แนวโน้มและผลกระทบสงครามอิสราเอล – ฮามาส

 
ประจบ “นาย” ด้วย “ผลงาน” สืบวงษ์ ประสาทเสรี (พี่สืบ) อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

งครามอิสราเอล – ฮามาส ทวีความรุนแรงเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 โดยกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ขยายปฏิบัติการภาคพื้นดินเมื่อ 27 ตุลาคม 2023 จนถึงขณะนี้ตัวเลขความสูญเสียจากการทำลายล้างของทั้งสองฝ่ายพุ่งขึ้นมากกว่าการสู้รบ ครั้งที่ผ่านมา นับตั้งแต่กลุ่มฮามาสชนะการเลือกตั้งในปี 2006 และเข้ารับช่วงการปกครองฉนวนกาซาต่อจากจากคณะบริหารปาเลสไตน์ (Palestinian Authority-PA) ในปี 2007

สหรัฐฯ และหลายประเทศเรียกร้องให้อิสราเอลให้ชะลอการบุกฉนวนกาซาอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวบอบช้ำจากการทิ้งระเบิดโจมตีเกือบ สัปดาห์ เพื่อตอบโต้/แก้แค้นกลุ่มฮามาสที่โจมตีอิสราเอลอย่างไม่ทันตั้งตัวเมื่อ ตุลาคมที่ผ่านมา ขณะที่ผู้นำชาติตะวันตกหลายรายแสดงความกังวลว่าการบุกภาคพื้นดินของอิสราเอลอาจนำไปสู่สงครามที่ขยายวงกว้างในตะวันออกกลาง[1]

อิสราเอลเริ่มปฏิบัติการขั้นที่สอง (Phase 2) ด้วยการเคลื่อนกำลังภาคพื้นดินเข้าสู่ฉนวนกาซาซึ่งมีสภาพคล้ายนรกบนดิน (hellscape) โดย ใน 10 ของอาคารในพื้นที่ดังกล่าวแหลกลาญจากการโจมตีทางอากาศของ IDF ซึ่งคร่าชีวิตชาวปาเลสไตน์กว่า 9,000 คน (ส่วนใหญ่เป็นเด็ก) การปิดล้อมของอิสราเอลทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเชื้อเพลิง น้ำสะอาดและอาหารซึ่งคุกคามชีวิตมนุษย์อีกหลายพันคน[2]

การรุกล้ำด้วยกำลังทหารอิสราเอลครั้งนี้ใช้กลยุทธ์โอบล้อมจากเมือง Beit Hanoun ทางตอนเหนือและเมือง Bureij ทางตอนใต้ ใกล้บริเวณจุดกึ่งกลางของฉนวนกาซาซึ่งมีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร โดยการโจมตีทางอากาศอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อสนับสนุนขบวนรถถัง ยานยนต์หุ้มเกราะบรรทุกทหารราบและทหารช่างเข้าไปตั้งฐานที่มั่นชั่วคราวในฉนวนกาซา แต่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นวันเผด็จศึก (D-Day) อย่างเป็นทางการหรือไม่

จุดมุ่งหมายแรกของปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลยังคงเดิมคือ การโดดเดี่ยวและทำลายโครงสร้างพื้นฐานทางทหารของกลุ่มฮามาสโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอุโมงค์ใต้ดิน สังหารผู้นำ/สมาชิกระดับล่างให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และถอดถอนกลุ่มฮามาสจากการควบคุมฉนวนกาซา โดยมีขอบเขตการปฏิบัติการกว้างขวางกว่าครั้งใด ๆ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูเตือนว่าเป็นการปฏิบัติการที่ “ที่ยากลำบากและยาวนาน”

จุดมุ่งหมายประการต่อมาคือการช่วยเหลือตัวประกันกว่า 220 คนที่ถูกลักพาตัวเมื่อ 7 ตุลาคม 2023 ทั้งนี้ครอบครัวของตัวประกันชาวอิสราเอลรวมทั้งรัฐบาลของพลเมืองต่างชาติอย่างน้อย 41 ประเทศ (1 ใน ของตัวประกันทั้งหมดเป็นแรงงานสัญชาติไทย) ต่างกดดันให้รัฐบาลอิสราเอลเร่งช่วยเหลือตัวประกัน ขณะที่กองทัพอิสราเอลพยายามสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณชนว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมาย 2 ประการได้พร้อม ๆ กัน[3]

ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสงครามอิสราเอล-ฮามาสอาจส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกและภูมิภาคซึ่งเป็นแหล่งอุปทานน้ำมันและเส้นทางเดินเรือสำคัญ สงครามอาหรับ-อิสราเอลในปี 1973 นำไปสู่การคว่ำบาตรน้ำมัน (Oil Embargo) และภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ (stagflation) นานหลายปีเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ส่วนความขัดแย้งอื่น ๆ มีผลกระทบจำกัด แม้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกดูเปราะบางและกำลังฟื้นตัวจากภาวะเงินเฟ้อรุนแรงที่เกิดจากสงครามรัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อปี 2022 สงครามในภูมิภาคแหล่งผลิตน้ำมันอาจทำให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง เริ่มจากความไม่สงบในโลกอาหรับไปจนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2024 ซึ่งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงคะแนนอีกทั้งเป็นความเสี่ยงที่เราไม่รู้ว่ามีหลายสิ่งที่ยังไม่รู้ (unknown unknowns)

สำนักข่าว Bloomberg ได้พิจารณาแนวโน้มผลกระทบของสงครามต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและเงินเฟ้อภายใต้สามฉากทัศน์ คือ 1) สงครามจำกัดเขตในฉนวนกาซาและอิสราเอล 2) ความขัดแย้งขยายตัวไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ซีเรียและเลบานอนซึ่งเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มเฮซบอลลาห์ที่ได้รับการสนัลสนุนจากอิหร่าน กลายเป็นสงครามตัวแทนระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน และ 3) สงครามอิสราเอล-อิหร่านซึ่งเป็นคู่อริในภูมิภาค[4]

แนวโน้มผลกระทบฉากทัศน์ทั้งสามเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ทำให้ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ขนาดหรือความแรง (magnitude) ของผลกระทบแตกต่างกัน ความขัดแย้งยิ่งขยายตัวมากเท่าไร ผลกระทบจะยิ่งเพิ่มขึ้นจากภูมิภาคไปสู่โลก

ภาพความเสี่ยงและความเป็นไปได้ในความเป็นจริง (actual range) มีขอบเขตกว้างกว่าที่จะตรวจจับ (capture) ด้วยฉากทัศน์ทั้งสาม แม้ทำให้ขนาดของห่วงโซ่เศรษฐกิจแคบลง แต่ก็ยากที่จะ “พยากรณ์” ท่ามกลางความผันผวนในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่วนการทำนายภาวะสงครามยิ่งยากกว่า อย่างไรก็ตาม ฉากทัศน์เหล่านี้อาจช่วยกำหนดกรอบความคิดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ข้างหน้า

ฉากทัศน์ที่ ความขัดแย้งจำกัดเขตอยู่ในฉนวนกาซา ในปี 2014 กลุ่มฮามาสลักพาตัวและสังหารชาวอิสราเอล คน จุดชนวนการรุกรานฉนวนกาซาทำให้มีผู้เสียชีวิต 2,000 คน การสู้รบมิได้ขยายตัวออกนอกดินแดนปาเลสไตน์ ผลกระทบต่อราคาน้ำมันและเศรษฐกิจโลกอย่างจำกัด

ช่วงสัปดาห์แรกของสงครามครั้งนี้ตัวเลขผู้เสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก เป็นไปได้ว่าวิถีแห่งสงครามยังคงฉายภาพความรุนแรงซ้ำเดิมร่วมกับการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน[5] จะส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะหากซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ชดเชยการส่งออกน้ำมันของอิหร่านด้วยปริมาณการผลิตสำรองของตน ราคาน้ำมันจะสูงขึ้นบาร์เรลละ 3 - 4 ดอลลาร์สหรัฐ

ฉากทัศน์ที่ สงครามตัวแทน (proxy war) กรณีสงครามขยายตัว กลุ่มเฮซบอลลาห์ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจากอิหร่านและกองกำลังติดอาวุธในเลบานอน พร้อมตอบโต้กองกำลังอิสราเอลตามแนวชายแดนด้วยอาวุธจรวดนำวิถี หากความขัดแย้งขยายตัวไปยังซีเรียและเลบานอนจะกลายเป็นสงครามตัวแทนระหว่างอิหร่านและอิสราเอล ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะยิ่งสูงขึ้น

Yair Golan อดีตรองหัวหน้าคณะเสนาธิการทหารอิสราเอลระบุว่า อิหร่านและเฮซบอลลาห์กำลังเฝ้าติดตามและประเมินสถานการณ์ ห้วงเวลาที่เฮซบอลลาห์จะเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ น่าจะเป็นช่วงที่อิสราเอลเริ่มปฏิบัติการภาคพื้นดิน (ground invasion) บุกฉนวนกาซา

