RCEP ข้อตกลงการค้า “มาตรฐานต่ำมาก (very low - grade)” ในเอเชีย-แปซิฟิกที่จีนเป็นศูนย์กลาง (ตอนจบ)

ที่มาภาพ: https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-11-04/what-s-the-rcep-and-what-happened-to-the-tpp-quicktake

HSBC คาดว่า ในปี 2030 ส่วนแบ่งการค้าของ RCEP จะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตทั่วโลก โดยจีนแผ่นดินใหญ่ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะได้ประโยชน์ทางการค้ามากที่สุดจากข้อตกลง RCEP ด้วยการขยายเครือข่ายการผลิตของตน ทั้งนี้ ภาคส่วนใดบ้างที่จะได้รับประโยชน์จาก RCEP?

1. การผลิตขั้นสูงในจีนแผ่นดินใหญ่ เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ภายใต้ RCEP คาดว่า การส่งออกจากจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นมากที่สุดภายในปี 2030[1] โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตขั้นสูงรวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องจักรและยานพาหนะในลักษณะส่วนเสริมห่วงโซ่อุปทาน

2. ห่วงโซ่อุปทานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กฎเกณฑ์ทางการค้าร่วมจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและการกระจายฐานการผลิต ธุรกิจต่างชาติจะได้รับประโยชน์จากการสร้างโรงงานผลิตในตลาดอาเซียนที่มีต้นทุนต่ำกว่า ตัวอย่างเช่น จีนอาจย้ายกำลังการผลิตด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจำนวนหนึ่งไปยังเศรษฐกิจของอาเซียนบางประเทศ นอกจากนี้จีนในฐานะผู้ส่งออกปัจจัยการผลิตสำคัญระดับกลางจะได้รับประโยชน์

3. การบริโภคดิจิทัล (digital consumption) ข้อกำหนดสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และห่วงโซ่อุปทานแบบบูรณาการมากขึ้นของ RCEP จะเป็นแรงผลักดันการบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่คาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้จะเพิ่มขึ้น 3 เท่าเป็น 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก 5 ปีข้างหน้า[2] เชื่อว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะจุดหมายปลายทางการลงทุนจะได้รับการฟื้นฟูจากผลลัพธ์ของ RCEP

4. การอัพเกรดทางเทคโนโลยี จีนซึ่งเป็นผู้นำด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) คลาวด์คอมพิวติ้ง โดรน ฯลฯ สามารถช่วยยกระดับศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศคู่ค้าในอาเซียน

ที่มาภาพผวาจีนกินรวบตลาด RCEP หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า ฉบับที่ 3631 (29 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2563) https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/458432

5. เกาหลีใต้และญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์มากที่สุดในตลาดน้ำมันและเคมีเอเชีย เนื่องจากข้อตกลง RCEP จะปูทางให้มีการลดภาษีอย่างช้า ๆ ขณะที่สิงคโปร์และมาเลเซียจะเสียเปรียบมากขึ้น โดยเกาหลีใต้และญี่ปุ่นจะป้อนผลิตภัณฑ์น้ำมันหลายชนิดให้กับอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันที่กำลังขยายตัวของจีนเช่น น้ำมัน Light-cycle oil (LCO) น้ำมันดิน น้ำมันพื้นฐาน อโรเมติกส์และวัตถุดิบตั้งต้นของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ซึ่งจีนนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ประมาณ 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020[3]

เกิดอะไรขึ้นกับ TPP หรือความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership - CPTPP) ซึ่งลงนามโดยสมาชิก 11 ประเทศเมื่อมีนาคม 2018 มีผลบังคับใช้ใน ประเทศ การถอนตัวของประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯโดยอ้างว่า ต้องการข้อตกลงทางการค้าทวภาคีที่ดีกว่านี้ แม้ ว่าที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีท่าทีเปิดกว้างที่จะเข้าร่วมกลุ่ม CPTPP แต่ยังคงต้องการเห็นการปรับปรุงบางอย่างของข้อตกลง

ประเทศไหนอยู่ฝั่งไหน ขณะนี้มี ประเทศที่กำลังเจรจาต่อรองทั้งสองฝั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน ญี่ปุ่นมาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์และเวียดนาม สำหรับ สหรัฐฯ แคนาดา ชิลี เม็กซิโกและเปรูกำลังเจรจาเฉพาะ TPP ส่วนประเทศใน RCEP เท่านั้น นอกเหนือจาก จีน ได้แก่ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้และไทย ทั้งนี้ สหรัฐฯไม่ได้ถูกกันออกจาก RCEP เสียทีเดียว หากจะเข้าร่วมสหรัฐฯจะต้องบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีกับอาเซียนจากนั้นขอสมัครเข้าร่วม อย่างไรก็ดี ประเทศเอเชียจะยินดีต้อนรับหรือไม่?[4]



[1] Regional trade agreements will reorient East Asian economies away from the US Peterson Institute for International Economics (PIIE) June 16, 2020 Peter A. Petri (PIIE) and Michael G. Plummer (Johns Hopkins University and East-West Center) Available at: https://www.piie.com/research/piie-charts/regional-trade-agreements-will-reorient-east-asian-economies-away-us

[2] e-Conomy SEA 2019: Southeast Asia’s $100 billion Internet economy, Google, Temasek and Bain & company, 2019.

[3] RCEP เปิดทางให้เกาหลีใต้-ญี่ปุ่นป้อนน้ำมันสู่จีน ข่าวหุ้น 14 ธันวาคม 2020 หน้า 12

[4] Team Biden says America is back. But is Asia ready to welcome it? ALEX FANG, MARRIAN ZHOU and FRANCESCA REGALADO, Nikkei staff writers NIKKEI ASIA DECEMBER 2, 2020 Available at https://asia.nikkei.com/Spotlight/The-Big-Story/Team-Biden-says-America-is-back.-But-is-Asia-ready-to-welcome-it?utm_campaign=RN%20Free%20newsletter&utm_medium=daily%20newsletter%20free&utm_source=NAR%20Newsletter&utm_content=article%20link&del_type=1&pub_date=20201202190000&seq_num=2&si=16103140

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.