แนวโน้มการเดินทางในยุคหลัง COVID-19

A member of the New York National Guard hands out health forms to arriving passengers at LaGuardia Airport. This year will see more travel requirements and more paper work. PHOTO: ANGUS MORDANT/BLOOMBERG NEWS ที่มาภาพ: https://www.wsj.com/articles/what-to-expect-from-travel-in-2021-if-anything-11609941849

ารดำเนินชีวิต ทำงานและเดินทางเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยแรงผลักดันทางกายภาพ ดิจิทัลและชีวภาพสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 (4IR)[1] การเพิ่มขึ้นของกระเป๋าล้อลาก (wheelie-bag) สะท้อนต้นทุนที่ลดลงและความเร็วในการเดินทางได้ระยะไกลเพิ่มขึ้น ค่าโดยสารเครื่องบินราคาถูกกว่ารายได้และเวลาพักผ่อนมากขึ้นทำให้การเดินทางไปต่างประเทศกลายเป็นเรื่องปกติของหลายคนที่ต้องการหลีกหนีความเครียดในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ การเดินทางท่องเที่ยวนำมาซึ่งประสบการณ์และความทรงจำใหม่ ๆ (หรือช่วงเวลาแบ่งปันภาพบน Instagram)

          ความสะดวกในการเดินทางไม่เพียงทำให้การท่องเที่ยวขยายตัว บริษัทต่าง ๆ กระจายตัวไปทั่วโลกพร้อมคนทำงาน การเดินทางเพื่อธุรกิจช่วยให้บริษัทข้ามชาติเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทาน การหลีกหนีความจำเจทำให้ผู้คนกระจายไปทั่วโลกเพื่อทำงาน เรียนรู้หรือเปลี่ยนบรรยากาศ สมาชิกครอบครัวที่แยกย้ายจากกันไปจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารหรือเข้าร่วมงานแต่งงานและงานวันเกิดในต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้นำโลกมารวมกันโดยทำให้ครอบครัวและมิตรสหายอยู่ห่างกันได้ไกลมากขึ้น[2]

          องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) ระบุในรายงานประจำปีเมื่อ 28 มกราคม 2021 ว่า 2020 เป็นปีที่เลวร้ายที่สุดของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งสูญเสียรายได้ (การส่งออก) ประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ การเดินทางระหว่างประเทศลดลงร้อยละ 74 เนื่องจากอุปสงค์การท่องเที่ยวลดลงประกอบกับข้อจำกัดการเดินทางจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าการฟื้นตัวอาจล่าช้าออกไปอย่างน้อยในปี 2023[3]                

          การเดินทางสมัยก่อนเป็นไปอย่างเชื่องช้ายากลำบากและราคาแพง เนื่องจากต้องอาศัยแรงลมหรือแรงม้า ยุคเครื่องจักรไอน้ำและทางรถไฟทำให้การเดินทางดีขึ้นเล็กน้อยและไกลขึ้น เมื่อ 100 ปีที่ผ่านมาเรือเดินสมุทรหรือเรือเหาะเป็นทางเลือกที่มีราคาแพง ค่าโดยสารชั้นหนึ่งบนเรือไททานิคในปี 1912 เริ่มต้นที่ 30 ปอนด์ (3,500 ดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน) ส่วนค่าตั๋วเรือเหาะ Hindenburg  ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกราคา 400 ดอลลาร์สหรัฐในปี 1936

การเดินทางระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็เพราะการบิน รถไฟสายทรานส์ไซบีเรียจากปักกิ่งไปยังมอสโกใช้เวลาเดินทางกว่า วัน แต่การบินใช้เวลาประมาณ 7 ชั่วโมง จุดเปลี่ยนสำคัญอีกอย่างคือ ค่าตั๋วโดยสารถูกลง โดยในปี 1950 มีผู้เดินทางไปต่างประเทศเพียง 25 ล้านคน ขณะที่ UNWTO ระบุว่าในปี 2019 การเดินทางเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ล้านครั้ง (ไม่รวมการอพยพ ลี้ภัยและการเยี่ยมพำนักเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี)