หากการสู้รบขยายตัวจากจุดนี้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามโดยตรงระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน จะทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น การนองเลือดช่วงสั้น ๆ ระหว่างอิสราเอลกับเฮซบอลลาห์ในปี 2006 ส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นจากฉากทัศน์แรกอีกบาร์เรลละ ดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับราคาน้ำมันเมื่อ 13 ตุลาคม 2023 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เป็นบาร์เรลละ 94 ดอลลาร์สหรัฐ

ความตึงเครียดในภูมิภาคอาจขยายตัวเป็นวงกว้าง ปัจจุบัน อียิปต์ เลบานอนและตูนิเซียกำลังติดหล่มภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจและการเมือง การโจมตีตอบโต้กลุ่มฮามาสของอิสราเอลก่อให้เกิดการประท้วงต่อต้านอิสราเอลในหลายประเทศในภูมิภาค อาจซ้ำรอยการปฏิวัติอาหรับ (Arab Spring) หรือการลุกฮือขึ้นประท้วงต่อต้านรัฐบาลในโลกอาหรับช่วงต้นทศวรรษ 2010[6]

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในฉากทัศน์นี้มาจากแรงกระแทกของราคาน้ำมันพุ่งขึ้นร้อยละ 10 และการลดความเสี่ยง (risk-off) ในตลาดการเงินซึ่งสอดคล้องกับช่วงอาหรับสปริง เราจับภาพการเคลื่อนไหวครั้งหลังด้วยดัชนี VIX (มาตรวัดการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง) ที่เพิ่มขึ้น จุด

ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 คงไว้ที่ระดับร้อยละ 6 สร้างแรงกดดันธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ให้รักษานโยบายการเงินที่เข้มงวด แม้การเติบโตของเศรษฐกิจน่าผิดหวังก็ตาม

ฉากทัศน์ที่ 3 สงครามอิหร่าน – อิสราเอล ความขัดแย้งโดยตรงระหว่างอิหร่านและอิสราเอลมีความเป็นไปได้น้อย แต่เป็นสถานการณ์อันตรายที่อาจทำให้เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นและสินทรัพย์เสี่ยงดิ่งลงส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเติบโตและทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง

หากอิสราเอลและอิหร่านยิงขีปนาวุธใส่กัน ราคาน้ำมันก็อาจเพิ่มขึ้นระดับเดียวกับช่วงอิรักรุกรานคูเวตในปี 1990 ด้วยจุดเริ่มต้นที่สูงขึ้นมากในขณะนี้ อาจทำให้ราคาน้ำมันแตะระดับบาร์เรลละ 150 ดอลลาร์ กำลังการผลิตสำรองของซาอุดีอาระเบียและ UAE อาจไม่สามารถช่วยได้ หากอิหร่านตัดสินใจปิดช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นช่องทางขนส่งน้ำมันปริมาณหนึ่งในห้าของอุปทานน้ำมันโลก

ตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสงครามในตุลาคม 2023 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) เคลื่อนไหวแย่กว่าตลาดโลกอย่างต่อเนื่องโดยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.1 ในช่วงเวลาเดียวกัน ตลาดปรับลดประมาณการกำไร (EPS) ในปี FY2023 ลงอีกร้อยละ เมื่อเดือนที่แล้ว โดยปรับลดรวมกว่าร้อยละ 20 YTD บ่งชี้ว่าภาพทั้งปีจะหดตัวลงร้อยละ ในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว[7] นอกจากปัญหาแรงงานไทยที่ถูกจับกุมเป็นตัวประกัน สงครามอิสราเอล-ฮามาส ยังจุดชนวนความเกลียดชังต่อต้านมุสลิมในไทย

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการรวมทั้งดวงยิหวา อุตรสินธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU) วิทยาเขตอาบูดาบี ที่แบ่งปันความคิดเห็นกับสื่อไทยเกี่ยวกับความขัดแย้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่สอดคล้องกับมุมมองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ต้องเผชิญการตอบโต้อย่างรุนแรงจากผู้ใช้งาน YouTube, Facebook และ TikTok จำนวนหลายพันคนบอกว่าเธอไม่ใช่คนไทย เนื่องจากเธอเห็นอกเห็นใจพลเรือนชาวปาเลสไตน์และเป็นนักวิชาการมุสลิม[8]

