คว่ำบาตรโอลิมปิกที่ปักกิ่งเพื่อประท้วงสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์

 

ที่มาภาพ: https://www.olympic.org/beijing-2022

หัวข้อการสนทนาเรื่อง “สหรัฐฯควรคว่ำบาตรการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2022 ที่ปักกิ่งหรือไม่” เริ่มทวีความร้อนแรง ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ยังคงอ่อนไหวต่อการวิพากษ์วิจารณ์ของสาธารณชนเกี่ยวกับสิ่งที่จีนถือว่าเป็น “ปัญหาภายใน” ทั้งนี้ การคว่ำบาตรโอลิมปิกจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่กว้างขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพลวัตด้านสิทธิมนุษยชนในจีน ดังนั้นรัฐบาลของประธานาธิบดี Biden คงจะต้องถกเถียงกันว่าการคว่ำบาตรจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้หรือไม่[1]

          ท่ามกลางสงครามเย็น ในปี 1980 สหรัฐฯคว่ำบาตรการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่มอสโก โดยรัฐบาลประธานาธิบดีคาร์เตอร์ตัดสินใจประท้วงการรุกรานอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียต สี่ปีต่อมาโซเวียตตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่ลอสแองเจลิสปี 1984 นอกเหนือจากจำนวนเหรียญรางวัลที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของประเทศเจ้าภาพ การคว่ำบาตรครั้งนั้นมีผลกระทบที่เป็นรูปธรรมเพียงเล็กน้อย

การตัดสินใจเชิงสัญลักษณ์ของสหรัฐฯมชัดเจนอย่างมาก โดยโลกเห็นว่าสหรัฐฯให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนและยอมรับว่าการทูตด้านกีฬาเป็นหนทางเดียวที่จะเน้นย้ำถึงความสำคัญของปัญหานี้ สาเหตุที่ทำให้เกมกีฬาส่งเสียงดังก้องไปทั่วโลกก็เพราะการให้ความสำคัญกับการรวมตัวกัน รวมทั้งความเป็นเลิศและการเน้นย้ำถึงจิตวิญญาณของมนุษย์ที่ไม่ควรใช้ล้างบาปการละเมิดสิทธิมนุษยชน

          การคว่ำบาตรการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2022 ที่ปักกิ่งเป็นวิธีเดียวที่สหรัฐฯแสดงความมุ่งมั่นที่จะยืนหยัดร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์ในจีน ซึ่งกำลังเผชิญกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วยน้ำมือของพรรคคอมมิวนิสต์จีน รวมถึงชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ที่ตกอยู่ภายใต้การปราบปราม ขณะที่ จีนปฏิเสธเรื่องการก่ออาชญากรรมต่อชาวอุยกูร์ ด้วยข้ออ้างที่ไม่น่าเชื่อถือว่า ศูนย์กักกันเป็นเพียง “ค่ายปรับทัศนคติ (reeducation camp)”

จีนอ้างว่ามาตรการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายและลัทธิหัวรุนแรง สอดคล้องกับความพยายามของนานาชาติ แต่ในความเป็นจริงเลวร้ายยิ่งกว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ BBC รายงานข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานและความรุนแรงทางเพศอย่างเป็นระบบต่อชาวอุยกูร์ โดยระบุว่าจีนกำลังใช้มาตรการห้ามผู้หญิงคลอดบุตรรวมถึงการบังคับให้ทำหมันและการทำแท้งรวมทั้งมีรายงานว่าเด็กชาวอุยกูร์ถูกนำตัวออกไปจากชุมชน

การแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่งปี 2022 จัดขึ้นในจีนเป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกจีนจัดโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 2008 ซึ่งไม่มีการคว่ำบาตรหรือการหยุดชะงัก จากนั้นก็มีแรงกดดันเกี่ยวกับประวัติด้านสิทธิมนุษยชนของจีนขณะนี้ผู้นำจีนยังคงอ่อนไหวต่อการวิพากษ์วิจารณ์ของสาธารณชนเป็นอย่างมาก จีนปกป้องอธิปไตยของตนอย่างดุเดือดและรับรู้ถึงการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการแทรกแซง “กิจการภายใน” ของตน

มีเสียงเรียกร้องจากองค์กรสิทธิมนุษยชนและในรัฐสภาสหรัฐฯ ให้คว่ำบาตรกีฬาโอลิมปิกที่จีนเป็นเจ้าภาพ จนถึงขณะนี้รัฐบาลประธานาธิบดี Biden หลีกเลี่ยงการแสดงเจตจำนงต่อสาธารณะและโยนเรื่องการตัดสินใจให้คณะกรรมการโอลิมปิกและพาราลิมปิกของสหรัฐฯ ซึ่งควรเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่กว้างขึ้นในการปรับปรุงพลวัตด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย

