ทำความเข้าใจวิวัฒนาการของ “ขบวนการญิฮาด” ระดับโลก

 

1st Edition Global Jihadism Theory and Practice By Jarret M. Brachman Copyright Year 2009

ที่มาภาพhttps://images.routledge.com/common/jackets/amazon/978041545/9780415452427.jpg

บวนการญิฮาดมิได้เป็นแนวหน้าของการปฏิวัติตามที่โอซามา บิน ลาเดน อดีตผู้นำอัล-ไคดาเคยจินตนาการไว้ แต่เป็นการประท้วงซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ความจัดเจนทั้ง “การผสมผสาน (hybridization)” และ “การเปลี่ยนอัตลักษณ์ศาสนา (salafization)”[1] รวมถึงพัฒนาการของขบวนการญิฮาดในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอย่างมาก ทั้งนี้ การปรากฎตัวของกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) ช่วยยกระดับการต่อสู้ทางการเมืองของขบวนการญิฮาดเพื่อสร้าง “สังคมยุคเมืองก่อนรัฐ (jihadi proto-state)” ดังนั้น การตอบโต้ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายของพวกญิฮาด จึงต้องทำความเข้าใจวิวัฒนาการของขบวนการและกำหนดนโยบายใหม่ในการตอบโต้ทางการเมืองและการทหาร[2]

          การประสานความร่วมมือระหว่างโอซามา บิน ลาเดนกับคอลิด เชค โมฮัมหมัดและผู้ก่อการร้ายในสังกัดอัล-ไคดาเพื่อโจมตีสหรัฐฯ เมื่อ 9 กันยายน 2021 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการญิฮาดทั่วโลก ส่งผลให้   อัล-ไคดาอยู่แถวหน้าของวาระและผูกขาดนโยบายความมั่นคงของชาติตะวันตกตลอดช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้ อัล-ไคดาและขบวนการญิฮาดได้เปลี่ยนสภาพไปอย่างมีนัยสำคัญหลายประการ ซึ่งเห็นได้จากการตอบโต้การก่อตั้งรัฐอิสลาม (IS)

วัตถุประสงค์เริ่มแรกของบิน ลาเดน คือ การสร้างขบวนการแนวหน้าเพื่อต่อสู้กับระบอบการปกครองในโลกอิสลามที่ละทิ้งความศรัทธาและกระตุ้นให้เกิดการจลาจลก่อความไม่สงบในท้องถิ่น ความสำเร็จของขบวนการ      ญิฮาดทั่วโลกดูเหมือนจะเกินความทะเยอทะยานสูงสุดของเขา อาทิ การแพร่ขยายกลุ่มพันธมิตรในหลายประเทศและการระดมนักรบจำนวนมาก ความสำเร็จของกลุ่ม IS ได้เปลี่ยนขบวนการญิฮาดให้กลายเป็นขบวนการประท้วงที่สามารถดึงดูดผู้คนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มอิสลามสุดโต่งและกลุ่มติดอาวุธจากทั่วโลก

          ตัวแบบการก่อตั้งและขยายเครือข่ายอัล-ไคดาเมื่อหลายสิบปีก่อนถูกทำซ้าโดยกลุ่ม IS และกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันนักรบอิสลามสยายปีกไปทั่วหลายภูมิภาค ตั้งแต่ด้านตะวันตกของซาเฮลไปจนถึงฟิลิปปินส์ทางตะวันออก จากคอเคซัสทางตอนเหนือไปจนถึงโมซัมบิกทางตอนใต้ แม้กลุ่มติดอาวุธเหล่านี้เห็นอกเห็นใจและยึดถืออุดมการณ์กลุ่มญิฮาดในระดับหนึ่ง แต่ก็มีความแตกต่างกันในแง่วัตถุประสงค์ ลำดับความสำคัญและยุทธวิธี

แกนหลักของขบวนการญิฮาดกำหนดลำดับความสำคัญของศัตรูตามวาระระดับโลก โดยเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน (hybrid) เพื่อจัดลำดับความสำคัญการกำหนดเป้าหมายที่แตกต่างในพื้นที่และทั่วโลก ช่วงจุดสูงสุดระหว่างปี 2015 และ 2017 กลุ่ม IS ประสบความสำเร็จในการกำกับการก่อความไม่สงบในท้องถิ่นหลายครั้ง ขณะเดียวกันก็สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความสะพรึงกลัวกลุ่มก่อการร้ายที่ใช้อิลามสร้างความชอบธรรมแก่ตนเอง (Islamists Terrorism) ในชาติตะวันตก

          ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขบวนการญิฮาดพยายามเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางศาสนา ตามแนวคิดของขบวนการ  ซาลาฟี (salafization) ซึ่งได้รับความนิยมในชุมชนอิสลาม แม้มีความพยายามร่วมกันในการอธิบายว่า อัล-ไคดาเป็นองค์กรที่มีอุดมการณ์พื้นฐานแบบ Salafi-jihadi แต่กลุ่มนี้มีแนวคิดหลากหลายซึ่งได้รับอิทธิพลจากความคิดของ Sayyid Qutb  นักปรัชญาอิสลามชาวอียิปต์ ส่วนแนวคิดซาลาฟีมีลักษณะเฉพาะโดยตีความคัมภีร์อัล-กุรอ่านตามตัวอักษรอย่างเข้มงวด

แนวคิดแบบซาลาฟีมีชื่อเสียงในแวดวงญิฮาดในช่วงกลางปี​​2000 โดยเป็นตัวกำหนดความคิดของ Abu ​​Musab al-Zarqawi ผู้นำกลุ่มติดอาวุธอัล-ไคดาในอิรัก แนวคิด Salafi-jihadi ครอบงำความคิดของนักรบญิฮาดของ IS ซึ่งยึดถือเป็นธรรมนูญการปกครอง โดยปลูกฝังและบังคับประชากรภายใต้การควบคุมของตนให้เชื่อฟังผ่านกฎเกณฑ์และการลงโทษที่เข้มงวดในทางปฏิบัติ

          ความทะเยอทะยานในการปกครองของกลุ่ม IS นับเป็นวิวัฒนาการสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างการเติบโตของขบวนการญิฮาด ในฐานะกองกำลังปฏิวัติ จุดแข็งของอัล-ไคดาคือ ความสามารถในการก่อกวนและโจมตีศัตรูอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้รับความสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการชักชวนสมาชิก ส่วนจุดอ่อนคือ การขาดความสามารถในการปกครอง ซึ่งเห็นได้จากความล้มเหลวในการดำเนินการทั้งในเยเมนและมาลี

กลุ่ม IS และกลุ่มติดอาวุธในอิรักมีแนวโน้มเปลี่ยนแนวทางการต่อสู้ทางทหารมาเป็นการเมืองที่ยั่งยืน ช่วงเวลาที่เคลื่อนไหวอยู่ทางตะวันตกของอัฟกานิสถานระหว่างปี 1990 และ 2006 al-Zarqawi พยายามสร้างสังคมขนาดเล็ก หลังการเสียชีวิตของเขาในปี 2006 อัล-ไคดาในอิรัก (AQI) ประกาศจัดตั้งรัฐอิสลามในอิรัก (ISI) โดยเป็นองค์กรทางการเมืองอย่างเป็นทางการซึ่งแบ่งกระทรวงรับผิดชอบเฉพาะด้าน

กลุ่ม IS และกลุ่ม Hay'at Tahrir al-Sham (HTS) คู่แข่งขนาดกลาง ยังคงพยายามพัฒนาสร้าง “รัฐญิฮาด”ต่อไป ส่งผลให้กระบวนการทางการเมืองของขบวนการญิฮาดมีความซับซ้อมมากขึ้น ซึ่งขบวนการมักจะหลีกเลี่ยงการให้รายละเอียดของโครงการทางการเมืองอย่างชัดเจน

          นอกจากวิวัฒนาการภายใน ขบวนการ Salafi-jihadi ยังต้องปรับตัวเพื่อรับมือแรงกดดันจากการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างเข้มข้นของสหรัฐฯและพันธมิตรได้แก่ ปฏิบัติการทางทหารทั้งตามแบบและนอกแบบ การจำกัดการเดินทางและมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งท้าทายความสามารถในการปฏิบัติการของขบวนการ การเด็ดหัวผู้นและการจำกัดภัยคุกคามของชาติตะวันตก ขบวนการ Salafi-jihadi ไม่เพียงต้องจัดการแรงกดดันเพื่อความอยู่รอด แต่ยังใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความแข็งแกร่งเป็นระยะ ๆ

ความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องและสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่เปราะบางรวมถึงซีเรีย อิรัก อัฟกานิสถาน โซมาเลีย ไนจีเรีย ซาเฮล โมซัมบิกและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกได้เปิดทางให้กลุ่มญิฮาดหาที่หลบภัย ชักชวนสมาชิก ร่วมปฏิบัติการทางทหารและบางครั้งวางแผนและสั่งการโจมตีก่อการร้ายในประเทศตะวันตก ข้อสรุปที่น่าเศร้าคือ 20 ปีหลังจากการโจมตี 9/11 ขบวนการญิฮาดปรากฏตัวขึ้นในเชิงภูมิศาสตร์และได้รับการสนับสนุนเชิงตัวเลขอย่างแข็งแกร่งมากกว่าที่เคยเป็นมา

          ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายเสร็จสิ้นภารกิจการใช้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายและจำกัดการเคลื่อนไหวของกลุ่มญิฮาด แต่ยังมีงานที่ต้องทำอีกมาก ปัจจัยสำคัญนการตอบโต้ภัยคุกคามจากขบวนการ Salafi-jihadi คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและวิวัฒนาการของขบวนการญิฮาดร่วมสมัยในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อแสดงให้เห็นขบวนการซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก

ลัทธิญิฮาดไม่ได้เป็นตัวแทนของพวกหัวรุนแรงทางศาสนาอีกต่อไป แต่เป็นปรากฏการณ์ข้ามอุดมการณ์ ซึ่งทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็ว บางครั้งเกิดขึ้นในช่วงสองสามสัปดาห์หรือหลายเดือน ก่อนหน้านี้ต้องใช้เวลาหลายปีในการศึกษาอย่างระมัดระวังและฝึกอบรมอย่างลับ ๆ ด้วยเหตุนี้ ทางการจึงต้องเลิกเพ่งความสนใจไปที่การตีความทางศาสนาอย่างแคบของพวกหัวรุนแรงและให้รวมปัจจัย “ความเปราะบาง” เข้ามาด้วย

ในอนาคตผู้มีแนวคิดสุดโต่งหรือผู้ก่อการร้ายไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่ยอมรับแนวคิดที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง แต่อาจเป็นบุคคลที่ขาดอัตลักษณ์ ความมั่นคงและค้นหาความมุ่งหมายในชีวิต เช่นเดียวกับกรณี Moyed al-Zoebi ชาวซีเรียที่เดินทางมาสวีเดนเพื่อขอลี้ภัยพร้อมกับภรรยาและบุตรชายวัย 1 ขวบ ต่อมาเขาถูกกลุ่ม IS ชักชวนให้ก่อเหตุในเมืองหลวงของเดนมาร์ค แต่ถูกจับกุมและลงโทษจำคุก 12 ปี เป็นหนึ่งในหลายตัวอย่างที่พิสูจน์ได้


[1] ขบวนการซาลาฟี (Salafism) หมายถึงขบวนการเผยแผ่ที่ตั้งใจจะเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางศาสนาของมุสลิมสำนักนิกายอื่น ๆ  โดยมุ่งหมายที่จะเจริญรอยตามวัตรปฏิบัติทางศาสนาและศีลธรรมของอิสลามสามรุ่นแรกหรือบรรพบุรุษผู้ทรงธรรม (al-salaf al-salih) จึงตีความคัมภีร์อัล-กุรอานแบบตรงตามตัวอักษร  เป้าหมายสูงสุดของขบวนการซาลาฟีคือ ทำให้มุสลิมสำนักนิกายอื่น ๆ ยอมรับว่าอิสลามในแบบของซาลาฟีคือ หลักศาสนาดั้งเดิม ขณะที่การตีความแบบอื่นเป็นการบิดเบือนจากรูปแบบบริสุทธิ์ของศาสนา  ในเชิงความคิดนั้น กลุ่มเหล่านี้แตกต่างจากขบวนการปฏิรูปศาสนาอิสลาม ซึ่งอ้างตัวเป็นขบวนการซาลาฟีเช่นกัน เข้าถึงได้ที่: https://kyotoreview.org/thai/modalities-of-salafi-transnationalism-in-southeast-asia-thai-2/

[2] THE EVOLUTION OF THE GLOBAL JIHADIST MOVEMENT FROM A ONE-HEADED MONSTER TO A HYDRA INTELBRIEF Friday, July 30, 2021 Available at: https://mailchi.mp/thesoufancenter/the-evolution-of-the-global-jihadist-movement-from-a-one-headed-monster-to-a-hydra?e=c4a0dc064a

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.