คว่ำบาตรรัสเซีย: ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจยุคใหม่

 

ที่มาภาพ: https://www.cagle.com/paresh-nath/2014/03/threatening-russia

ารรุกรานยูเครนของรัสเซียเป็นปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่ปี 1945 และถือเป็นยุคใหม่ของสงครามเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงสูงถึงขนาดทำลายเศรษฐกิจโลก มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของตะวันตกรุนแรงมากพอที่จะก่อให้เกิดความโกลาหลในระบบเศรษฐกิจมูลค่า 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐของรัสเซียส่งผลให้ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูตินข่มขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์[1]

ความยากจนของเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและสร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลกรวมทั้งจีนคงจะต้องคำนวณ “ต้นทุน” ของการทำสงครามกับไต้หวันอีกครั้ง ตะวันตกควรให้ความสำคัญเร่งด่วนกับ“สงครามเศรษฐกิจ” เพื่อเอาชนะรัสเซียและสร้างหลักนิยม (doctrine) ในการควบคุมการใช้อาวุธประภทนี้ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงไปสู่ “การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ” ในวงกว้าง

          ในช่วงแรกรัสเซียไม่ได้สนใจคำขู่คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด เนื่องเพราะความ “ไร้ประสิทธิภาพ” ของการคว่ำบาตรในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะที่สหรัฐฯและยุโรปลังเลในการใช้พลังอำนาจทางทหาร (hard power) โดยหันมาใช้การลงโทษทางเศรษฐกิจแทน ทั้งนี้ สหรัฐฯคว่ำบาตรบุคคลหรือบริษัท (นิติบุคคล) ประมาณ 10,000 แห่ง ใน 50 ประเทศ คิดเป็นมูลค่าร้อยละ 27 ของ GDP โลก ครอบคลุมการกระทำผิดทุกอย่างตั้งแต่การทรมานไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล แต่สร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อย

ผู้ปกครองที่มีอำนาจเด็ดขาดสามารถหลบเลี่ยงการตกเป็นเป้าหมายการคว่ำบาตรในรูปแบบต่าง ๆ การคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซุเอลาอย่างเต็มที่ไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เนื่องจากความอ่อนแอของอำนาจยับยั้งและผู้ตกเป็นเป้าหมายเชื่อว่าสหรัฐฯคงจะไม่ใช้มาตรการ “กดดันขั้นสูงสุด” กับเศรษฐกิจขนาดใหญ่

          เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2022 มีการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวในการคว่ำบาตรเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยห้ามบริษัทตะวันตกทำธุรกรรมกับธนาคารขนาดใหญ่ของรัสเซียยกเว้นการค้าพลังงาน และขับรัสเซียออกจากระบบการชำระเงินทั่วโลก (SWIFT) ทำให้การชำระเงินข้ามพรมแดนยุติลง

ธนาคารกลางรัสเซียไม่สามารถเข้าถึงทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวน 6,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ความเชื่อมั่นเหือดหายไป เงินรูเบิลร่วงลงร้อยละ 28 เนื่องจากเงินทุนต่างประเทศไหลออก อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นตลาดหลักทรพย์รัสเซียร่วงลงกว่าร้อยละ 90 ในการซื้อขายนอกประเทศและบริษัทข้ามชาติกำลังจะถอนตัวจากรัสเซียประชาชนแห่ไปถอนเงินจากธนาคาร[2]

          ภาวะช็อกกอาจนำไปสู่การรัฐประหารหรือ “เงินสดตึงตัว” (Cash Crunch) หน่วงเหนี่ยวการทำสงคราม แต่ประธานาธิบดีปูตินอาจตอบโต้ด้วยอาวุธเศรษฐกิจของของตนรวมถึงการลดปริมาณการส่งออกก๊าซ หลังจากมีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ในปี 1945 ต้องใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาหลักนิยมเพื่อควบคุมการตอบโต้