แบบจำลองของ Bloomberg Economics คาดการณ์ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2024 จะลดลงร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 1.7 อัตราเงินเฟ้อโลกอยู่ที่ร้อยละ 6.7 ความหวังที่ตะวันออกกลางจะมีเสถียรภาพมากขึ้นกำลังพังทลายลง การรุกรานยูเครนของรัสเซีย สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนและความตึงเครียดเกี่ยวกับไต้หวันบ่งชี้ว่าภูมิศาสตร์การเมือง (geopolitics) กลับมาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและตลาดในตะวันออกกลางซึ่งไม่เคยจางหายไปแต่อย่างใด



[1] อิสราเอลส่งกองกำลังบุกกาซ่าแย้มอาจบุกโจมตีอีกหลายครั้ง VOA ตุลาคม 27, 2023 เข้าถึงได้ที่: https://www.voathai.com/a/israel-mounts-new-sortie-into-gaza-hints-there-may-be-several-invasions-/7328397.html?ltflags=mailer

[2] ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขกาซาและทางการอิสราเอลระบุว่า ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิต 9,200 คนบาดเจ็บ 22,911 คน ผู้พลัดถิ่นที่อยู่ 1.4 ล้านคน  ส่วนอิสราเอลมีผู้เสียชีวิต 1,400 คนบาดเจ็บ 5,400 คน คม ผู้พลัดถิ่นที่อยู่ 250,00 คน จากเหตุโจมตีครั้งใหญ่โดยกลุ่มฮามาสเมื่อ 7 ตุลาคม 2023 ดูใน These numbers show the staggering toll of the Israel-Hamas war BY JULIA FRANKEL Updated 1:02 AM GMT+7, November 42023 เข้าถึงได้ที่: https://apnews.com/article/israel-hamas-war-death-toll-numbers-injured-5c9dc40bec95a8408c83f3c2fb759da0

[3] Israel says its war can both destroy Hamas and rescue hostages. Their families are less certain BY JULIA FRANKEL AP Updated 9:32 AM GMT+7, October 29, 2023 Available at: https://apnews.com/article/israel-hamas-war-hostages-families-netanyahu-gallant-49b39b3d43cc263b872191874e2d69fa?user_email=d353921897fb821ba7b730d8efbc8dfada4bbeb0ec3cb6614a3cced73746a6e4&utm_medium=Morning_Wire&utm_source=Sailthru&utm_campaign=Morning%20Wire_30%20October_2023&utm_term=Morning%20Wire%20Subscribers

[4] Wider War in Middle East Could Tip the World Economy Into Recession By Ziad Daoud, Galit Altstein, and Bhargavi Sakthivel Bloomberg October 13, 2023 Available at: https://www.bloomberg.com/news/features/2023-10-12/israel-hamas-war-impact-could-tip-global-economy-into-recession

[5] ในปี 2023 อิหร่านส่งออกน้ำมันดิบเพิ่มวันละ 700,000 บาร์เรล จากการเจรจากับสหรัฐฯเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักโทษและยกเลิกการอายัดทรัพย์สิน หากปริมาณน้ำมันดิบจำนวนนี้หายไปจะทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นบาร์เรลละ 3 - ดอลลาร์สหรัฐ

[6] Could the Israel-Hamas war trigger unrest across the Arab world? The Economist Nov 2nd 2023 Available at: https://www.economist.com/graphic-detail/2023/11/02/could-the-israel-hamas-war-trigger-unrest-across-the-arab-world

[7] ลืมอดีตไปและเริ่มต้นพรุ่งนี้ใหม่ Macro Strategy By Ratasak Piriyanont Ratasak.p@kasikornsecurities.com  Kasikorn Securities Public Company Limited 2 November 2023 Available at: https://kinvestmentportal.kasikornsecurities.com/pdf/130756/231102_Macro%20Strategy_TH_T%20SA_33P.pdf

[8] Israel-Hamas war has awakened anti-Muslim hate in Thailand By Daungyewa Utarasint Nikkei November 1, 2023 17:00 JST https://asia.nikkei.com/Opinion/Israel-Hamas-war-has-awakened-anti-Muslim-hate-in-Thailand?utm_campaign=IC_opinion_free&utm_medium=email&utm_source=NA_newsletter&utm_content=article_link&del_type=6&pub_date=20231104093000&seq_num=4&si=16103140


Author Image

About Kim
Kim is a retired civil servant, specializing in intelligence analysis. He loves productivity hacks, minimalist workflows and CSI series.

No comments

Powered by Blogger.