนยังคงยินดีต้อนรับอินเดีย[7]กลับมาร่วมกลุ่มเมื่อมีความพร้อม

ความแตกต่างของ RCEP กับ TPP คือ ประเทศสมาชิก RCEP ไม่ต้องเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ปกป้องสิทธิแรงงาน รักษามาตรฐานสิ่งแวดล้อมและทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่ง Wilbur Ross รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯระบุว่าเป็น “ข้อตกลงมาตรฐานต่ำมาก (very low grade treaty)” และขาดวิสัยทัศน์ของ TPP แต่การที่ RCEP ใกล้จะมีผลบังคับใช้ แสดงให้เห็นอิทธิพลที่ลดน้อยลงของสหรัฐฯและทำให้ธุรกิจสหรัฐฯยากที่จะแข่งขันได้ในภูมิภาคอันกว้างใหญ (ยังมีต่อ)



[1] สมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

[2] ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้

[3] Special Coverage: RCEP reinforces growth momentum in Asia HSBC 25 Nov 2020 Available at: https://www.hsbc.com.my/wealth/insights/market-outlook/global-event/2020-11-25/

[4] ดู In Focus: ส่องนโยบาย America is back! สหรัฐกลับมาทวงคืนบัลลังก์ผู้นำโลก  ข่าวต่างประเทศ 02 ธ.ค. 63 10:47 infoquest https://www.infoquest.co.th/2020/51195

[5] ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกเป็นความตกลงที่ต่อยอดมาจาก Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement ระหว่าง 4 ประเทศสมาชิก ได้แก่ บรูไน ชิลี นิวซีแลนด์และสิงคโปร์หรือที่เรียกว่าความตกลง P4 ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2549 ต่อมาในปี 2551 สหรัฐฯ ออสเตรเลีย เปรู และเวียดนาม ได้เข้าร่วมการเจรจา P4 และขยายกรอบการเจรจาออกมาเป็นความตกลง Trans-Pacific Partnership (TPP) เพื่อเพิ่มการค้า การบริการและการลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิก อีกทั้งสร้างมาตรฐานการค้าและกฎระเบียบร่วมกันในเรื่องการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ สมาชิกที่เข้าร่วม TPP ประกอบด้วย 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา ชิลี เม็กซิโก เปรู ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไนและเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของ GDP โลก สืบค้นที่: https://www.scbeic.com/th/detail/product/1820

[6] Why China Is Creating a New Asia-Pacific Trade Pact: QuickTake By Enda Curran BLOOMBERG November 5, 2019, 12:30 AM GMT+7 Updated on November 16, 2020, 7:11 AM GMT+7 Available at: https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-11-04/what-s-the-rcep-and-what-happened-to-the-tpp-quicktake

[7] ถอนตัวจาก RCEP เนื่องจากต้องการปกป้องแรงงานภาคบริการและการเกษตรรวมทั้งกังวลว่าจะมีการไหลบ่าของสินค้าราคาถูกจากจีน นายกรัฐมนตรี Modi พยายามผลักดันประเทศอื่น ๆ ให้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการขาดดุลและการเปิดตลาดบริการและการลงทุนของอินเดีย

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.