Web3 หมายถึงอะไร (ตอนที่ 1)

ที่มาภาพ: https://www.code.ng/2021/10/what-is-web-30-and-why-is-it-important.html

ดิมเรามี web1  หรือ “อินเตอร์เน็ต” ที่ทุกคนรู้จักกันดี จากนั้นก็มี Web2 ซึ่งผู้ใช้สร้างขึ้น (user-generated web) โดยการประโคมของสื่อสังคม (social media) เพื่อโต้ตอบกันได้อย่างอิสระและอัปเดตข่าวสารได้ตลอดเวลาจนถึงขณะนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ผู้คนกำลังพูดถึง web3 หรือบางครั้งเรียกว่า web 3.0 อันเป็นวิวัฒนาการแบบก้าวกระโดดครั้งต่อไปของอินเตอร์เน็ต แล้วทั้งหมดที่กล่าวมาหมายถึงอะไร?[1]

ปัจจุบันยังคงมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับ Web3 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการและยังไม่มีความชัดเจน อย่างไรก็ตาม หลักการสำคัญของเรื่องนี้คือ การกระจายอำนาจจากศูนย์กลาง (decentralized) มากกว่าการควบคุมโดยรัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ เช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน บางครั้งมีการขยายขอบข่ายเชื่อมโยงกับแนวคิด “เมตาเวิร์ส”

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการพูดถึงคำว่า “เว็บ 3.0” กันบ่อยรั้ง เพื่ออธิบายสิ่งที่เรียกว่า “semantic web[2] อันเป็นแนวคิดของ Sir Tim Berners-Lee “บิดาแห่งอินเตอร์เน็ต” หมายถึงภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แนวความคิดของ Berners-Lee เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เราเรียกว่า web3 ในปัจจุบัน แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดก็ตาม

เว็บแบบกระจายศูนย์ (decentralized web) คืออะไร? โครงสร้างพื้นฐานของเว็บไซต์ยอดนิยมที่เราใช้เวลาออนไลน์และออกไป(ท่อง) เที่ยวมักเป็นของบริษัทต่าง ๆ ซึ่งถูกควบคุมโดยรัฐบาล เนื่องจากเป็นวิธีง่ายที่สุดในการสร้างเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีคนจ่ายเงินเพื่อติดตั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์และซอฟต์แวร์ที่มีคนต้องการเข้าถึงออนไลน์ จากนั้นจะเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการหรือให้ใช้งานฟรีตราบเท่าที่เราปฏิบัติตามกฎของเจ้าของ

ขณะนี้มีทางเลือกอื่นในการจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดหลักสองประการคือ การเข้ารหัสและการประมวลผลแบบกระจาย การเข้ารหัสหมายความว่าเฉพาะผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บในบล็อคเชน แม้ข้อมูลนั้นถูกจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น เช่น รัฐบาลหรือบริษัทก็ตาม

ส่วนการประมวลผลแบบกระจายคือ การแบ่งปัน (shared) แฟ้ม/ไฟล์ (file) ข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก หากสำเนาไฟล์ใดไม่ตรงกับสำเนาอื่น ๆ แสดงว่าข้อมูลในไฟล์นั้นไม่ถูกต้องโดยเป็นการเพิ่มระดับการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง ไม่มีใครสามารถควบคุมการเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลหรือเครือข่ายแบบกระจายทั้งหมด

แนวคิดดังกล่าวหมายความว่า ข้อมูลถูกจัดเก็บภายใต้การควบคุมของบุคคลที่เป็นเจ้าของเท่านั้น แม้อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทหรือภายใต้การควบคุมของรัฐบาลท้องถิ่น เจ้าของข้อมูลหรือรัฐบาลก็ไม่สามารถเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลหากไม่มีกุญแจการเข้ารหัสที่พิสูจน์ความเป็นเจ้าของ แม้จะปิดหรือถอดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ออก ก็ยังสามารถเข้าถึงได้บนคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งจากหลายร้อยเครื่องที่จัดเก็บข้อมูล

แนวคิดสำคัญอื่น ๆ เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคของ web3 คือ การเป็นระบบเปิดที่สร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์แบบเปิด (open-source software) ผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือไว้วางใจซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทำงานได้ (trustless) การโต้ตอบและการทำธุรกรรมระหว่างสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องใช้บุคคลที่สามที่เชื่อถือได้ ไม่เหมือนใน web2 หรือก่อนหน้านั้นที่เราจะต้องแน่ใจว่าใครก็ตามที่เป็นเจ้าของสื่อที่เราใช้โต้ตอบหรือทำธุรกรรมนั้นไม่ได้ปลอมแปลงหรือตัดต่อการสื่อสาร