          เกือบ ใน 5 ของการเดินทางระหว่างประเทศเป็นการโดยสารเครื่องบิน เปรียบเทียบกับร้อยละ ของการเดินทางโดยเรือเดินสมุทรและร้อยละ 1 โดยรถไฟ นักเดินทางร้อยละ 35 ที่ข้ามพรมแดนด้วยรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป ซึ่งอยู่ในตลาดการเดินทางใหญ่ที่สุดในโลก โดยใช้ประโยชน์จากทวีปขนาดเล็กและถนนหนทางที่ดีของตน ร้อยละ 55 ของการเดินทางไปต่างประเทศมีแรงจูงใจมาจากการท่องเที่ยว

การเดินทางเพื่อธุรกิจคิดเป็นร้อยละ 11 ของการเดินทางทั้งหมด ส่วนใหญ่ที่เหลือคือ การไปเยี่ยมครอบครัวและเพื่อนในต่างประเทศ บางส่วนเดินทางด้วยเหตุผลทางศาสนา (ชาวมุสลิม ล้านคนมาเยี่ยมเมืองเมกกะทุกปี) และประมาณ 15 ล้านคนเดินทางเข้ารับการรักษาพยาบาลในปี 2017

          นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศช่วยเติมเต็มโรงแรม ร้านอาหาร บริษัทรถเช่าและผู้ประกอบการท่องเที่ยว การใช้จ่ายของพวกเขาแตะ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2019 ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 การเดินทางคิดเป็นร้อยละ 4.4 ของ GDP และร้อยละ 6.9 ของการจ้างงานในประเทศองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)

การเดินทางระหว่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 6.5 ของการส่งออกทั่วโลกในปี 2019 ตามข้อมูลขององค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวโดยรวมการเดินทางและการท่องเที่ยวสร้างงานมากกว่า 330 ล้านตำแหน่ง โดยสภาการท่องเที่ยวโลก (WTTC) อ้างว่าคิดเป็น ใน 10 ของการจ้างงานทั่วโลก

          COVID-19 ทำลายล้างอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาเสรีภาพการเดินทางของผู้คน ห้วงมีนาคม - พฤษภาคม 2020 การเดินทางระหว่างประเทศยุติลงเกือบทั้งหมด เนื่องจากการปิดพรมแดนของ ใน 5 ของประเทศทั่วโลก นักท่องเที่ยวถูกห้ามหรือไม่สามารถเดินทาง จำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศลดลงร้อยละ 70 - 75 ในปี 2020 UNWTO ประเมินว่านักเดินทางลดลง 1,000 ล้านคนและใช้จ่ายลดลง 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 10 เท่าของการใช้จ่ายเพื่อการเดินทางหลังวิกฤติการเงินในปี 2009 แม้มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ แต่การฟื้นตัวยังดูห่างไกล OECD คาดว่า อุปสงค์การท่องเที่ยวจะเป็นภาคสุดท้ายของเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัว

          การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเครื่องบินไอพ่นเชิงพาณิชย์ลดลงอย่างมากในปี 2020 ทำให้เกิดการถกเถียงกันมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีลดมลพิษอย่างถาวร โดยหยุดพักการท่องเที่ยวแบบล้นเกิน มองในแง่ดีในระยะยาวความเชื่อมโยงระหว่างความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นและความต้องการเดินทางคงจะยังไม่สะดุดลง ในที่สุดต้นทุนระยะสั้นที่สูงขึ้นและการแพร่ระบาดของ COVID-19 อาจเป็นปัจจัยเร่งให้การเดินทางสดวกขึ้นและสร้างความเสียหายน้อยลง ปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกำลังเปลี่ยนแปลงและสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นอาจจะดีกว่าเดิม



[1] International Trends in 4IR Mobility PWC UK October 2020 https://www.pwc.co.uk/sustainability-climate-change/assets/pdf/international-trends-in-4ir-for-mobility.pdf

[2] What will travel look like after the pandemic? ECONOMIST Special report Feb 13th 2021 edition https://www.economist.com/special-report/2021/02/11/what-will-travel-look-like-after-the-pandemic

[3] 2020: WORST YEAR IN TOURISM HISTORY WITH 1 BILLION FEWER INTERNATIONAL ARRIVALS ALL REGIONS UNWTO 28 JAN 21 Available at: https://www.unwto.org/news/2020-worst-year-in-tourism-history-with-1-billion-fewer-international-arrivals

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.