การทำให้จีนอับอายน่าจะส่งผลในทางตรงข้าม โดยจีนจะมีปฏิกิริยาเชิงลบต่อการคว่ำบาตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นที่ทราบกันดีว่าจีนจะกดดันประเทศอื่น ๆ มหาวิทยาลัยและบริษัทรวมทั้งบุคคลต่าง ๆ ในเรื่องที่มีนัยสำคัญน้อยกว่าและยังคงอ่อนไหวต่อความเสี่ยงด้านชื่อเสียง หากสหรัฐฯคว่ำบาตรการแข่งขันกีฬาฤดูหนาวที่ปักกิ่งจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ – จีน

นอกเหนือจากการส่งเสริมภาพลักษณ์ของจีนในฐานะผู้นำระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแข็งแกร่งหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก โอลิมปิกฤดูหนาวในปี 2022 มีความสำคัญต่อการเมืองภายในประเทศของจีนอย่างมาก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เช่น ขยายสนามบิน Zhangjiakou Ningyuan และการพัฒนาพื้นที่ Xiong'an New Area เพื่อจัดแสดงสินค้าและใช้งานทั้งภายในและต่างประเทศ

CCP พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อบรรเทาความแออัดของกรุงปักกิ่ง ไม่เพียงเพื่อปี 2022 แต่ยังมุ่งหวังมากกว่านั้น จีนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในสหประชาชาติเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการแข่งขันกีฬากีฬาโอลิมปิก นอกจากนี้ในปี 2022 จะมีการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 20 ของ CCP ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของพรรคในอนาคตรวมถึงแผนการของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง[2]

เจ้าหน้าที่ในรัฐบาล Biden มีแนวโน้มที่จะถกเถียงกันว่า การคว่ำบาตรจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้หรือไม่ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่เป็นเวทีแสดงจุดยืนทางการเมืองและสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด กีฬาโอลิมปิกที่เบอร์ลินปี 1936 เจสซี โอเวนส์ยืนหยัดอย่างภาคภูมิและท้าทายบนแท่นรับเหรียญทอง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเลิศและศักดิ์ศรีเคียงข้างนาซีเยอรมนี

ในการแข่งขันกีฬาเม็กซิโกซิตี้ปี 1968 ทอมมี สมิธและจอห์น คาร์ลอสชูกำปั้นเพื่อสนับสนุน Black Power และต่อต้านการเหยียดสีผิวซึ่งยังคงดำเนินต่อไปและทิ้งร่องรอยในสหรัฐฯ การประท้วงและชัยชนะเชิงสัญลักษณ์ไม่ได้หมายถึงการสิ้นสุดของการเหยียดเชื้อชาติหรือการกดขี่และไม่ได้คาดการณ์ถึงผลกระทบ อย่างไรก็ดี พวกเขาบรรลุเป้าหมายในการทำให้โลกหันมาสนใจการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีความเสมอภาคและสิทธิมนุษยชน

คำถามของการคว่ำบาตรไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของนักกีฬาแต่ละคน แต่เพื่อประเทศต่าง ๆ กล่าวคือ หากนักกีฬาเหล่านี้ไม่ไปปรากฎตัวจะมีพลังมากกว่าการปรากฏตัวหรือไม่ ปัจจัยในการตัดสินใจคว่ำบาตรทำให้มีการอภิปรายที่สำคัญยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในจีนหรือไม่

รัฐบาล Biden แสดงความต้องการที่จะทำงานร่วมกับหุ้นส่วนและพันธมิตรในการทำความตกลงกับจีนตามสัญญาณการคว่ำบาตรที่เกี่ยวข้องกับซินเจียงรอบล่าสุด ซึ่งกำหนดโดยสหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษและสหภาพยุโรป ประเทศพันธมิตรที่ประสานการคว่ำบาตรการแข่งขันกีฬาที่ปักกิ่งในปี 2022 โดยเฉพาะประเทศที่ครองเหรียญจำนวนมากในอดีตเช่น แคนาดาและสแกนดิเนเวียน่าจะสามารถส่งสัญญาณที่หนักแน่นได้



[1] BOYCOTTING BEIJING? THE OLYMPIC GAMES AND PROTESTING UIGHUR GENOCIDE INTELBRIEF April 2, 2021 Available at: https://mailchi.mp/thesoufancenter/boycotting-beijing-the-olympic-games-and-protesting-uighur-genocide?e=c4a0dc064a

[2] China Looks Ahead to 20th Party Congress in 2022 By Tristan Kenderdine THE DIPLOMAT December 07, 2020 Available at: https://thediplomat.com/2020/12/china-looks-ahead-to-20th-party-congress-in-2022/

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.