ตัวอย่างการทำธุรกรรมที่ไม่จำเป็นต้องไว้วางใจบน web3 คือ การส่ง Bitcoin ไปยังบุคคลอื่นโดยไม่ผ่านการแลกเปลี่ยนออนไลน์หรือกระเป๋าเงินที่เก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง การทำธุรกรรมถูกควบคุมโดยอัลกอริธึมบล็อคเชนและการเข้ารหัส ทั้งนี้ โอกาสที่จะมีใครเข้ามาขัดขวางเกือบเป็นศูนย์ (0)

ในทำนองเดียวกัน “การทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาต (permissionless)” หมายความว่าไม่มีฝ่ายใดในการทำธุรกรรมหรือการโต้ตอบต้องขออนุญาตจากบุคคลที่สาม (เช่น ผู้ให้บริการหรือรัฐบาล) ก่อนจึงจะสามารถทำได้

การพูดคุยเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการแทรกแซงของรัฐบาลฟังดูค่อนข้างเป็นอนาธิปไตย (anarchistic) หรือเสรีนิยมเล็กน้อย อย่างไรก็ดี ยังมีคำถามใหญ่ที่ต้องตอบเกี่ยวกับการกำกับดูแลหรือการควบคุมความปลอดภัยและความถูกต้องตามกฎหมาย

รัฐบาลพยายามสร้างกฎหมายเพื่อควบคุมการสื่อสารและการโต้ตอบบน Web3 รวมทั้งมีข้อบ่งชี้ว่ารัฐบาลอังกฤษต้องการควบคุมความสามารถของพลเมืองในการส่งข้อความเข้ารหัสแบบตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (end-to-end encrypted messages) หากมีผู้ไม่ประสงค์ดีต้องการดูข้อความก็จะแสดงแค่รหัสเท่านั้น ไม่สามารถเห็นข้อความที่คู่สนทนาส่งหากันได้

Web3 กับแนวความคิด DAO[3] หรือองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Autonomous Organisation) ที่ผูกมัดกลุ่มหรือองค์กร (บริษัท) ที่เข้ารหัสไว้ในบล็อกเชน ตัวอย่างเช่น ร้านค้าที่ใช้ DAO กำหนดราคาสินค้าทั้งหมดรวมถึงรายละเอียดว่าใครจะได้รับเงินจากธุรกิจจะถูกเก็บไว้ในบล็อกเชน

ผู้ถือหุ้นใน DAO สามารถออกเสียงลงคะแนนเปลี่ยนแปลงราคาหรือผู้รับเงิน อย่างไรก็ดี ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีใครเป็นเจ้าของ “โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ” หรือแม้แต่เจ้าของเซิร์ฟเวอร์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดเก็บผลกำไรก็ไม่สามารถแทรกแซงได้

ข้อสำคัญในทางทฤษฎี DAOs ไม่ต้องมี “คนกลาง” จำนวนมากในการบริหารองค์กร เช่น นายธนาคาร ทนายความ นักบัญชีและเจ้าของที่ดิน



[1] What Is Web3 All About? An Easy Explanation With Examples Bernard Marr 31 January 2022 Available at:  https://bernardmarr.com/what-is-web3-all-about-an-easy-explanation-with-examples/

[2] เว็บเชิงความหมายที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่สัมพันธ์กันทั้งจากแหล่งเดียวกันและต่างกัน ทำให้สามารถอธิบายข้อมูลได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

[3] องค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Autonomous Organizations-DAO) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อยอดมาจากคุณสมบัติสำคัญของ Cryptocurrency คือ การกระจายอำนาจ ที่ไม่ได้ถูกควบคุมหรือได้รับอิทธิพลจากรัฐบาลกลางใด ๆ แต่มีการกระจายระหว่าง Node ต่าง ๆ จึงมีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวสูง แนวคิดนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2016 ถือเป็นการประยุกต์ใช้และทำงานร่วมกันระหว่างเทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract ให้ก้าวขึ้นอีกขั้นจาก DApp (Decentralize Application) กล่าวคือ ธุรกรรมการเงินและเงื่อนไขกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของ DAO จะมีการบันทึกไว้ใน Blockchain ไม่ต้องผ่านบุคคลที่สาม เพราะจะมี Smart Contract ทำให้ธุรกรรมทำได้ง่ายขึ้น ที่จะแสดงถึงกฎเกณฑ์ขององค์กรรวมถึงเป็นที่เก็บข้อมูลขององค์กรด้วย ที่ไม่มีใครสามารถแก้ไขกฎโดยที่ไม่มีใครสังเกตเห็น DAO องค์กรอัตโนมัติ คืออะไร ทำงานอย่างไร ประยุกต์ใช้กับธุรกิจแบบไหนได้บ้าง มีนาคม 1, 2022 By Lapatrada https://techsauce.co/tech-and-biz/what-is-dao-decentralized-autonomous-organization

Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.