ท่ามกลางความโกลาหล ไม่มีเวลาสำหรับมาตรการใดนอกจากการคว่ำบาตร หลักการที่ชัดเจนประการหนึง คือ ตะวันตกจะต้องตอบสนองการตอบโต้ทางเศรษฐกิจของรัสเซียด้วยมาตรการสร้างความเสียหายมากขึ้น เพื่อทำให้การตอบโต้นั้นไร้เหตุผล การขัดขวางบริการทางเทคโนโลยีและการส่งออกน้ำมันของรัสเซียซึ่งมีรายได้มากกว่าการส่งออกก๊าซถึงสี่เท่ายังคงเป็นความได้เปรียบของตะวันตก

          หากตะวันตคว่ำรัสเซียโดยเชื่อมประสาน “อำนาจยับยั้ง” ของอาวุธแบบใหม่จะสร้างผลกระทบที่น่ากลัวในระยะยาว ยิ่งมีการใช้อาวุธทางเศรษฐกิจมากเท่าไร ประเทศต่าง ๆ ก็จะยิ่งหาทางหลีกเลี่ยงการพึ่งพาระบบการเงินของตะวันตกมากขึ้นเท่านั้น ทำให้การกีดกันหรือขับออก (exclusion) มีประสิทธิภาพน้อยลง นำไปสู่การแตกแยกที่เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจโลก ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ความกลัวการห้ามส่งสินค้าออก (trade embargo) เกี่ยวข้องกับการพึ่งพาตนเองและขอบเขตอิทธิพลทางเศรษฐกิจ

          ความกังวลของระบอบอำนาจนิยมซึ่งเป็นเจ้าของกองทุนสำรองเงินตราและทรัพย์สินมูลค่า 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้จีนสามารถสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจตะวันตกโดยการปิดกั้นห่วงโซ่อุปทาน แต่ชัดเจนว่าในกรณีที่เกิดสงครามกับไต้หวัน ตะวันตกอาจยึดทุนสำรองเงินตรามูลค่า 3.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐของจีนได้ แม้แต่ประเทศประชาธิปไตยบางประเทศ เช่น อินเดีย ซึ่งหลีกเลี่ยงการประณามการรุกรานยูเครนของรัสเซียก็อาจกังวลว่าตนมีความเสี่ยงต่อแรงกดดันจากตะวันตกมากขึ้น

ในทศวรรษหน้า การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอาจสร้างเครือข่ายการชำระเงินใหม่ ๆ ที่แยกจากระบบธนาคารตะวันตก การทดลองใช้สกุลเงินดิจิทัลของจีนมีผู้ใช้งาน 261 ล้านคน ขณะนี้เป็นเรื่องยากที่จะเก็บเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐนอกตลาดตะวันตก แต่อาจมีหลายประเทศพยายามหาทางกระจายทุนสำรองของตนด้วยการลงทุนในที่อื่นให้มากขึ้น

          การกระจายตัวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การใช้มาตรการคว่ำบาตรประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาและทวีความรุนแรงในขณะนี้มีความเสี่ยงที่จะผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ออกจากระบบการเงินที่นำโดยตะวันตกมากเกินความต้องการ หลังจากวิกฤตยูเครนผ่านไปตะวันตกควรตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะควบคุมการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจได้อย่างไร

การมุ่งเป้าไปยังบุคคลและบริษัท (นิติบุคคล) ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ค่อยจะได้ผลก็ตาม ควรทำให้ชัดเจนว่าการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแบบทำลายล้างที่ใช้กับรัสเซีย สงวนไว้สำหรับกรณีการรุกรานและสงครามที่เลวร้ายที่สุด ดังนั้น อาวุธทางเศรษฐกิจของตะวันตกจึงควรใช้อย่างชาญฉลาด



[1] A new age of economic conflict The Economist Mar 2nd 2022 Available at: https://www.economist.com/leaders/a-new-age-of-economic-conflict/21807968?utm_content=article-link-1&etear=nl_today_1&utm_campaign=a.the-economist-today&utm_medium=email.internal-newsletter.np&utm_source=salesforce-marketing-cloud&utm_term=3%2F2%2F2022&utm_id=1067237

[2] Where will he stop? History will judge Vladimir Putin harshly for his war The Economist Feb 25th 2022 Available at: https://www.economist.com/leaders/2022/02/25/history-will-judge-vladimir-putin-harshly-for-his-war

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.